ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์คืออะไร

ลิขสิทธิ์คืออะไร

ลิขสิทธิ์ หมายถึง ความคุ้มครองที่มีให้แก่เจ้าของผลงาน วรรณกรรมและศิลปกรรม ที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะ อุตสาหะ ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เจ้าของ ลิขสิทธิ์จะมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะทําการใดๆ เกี่ยวกับงานลิขสิทธิ์ของตน โดยกฎหมาย ลิขสิทธิ์ได้ให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย

ที่มา  :: thunyamon charoensuttikul  https://www.youtube.com/watch?v=fXtkCDe1ui4

ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์ 

งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ ประกอบด้วยประเภทงานต่างๆ ดังนี้

1.งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คําปราศรัย รวมทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย 

2.งานนาฏกรรม เช่น งานเกี่ยวกับการรํา การเต้น การทําท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย 

3.งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย 

4.งานดนตรีกรรม เช่น คําร้อง ทํานอง การเรียบเรียงเสียงประสาน รวมถึงโน้ตเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียง เสียงประสานแล้ว 

5.งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วิดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยลําดับของภาพ หรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนํามาเล่นซ้ําได้อีก 

6.งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี) 

7.งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียง ประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น 

8.งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ หรือการแพร่เสียงหรือภาพทางโทรทัศน์ 

9.งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือ แผนกศิลปะ



ผลงานที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์

ผลงานที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์

1.ข่าวประจําวันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร เช่น วัน เวลา สถานที่ ชื่อบุคคล จํานวนคน

ปริมาณ เป็นต้น ทั้งนี้ หากมีการนําข้อมูลดังกล่าว มาเรียบเรียงจนมีลักษณะเป็นงานวรรณกรรม อาทิ การวิเคราะห์ข่าว บทความ ผลงานนั้นอาจจะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานวรรณกรรม 

2.รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย 

3.ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง คําชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใด

ของรัฐหรือของท้องถิ่น 

4.คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ 

5.คําแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 3.1 – 3.4 ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือ

ของท้องถิ่นจัดทําขึ้น 

6.ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือทํางาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทาง

วิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์



การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ 

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ 

สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงาน โดยไม่ต้อง จดทะเบียน ดังนั้น เจ้าของลิขสิทธิ์จึงควรที่จะปกป้องคุ้มครองสิทธิของตน โดยการเก็บ รวบรวมหลักฐานต่างๆ ที่แสดงว่าได้ทําการสร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้นเพื่อประโยชน์ในการ พิสูจน์สิทธิ หรือความเป็นเจ้าของในโอกาสต่อไป

ใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์ 

บุคคลที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้

ผู้สร้างสรรค์งาน โดยความคิดริเริ่มของตนเอง โดยไม่ลอกเลียนงานของบุคคลอื่น และอาจหมายรวมถึงผู้สร้างสรรค์งานร่วมกันด้วย 

ผู้สร้างสรรค์ในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง 

ผู้ว่าจ้างในกรณีว่าจ้างให้บุคคลอื่นสร้างสรรค์งาน 

ผู้ดัดแปลง รวบรวม หรือประกอบกันเข้า โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ 

กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น โดยการจ้าง หรือตามคําสั่ง หรือในความควบคุมของตน

ผู้รับโอนลิขสิทธิ์ 

การคุ้มครองลิขสิทธิ์ 

เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทําการใดๆ ต่องาน อันมีลิขสิทธิ์ของตน ดังนี้

ทําซ้ําหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสําเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียง ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม 6.1, 6.2 หรือ 6.3 โดยจะกําหนดเงื่อนไขอย่างใด หรือไม่ก็ได้ ที่ไม่เป็นการจํากัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม



อายุการคุ้มครอง

อายุการคุ้มครอง การคุ้มครองลิขสิทธิ์ จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้ จะมีตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ ความตาย แต่มีงานบางประเภทที่จะมีอายุการคุ้มครองแตกต่างกัน โดยสามารถแยกได้ โดยสรุป ดังนี้

อายุการคุ้มครองทั่วไป ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย

กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้สร้างสรรค์ ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น หรือ 50 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก

กรณีที่ผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝง หรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น

งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น หรือ 50 ปี นับแต่ได้มีการ โฆษณาครั้งแรก

งานที่สร้างสรรค์โดยการจ้างหรือตามคําสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงาน อื่นใดของรัฐ ให้มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น หรือ 50 ปี นับแต่ได้ มีการโฆษณาครั้งแรก

งานศิลปะประยุกต์ ลิขสิทธิ์มีอายุ 25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น หรือ 25 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก



สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง?

สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง?

ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่กฎหมายกําหนดวิธีการคุ้มครองไว้โดยเฉพาะ โดยกําหนดให้เจ้าของ ลิขสิทธิ์เป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive right) ในการกระทําบางอย่างที่เกี่ยวกับงานลิขสิทธิ์ของตน และกําหนดวิธีการสําหรับการโอนและการบังคับใช้สิทธิในเรื่องลิขสิทธิ์ไว้ด้วยเช่นกัน

สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ มีดังนี้ 

1. ทําซ้ำ

การทําซ้ำ คือ การคัดลอกหรือทําสําเนาซึ่งงานลิขสิทธิ์ในส่วนที่เป็นสาระสําคัญ ไม่ว่าทั้งหมด หรือแค่บางส่วนของงาน เช่น การถ่ายเอกสาร การตีพิมพ์ การบันทึกเสียงเพลงที่เปิดจากซีดี การอัดรูป การอัพโหลดและดาวน์โหลดเพลงหรือภาพยนตร์ ฯลฯ ซึ่งการทําซ้ําจะได้งานที่เหมือนกับงานลิขสิทธิ์ต้นฉบับ

2. ดัดแปลง

การดัดแปลง คือ การทําซ้ําโดยเปลี่ยนรูปแบบใหม่ การปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม หรือการจําลอง งานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสําคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทํางานขึ้นใหม่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เช่น การแปล การรีมิกซ์เพลง การแปลงนิยายเป็นบทละคร การนําเกมมาทําเป็นภาพยนตร์ การปรับเปลี่ยน ภาพสองมิติเป็นแอนิเมชันสามมิติ ฯลฯ ซึ่งงานชิ้นใหม่ที่เกิดขึ้นจากการดัดแปลงจะไม่ได้เหมือนงานลิขสิทธิ์ ต้นฉบับอย่างเช่นการทําซ้ํา แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างโดยยังคงสาระสําคัญของงานลิขสิทธิ์ต้นฉบับ เพียงแต่ ไม่ได้แตกต่างจนถึงขนาดเกิดเป็นงานลิขสิทธิ์ขึ้นใหม่

3. เผยแพร่ต่อสาธารณชน

การเผยแพร่ต่อสาธารณชน คือ การนํางานออกให้ปรากฏต่อสาธารณชนโดยวิธีต่างๆ เช่น การจําหน่ายหนังสือที่ตีพิมพ์ การนํารูปที่วาดออกแสดงในงานจัดแสดง การเปิดเพลงในร้านอาหาร การโพสต์รูปลงสื่อสังคมออนไลน์ ฯลฯ ทําให้สาธารณชนเข้าถึงงานได้และสร้างมูลค่าให้กับตัวงานลิขสิทธิ์

คําว่า “สาธารณชน” ในที่นี้ไม่ได้มีการกําหนดไว้ชัดเจนว่าต้องมีจํานวนคนเท่าไร เพียงแต่เป็น ลักษณะที่ผู้คนโดยทั่วไปจํานวนหนึ่งอาจเข้าถึงงานได้ เช่น การเขียนนิยายลงอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะมีคนเข้ามาอ่าน หรือไม่ก็ตาม หรือการแจกบทความแก่นักเรียนในชั้นเรียน ก็ถือเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้แล้ว แต่ถ้าหากเป็นเพียงการโพสต์รูปลงอินเทอร์เน็ตโดยตั้งสถานะเป็นส่วนตัว หรือการเปิดเพลงฟังที่บ้าน โดยมีคนฟังเป็นแค่คนในครอบครัว เช่นนี้ก็จะยังไม่เป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชน

4. ให้เช่าต้นฉบับหรือสําเนางาน

การให้เช่า คือ การให้ผู้อื่นใช้สอยทรัพย์สินในช่วงระยะเวลาหนึ่งโดยมีค่าตอบแทน ซึ่งสิทธิ แต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ในการให้เช่าต้นฉบับหรือสําเนางานนั้น จํากัดเฉพาะงานลิขสิทธิ์ประเภท โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียงเท่านั้น

1 มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 2 นิยามคําว่า “ทําซ้ํา”

 “ดัดแปลง” และ “เผยแพร่ต่อสาธารณชน” มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537


5. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น

ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถนําไปหาประโยชน์ได้ เจ้าของลิขสิทธิ์ จึงอาจให้ประโยชน์ในส่วนนี้แก่ผู้อื่นเช่นกัน เช่น ยกค่าลิขสิทธิ์ที่ได้รับจากการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้งานให้แก่ผู้อื่น

6. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ

เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการทําซ้ํา การดัดแปลง การเผยแพร่ต่อสาธารณชน และการให้เช่าต้นฉบับหรือสําเนางาน แต่เจ้าของลิขสิทธิ์อาจไม่สะดวกที่จะใช้สิทธิเหล่านี้ เพราะอาจไม่ได้มี เงินทุนหรือไม่ได้รู้จักช่องทางจัดจําหน่าย เจ้าของลิขสิทธิ์จึงสามารถอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิดังกล่าวแทนตนได้

ในการอนุญาตให้ใช้สิทธิอาจมีการกําหนดเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เช่น จํานวนค่าตอบแทน ประเภทสิทธิที่อนุญาต ระยะเวลา เขตพื้นที่ ฯลฯ ทั้งนี้ เงื่อนไขที่กําหนดจะต้องไม่เป็นการจํากัดการแข่งขัน โดยไม่เป็นธรรม เช่น เจ้าของลิขสิทธิ์ในหนังสือเล่มหนึ่งอนุญาตให้สํานักพิมพ์ตีพิมพ์หนังสือของตน โดยมีเงื่อนไขว่าต้องซื้อกระดาษที่นํามาใช้ตีพิมพ์หนังสือจากเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย ถือเป็นเงื่อนไขที่เป็นการจํากัด การแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม

การที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้บุคคลหนึ่งใช้สิทธิของตน ไม่ได้เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ในการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธินั้น เว้นแต่ในหนังสืออนุญาตระบุเป็นข้อห้ามไว้

เช่น บริษัท A เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง อนุญาตให้โรงภาพยนตร์ B นําภาพยนตร์ออกฉายได้ โดยไม่มีข้อห้ามในการอนุญาตผู้อื่น (Non-exclusive license) เช่นนี้ บริษัท A ก็สามารถอนุญาตให้โรงภาพยนตร์ C ฉายภาพยนตร์เรื่องเดียวกันนี้ได้เช่นกัน ต่อมาบริษัท A ทําสัญญาอนุญาต ให้บริษัท D แต่เพียงผู้เดียวดัดแปลงภาพยนตร์ของตนเป็นเกมคอมพิวเตอร์ (Exclusive license) ย่อมทําให้ บริษัท A ไม่สามารถอนุญาตให้ผู้อื่นสร้างเกมจากภาพยนตร์ของตนได้อีก

สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นการให้อํานาจเฉพาะแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ในการใช้สิทธิ หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ จึงมีลักษณะเป็นสิทธิในเชิงปฏิเสธ กล่าวคือ เป็นสิทธิที่จะห้ามไม่ให้บุคคลอื่น นอกจากตนเองที่จะทําซ้ํา ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ฯลฯ งานลิขสิทธิ์ของตน และหากใครฝ่าฝืน ก็จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย) ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์สามารถ ปกป้องสิทธิของตนได้โดยการบังคับใช้สิทธิทั้งในทางแพ่งและทางอาญา ซึ่งทําได้ทั้งการส่งจดหมายเตือน การไกล่เกลี่ย การแจ้งความ การฟ้องร้องบังคับคดี เป็นต้น

นอกจากนี้ เจ้าของลิขสิทธิ์ยังสามารถโอนลิขสิทธิ์ของตนทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ผู้อื่นได้เช่นกัน โดยทําเป็นหนังสือสัญญาโอนลงลายมือชื่อทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้รับโอน ซึ่งจะทําให้สิทธิต่างๆ โอนไป แก่ผู้รับโอนตามเงื่อนไขของสัญญา

สัญญาโอนลิขสิทธิ์นั้น หากไม่มีการกําหนดระยะเวลาการโอน ให้ถือว่าเป็นการโอนมีกําหนดระยะเวลา 10 ปี เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลา 10 ปี หรือระยะเวลาที่กําหนดในสัญญาแล้ว ลิขสิทธิ์ก็จะกลับมาเป็นของ เจ้าของลิขสิทธิ์ผู้โอน เว้นแต่งานลิขสิทธิ์นั้นจะได้หมดอายุความคุ้มครองแล้ว

สิทธิต่างๆ ของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่กล่าวมาข้างต้น เรียกว่าเป็นสิทธิในทางเศรษฐกิจ (Economic rights) ของเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่เจ้าของลิขสิทธิ์อาจมีสิทธิอีกส่วนหนึ่งหากว่าตนเป็นผู้สร้างสรรค์ด้วย เรียกว่า สิทธิในทางศีลธรรม (Moral rights) คือ สิทธิที่จะแสดงว่าตนเป็นผู้สร้างสรรค์และสิทธิที่จะห้ามไม่ให้ผู้อื่น ทําอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานลิขสิทธิ์จนเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยการรับโอนหรือโดยการจ้างจําต้องเคารพสิทธิของผู้สร้างสรรค์ในส่วนนี้ด้วย