ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม 

(Industrial Property)


ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)

หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ความคิดสร้างสรรค์นี้อาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า รวมถึงแหล่งกาเนิดและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมจึงสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้  สิทธิบัตร (Patent)  แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout - Design of Integrated Circuit)  เครื่องหมายการค้า (Trademark)  ความลับทางการค้า (Trade Secret)  ชื่อทางการค้า (Trade Name สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indications)

ความหมายของทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมแต่ละประเภท

1. สิทธิบัตร (Patent)

เป็นการคุ้มครองการคิดค้นสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกาหนด ซึ่งจาแนกได้เป็น สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ และอนุสิทธิบัตร

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองการคิดค้นเกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก โดยอาจเป็นการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่หรือปรับปรุงจากการประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนเพียงเล็กน้อย

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสาหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรมได้ และแตกต่างไปจากเดิม

ผู้ทรงสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้น ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด

2. แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Design of Integrated Circuit)

หมายถึง แบบ แผนผัง หรือภาพที่ทาขึ้น ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบหรือวิธีใด เพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวนาไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น

3. เครื่องหมายการค้า (Trademark)

หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตรา ที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

เครื่องหมายการค้า (Trademark) คือ เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้กับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น กระทิงแดง M-150 มาม่า ไวไว เป็นต้น

เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้กับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น การบินไทย ธนาคารกรุงไทย โรงแรมดุสิตธานี เป็นต้น

เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้กับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรา ฮาลาล เป็นต้น

เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จากัด (มหาชน) เป็นต้น


4. ความลับทางการค้า (Trade Secret)

หมายถึง ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยเป็นข้อมูลที่มีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการดาเนินการตามสมควรเพื่อทาให้ข้อมูลนั้นปกปิดเป็นความลับ

5. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications)

หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ผ้าไหมยกดอกลาพูน ส้มโอนครชัยศรี ไข่เค็มไชยา เป็นต้น

ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเฉพาะที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพย์สินทางปัญญา 7 ฉบับ คือ

1. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2552 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542

2. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543

3. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

4. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543

5. พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545

6. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546

7. พระราชบัญญัติการผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. 2548

สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง?

สิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร

สิทธิบัตรการประดิษฐ์คืออะไร

1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานสร้างสรรค์จากการประดิษฐ์ที่มีลักษณะของการแก้ปัญหาทางเทคนิคที่ไม่สามารถคิดขึ้นได้โดยง่าย

2. อนุสิทธิบัตร เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานการสร้างสรรค์จากการประดิษฐ์ที่ไม่มีความซับซ้อน อาจคิดขึ้นได้โดยง่าย แต่ต้องเป็นการประดิษฐ์ใหม่

การประดิษฐ์ อาจเป็นการประดิษฐ์คิดค้นตัวผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ที่อาจเป็นโครงสร้าง กลไก ส่วนประกอบหรือส่วนผสม เป็นต้น หรืออาจเป็นกรรมวิธีในการผลิตผลิตภัณฑ์ หรือการรักษาผลิตภัณฑ์ให้คงสภาพ เป็นต้น

การได้มาซึ่งความคุ้มครอง

การประดิษฐ์จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ก็ต่อเมื่อนาการประดิษฐ์นั้นมายื่นขอรับความคุ้มครอง และได้รับการจดทะเบียนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เท่านั้น

เงื่อนไขการยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร

1. เป็นการประดิษฐ์ใหม่ ยังไม่เคยมีการจำหน่ายหรือใช้แพร่หลายในประเทศไทยก่อนวันยื่นขอ หรือยังไม่เคยมีการเปิดเผยสาระสาคัญของการประดิษฐ์นั้นก่อนวันที่ยื่นขอ หรือยังไม่เคยมีการเปิดเผยสาระสาคัญของการประดิษฐ์นั้นก่อนวันที่ยื่นขอทั้งในหรือต่างประเทศก่อนวันยื่นขอ (เว้นแต่เป็นการแสดงผลงานในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ หรืองานแสดงต่อสาธารณชนที่หน่วยราชการจัดขึ้นแต่ต้องมายื่นขอรับสิทธิบัตรภายใน 12 เดือนนับแต่วันเปิดแสดงงาน พร้อมแนบหนังสือรับรองของผู้จัดงานแสดง)

2. มีขึ้นการประดิษฐ์สูงขึ้น (เฉพาะสิทธิบัตรการประดิษฐ์) ไม่เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถทาได้ง่าย โดยผู้มีความรู้ในระดับสามัญสาหรับงานประเภทนั้นหรืออาจพูดได้ว่ามีการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของการประดิษฐ์ที่มีมาก่อน

3. สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้

สิ่งที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้

1. จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช

2. กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

3. ระเบียบข้อมูลสาหรับการทางานของเครื่องคอมพิวเตอร์

4. วิธีการวินิจฉัย บาบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์

5. การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

อายุสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร

 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่วันยื่นขอรับสิทธิบัตร

 อนุสิทธิบัตร มีอายุ 6 ปี นับตั้งแต่วันยื่นขอรับอนุสิทธิบัตร ต่ออายุได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี (รวม 10 ปี)

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์คืออะไร

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิทธิที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามกฎหมายกาหนดเป็นสิทธิพิเศษ โดยให้สิทธิที่จะผลิตสินค้า และจาหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ผลที่จะได้รับจากสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นมีสิทธิใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หรือขาย หรือมีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขาย หรือนาเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเว้นแต่การใช้แบบผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย

การออกแบบผลิตภัณฑ์คืออะไร ?

การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างภายนอกของแบบผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลายหรือสีของแบบผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น การออกแบบของเล่น เครื่องประดับ รถยนต์ เป็นต้น

หลักเกณฑ์การขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมยังไม่เคยมีหรือใช้แพร่หลายหรือได้เปิดเผยภาพ อันเป็นสาระสาคัญของการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรและต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งสามารถผลิตได้ในเชิงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้

1. แบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่

1.1 ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้ว ก่อนวันยื่นขอรับความคุ้มครอง

1.2 ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยรูปภาพ สาระสาคัญ หรือ รายละเอียด ในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้ว ก่อนวันยื่นขอรับความคุ้มครอง

1.3 ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาของสานักสิทธิบัตรอยู่แล้วก่อนวันยื่นขอรับความคุ้มครอง

2. แบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

3. แบบผลิตภัณฑ์ที่กาหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

อายุความคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์มีอายุ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นคาขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์