การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทัน

“ข้อมูลมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ในแต่ละวันนักเรียนจะได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายสังคมจำนวนมากและรวดเร็ว ข้อมูลที่เผยแพร่นั้นมีทั้งข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นเท็จ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ดังนั้นการนำผลงานของผู้อื่นไปใช้อย่างถูกต้อง การเลือกรับและส่งต่อข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ การรู้เท่าทันสื่อ จะทำให้การใช้ชีวิตในโลกไซเบอร์มีความปลอดภัย” 

ในปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศทำได้ง่าย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน ซึ่งต้องมีความรู้ ความรอบคอบ เข้าใจเทคโนโลยี และศึกษาเงื่อนไขในการใช้งาน ทุกคนควรเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

การนำข้อมูลมาใช้ในการเรียน การทำงาน และการตัดสินใจ ต้องพิจารณาความถูกต้องของข้อมูลที่นำมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ว่าแหล่งข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องสมบูรณ์ สอดคล้องตรงตามความต้องการ และมีความทันสมัย

เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ จึงต้องมีการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยใช้ประเด็นพิจารณาของ “พรอมท์ (PROMPT)

PROMPT ประกอบด้วย

การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ หรือแหล่งที่มาของข้อมูล เพื่อนำไปใช้งานและอ้างอิง จำเป็นต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูลก่อน ไม่เช่นนั้นอาจได้ข้อมูลที่ขาดความถูกต้อง และเกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบดังนี้

บางเว็บไซต์อาจใช้ชื่อคล้ายหน่วยงานราชการที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เว็บไซต์เหล่านี้อาจให้ข้อมูลที่คาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผู้ใช้ควรสังเกตให้รอบคอบและตรวจสอบว่าเป็นเว็บไซต์ที่แท้จริงของหน่วยงานนั้น โดยสามารถตรวจสอบชื่อเว็บไซต์และข้อมูลต่างๆ ได้จากเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบ เช่น whois.domaintools.com


เหตุผลวิบัติ


เหตุผลวิบัติ

การให้เหตุผลเป็นวิธีการหนึ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับข้อคิดเห็นหรือข้อสรุปต่างๆ การให้เหตุผลที่เหมาะสม มีส่วนทำให้การตัดสินใจยอมรับความเห็นและข้อสรุปทำได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม การให้เหตุผลมีทั้งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม

การให้เหตุผลที่ไม่เหมาะสม พบเห็นได้มากขึ้นในปัจจุบัน โดยผู้ให้เหตุผลอาจมีเจตนาบิดเบือนความจริงหรือคิดไปเอง ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง จนทำให้เหตุผลเหล่านี้อาจกลายเป็น “เหตุผลวิบัติหรือตรรกะวิบัติ” ได้

Photo by meo on Pexels.com

เหตุผลวิบัติ (logical fallacy)

เป็นการโต้แย้งโดยให้เหตุผลที่คลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง หรือมีความจริงเพียงบางส่วน จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่มีความขัดแย้งกับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง เช่น การโต้แย้งบนเว็บบอร์ดหรือเครือข่ายทางสังคม ที่มีการใช้ข้อความประชดประชัน การใช้ความรู้สึกส่วนตัว การใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง (hate speech)

กระบวนการเหล่านี้ อาจนำไปสู่การสรุปผลหรือตีความข้อสรุปจากการโต้แย้งที่ไม่ได้นำข้อเท็จจริงมาพิจารณา ทำให้ผู้รับสารได้รับข่าวสารที่คลาดเคลื่อน อีกทั้งผู้คนบางส่วนพยายามใช้ความเข้าใจหรือความเชื่อส่วนตัวที่อาจะไม่ถูกต้องมาเป็นเหตุผลในการสรุปประเด็นต่างๆ แม้ผลสรุปสุดท้ายจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม

เหตุผลวิบัติจำแนกได้ 2 แบบ ดังนี้

ตัวอย่างเหตุผลวิบัติแบบไม่เป็นทางการ


การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย


การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมีวัตถุประสงค์หลายอย่าง เช่น ใช้งานทั่วไป สนับสนุนการทำงาน ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (electronic transaction) โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน

การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างปลอดภัย

การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวคนไทยมากขึ้น หลังรัฐบาลไทยได้ให้ธนาคารต่างๆ เปิดโครงการพร้อมเพย์ (prompt pay) เพื่อให้การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โอนเงิน ชำระค่าสินค้าและบริการ ทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ต้องระมัดระวังและมีความรอบคอบ เช่น เลือกซื้อสินค้าออนไลน์จากผู้ขายที่มีไว้ใจได้ เพื่อป้องกันการฉ้อโกง สินค้าไม่มีคุณภาพ หรือได้รับสินค้าที่ตรงกับข้อมูลที่ปรากฏ

การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มี 2 รูปแบบ คือ

สิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องคำนึงถึงในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คือ อาจถูกมิจฉาชีพฉ้อโกง โดยใช้กลยุทธ์เรื่องราคาและหลักจิตวิทยาในการล่อลวงให้เกิดความโลภ หรือเข้าใจผิด เช่น ขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าปกติมาก ขายสินค้าเลียนแบบโดยให้เข้าใจว่าเป็นสินค้าของแท้

ผู้ใช้บริการควรมีความระมัดระวังในการเลือกชำระค่าสินค้าหรือบริการ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น

การรู้เท่าทันสื่อ

เป็นความสามารถในการป้องกันตนเองจากการถูกโน้มน้าวด้วยเนื้อหาที่เป็นเท็จและมีผลกระทบต่อผู้รับสื่อ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือทางการตลาดหรือผลประโยชน์ที่นำเสนอ การรู้เท่าทันสื่อ ผู้รับสารต้องสามารถตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ คิดก่อนนำไปเผยแพร่

การรู้เท่าทันสื่อสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่

ข่าวลวงและผลกระทบ

ข่าวลวง (fake news) เป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อกวน ซึ่งนำเสนอเรื่องราวเป็นเท็จ มีวัตถุประสงค์แอบแฝงที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อขายสินค้า ทำให้เข้าใจผิด สร้างความสับสน โดยข่าวลวงอาจแพร่ผ่านอีเมล์ หรือเครือข่ายทางสังคม ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง

ผู้รับข่าวสารต้องมีวิจารณญาณเพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่น ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของข่าวลวง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและสังคม

ลักษณะของข่าวลวง เช่น

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

การออกข้อกำหนด ระเบียบ และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ประเทศไทยมีการออกพระราชบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และปรับปรุงมีความทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ โดยรายละเอียดสามารถศึกษาได้จาก พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2560, พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560

ที่มา :: https://itpoj.com/2020/07/06/itliteracy/

สรุป พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์: กรณีศึกษาและเนื้อหา 13 เรื่องที่ชาวเน็ตต้องรู้

สรุปเนื้อหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อะไรบ้างที่ชาวเน็ตไม่ควรทำ ถ้าไม่อยากมีความผิด พร้อมกรณึศึกษาน่ารู้

เราสรุป 13 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับนี้ไว้แล้ว

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าค่ะว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่กำลังจะพูดถึงนี้คืออะไร

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ค่ะ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้ค่ะ

ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้

เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกันค่ะ หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้

กรณีศึกษา: การทำผิดกฎหมายคอมพิวเตอร์ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

หลังจากมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 ก็มีเคสที่เข้าข่ายกระทำความผิด พ.ร.บ. ออกมาให้เห็นกันบ้างค่ะ เพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น เราเลยขอยกตัวอย่างเคสที่อาจผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาให้อ่านกันค่ะ

เคสแรก เป็นเคสที่ออกข่าวอย่างโด่งดังเช่นกัน เป็นกรณีที่มีชายหนุ่มคนหนึ่งถ่ายรูปตึกที่มีลักษณะเอนๆ พร้อมโพสต์ข้อความประมาณว่า ตึกทรุดตัว ลงบน Facebook เลยทำให้เกิดเป็นประเด็นที่หลายเอาตกอกตกใจไปกันใหญ่ แต่ต่อมาก็มีการเปิดเผยว่า ตึกที่เห็นนั้นเป็นเพียงดีไซน์ของตึกที่ตั้งใจจะให้เอนแบบนั้นอยู่แล้ว เลยทำให้เจ้าของโพสต์ถูกตำรวจเรียกสอบสวน เพราะเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.14 (2) นำข้อความเท็จเข้าระบบคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จก่อให้เกิดความตื่นตระหนก

อีกกรณีหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็สามารถช่วยคุ้มครองผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ตได้ด้วย อย่างเช่นกรณีคดีของคุณบริบูรณ์ เกียงวรางกูล ที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) จากการโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ตำรวจเข้าค้นบ้าน โดยอ้างอำนาจตาม มาตรา 44

ซึ่งคุณบริบูรณ์ได้ยื่นหนังสือร้องความเป็นธรรมต่อศาลว่า ปัจจุบันได้มีการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 แล้ว โดยพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ยกเลิกข้อความใน มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับเดิม และบัญญัติใหม่ไว้ว่า ห้ามมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ลงโทษกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา จึงขอให้อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ผลก็คือ อัยการศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีบริบูรณ์ในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

เราก็จะเริ่มเห็นว่า ได้เริ่มมีการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กันอย่างจริงจัง และมีการปรับใช้ให้ตรงตาม พ.ร.บ. ที่แก้ไข ไม่ใช่แค่จับกุมผู้ทำผิด แต่ยังคุ้มครองผู้ที่ไม่มีความผิดใน พ.ร.บ. ฉบับที่ 2 แล้ว

13 เรื่องที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และบทลงโทษ

เรามาดูกันต่อกันค่ะว่า แล้วข้อห้ามสำคัญ ที่ชาวเน็ต หรือคนทำงานออนไลน์อย่างพวกเราไม่ควรทำจะมีอะไรบ้าง

1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ

หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต (ละเมิด Privacy) หรือในเคสที่เรารู้จักกันดีก็คือ การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ

บทลงโทษ

2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย

ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น กรณีของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบเว็บไซต์ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิดค่ะ

บทลงโทษ

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

Shifu แนะนำ

แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตร 12 หรือเข้าถึงระบบ ข้อมูลด้านความมั่นคงโดยมิชอบ จะต้องได้รับโทษจำคุก 3-15 ปี และปรับ 6 หมื่น – 3 แสนบาท และถ้าเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่น ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับ 2 แสนบาท และถ้าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ต้องจำคุก 5-20 ปี และปรับ 1-2 แสนบาท

3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม

ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่น แล้วส่งอีเมลขายของตัวเองค่ะ

บทลงโทษ

ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

Shifu แนะนำ

การทำการตลาดออนไลน์ที่ดี ควรนึกถึงจิตใจของผู้บริโภคเป็นสำคัญค่ะ หากอยากส่งอีเมล ก็ควรที่จะถามความยินยอมจากลูกค้าก่อนว่าเขาต้องการรับข่าวสารจากเราไหม หรือไม่ก็หันมาทำคอนเทนต์ดีๆ อย่าง Inbound Marketing ที่สามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาหาคุณได้ด้วยความเต็มใจค่ะ

หรือหากอยากทราบเทคนิคการขายบนโลกออนไลน์ที่แตกต่างและได้ผล ลองดูบทความทิ้งเทคนิคการขายแบบเดิมๆ เริ่มต้นวิธีใหม่ๆ และทำกำไร 1 ล้านใน 24 ชั่วโมง

4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ

โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย

บทลงโทษ

5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด

6. นำข้อมูลที่ผิด พ.ร.บ. เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

ในความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ

บทลงโทษ

หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)

7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด

กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นความผิด

บทลงโทษ

แต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ

Shifu แนะนำ

ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานไม่น้อยกว่า 90 วัน ในกรณีที่จำเป็น ศาลอาจสั่งให้เก็บข้อมูลเพิ่มได้ไม่เกิน 2 ปี

8. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ

ความผิดข้อนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ

• การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อย่างเช่นกรณีที่เอาภาพดาราไปตัดต่อ และตกแต่งเรื่องขึ้นมา จนทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย ก็ถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ

• การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย

บทลงโทษ

หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

9. เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเยาวชน ต้องกระทำโดยปกปิดไม่ให้ทราบตัวตน

ข้อนี้มีขึ้นเพื่อปกป้องเด็กและเยาวชน เพราะเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือก็คือยังเป็นเด็กอยู่ หากถูกเปิดเผยตัวตน อาจทำให้ใช้ชีวิตในสังคมได้ลำบากขึ้น อาจเกิดการถูกดูหมิ่น เกลียดชัง หรือโดนตามตัวโดยมิจฉาชีพได้ แต่ข้อห้ามนี้ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกันคือ สามารถเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนได้ หากข้อมูลนั้นเป็นการยกย่อง เชิดชู ให้เกียรติ

บทลงโทษ

จำคุก 1-3 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท

10. เผยแพร่เนื้อหาลามก อนาจาร

เป็นเรื่องที่ทราบดีอยู่แล้ว และใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับนี้เอง ก็ห้ามเปิดเผยเนื้อหาลามก อนาจาร สู่สาธารณะ ที่คนอื่นๆ สามารถเห็นได้ 

บทลงโทษ

จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

11. กด Like & Share ถือเป็นวิธีหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล

คิดว่าคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับปุ่มไลค์กับปุ่มแชร์บนโลก Social Media หรอกใช่ไหมคะ

และก็เชื่อด้วยว่าวันๆ หนึ่ง เรากดปุ่มพวกนี้กันอยู่เสมอ เมื่อใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ กำหนดว่าการกด Like & Share ถือเป็นการเผยแพร่ข้อมูล ก็แสดงว่าหากข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลปลอม เท็จ หรืออะไรก็ตามแต่ นั่นเท่ากับว่าเราผิดกฎหมาย พ.ร.บ. แล้ว

ดังนั้นก่อนไลค์ก่อนแชร์ ก็พิจารณากันให้ชัวร์นะคะ

บทลงโทษ

จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

12. แสดงความคิดเห็นที่ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

หากคุณมีเพจเป็นของตัวเอง การหมั่นเช็คข้อความบนหน้าเพจก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากถูกตรวจเจอข้อความที่ผิดกฎหมาย คุณจะมีความผิดด้วย

บทลงโทษ

จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

13. ละเมิดลิขสิทธิ์ นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

ข้อนี้สำคัญ ควรต้องระวังไว้ให้มาก การนำผลงานของคนอื่นมาเป็นของตนเอง โดยปกติก็เป็นสิ่งที่ไม่ดีอยู่แล้ว ซึ่งใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็ได้มีการให้โทษกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย โดยหากนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ จะถือว่ามีความผิด และต้องได้รับโทษ

บทลงโทษ

จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


สรุป

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ 2 ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต ก็ควรจะรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. นี้ไว้ค่ะ เพราะเราจะได้ไม่เผลอไปทำความผิด อย่างน้อยๆ ต้องระวัง 8 ประเด็นที่เราได้เขียนเอาไว้เลยค่ะ อีกทั้งการมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นการควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง และในทางหนึ่งก็ช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้งานด้วย


ที่มา :: https://contentshifu.com/blog/computer-law


การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม


ผู้ใดต้องการใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ (copyright) ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงาน เพราะกฎหมายให้ความคุ้มครอง แต่ก็มีข้อยกเว้นให้ใช้งานได้บางอย่างโดยไม่ต้องขออนุญาต หรือที่เรียกว่า การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (fair use) เช่น ใช้ในการเรียนการสอน การรายงานข่าว แต่ต้องไม่กระทบกับเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยมีหลักพิจารณาดังนี้

ตัวอย่างการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม

ตัวอย่างการใช้งานลิขสิทธิ์ที่ไม่เป็นธรรม

ที่มา :: https://itpoj.com/2020/07/06/itliteracy/