บทที่ 3คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

3.1 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ (computer) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์และไอซี (Integrated Circuit : IC) ต่างๆ มากมาย ซึ่งสามารถจดจำ ประมวลผลข้อมูล เปรียบเทียบ ตัดสินใจทางตรรกศาสตร์ คำนวณทางคณิตศาสตร์ สามารถใช้ช่วยในการออกแบบและสร้างงานกราฟิกได้ อีกทั้ง ยังตอบสนองความต้องการด้านอื่น ได้อย่างหลากหลาย คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 5 หน่วย ได้แก่

-หน่วยรับเข้า (input unit)

-หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)

-หน่วยความจำ (memory unit)

-หน่วยส่งออก (out unit)

-หน่วยเก็บข้อมูล (storage unit) แต่ละหน่วยทำหน้าที่ประสานกัน

1. หน่วยรับเข้าทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งต่างๆ จากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งเข้าไปทำการประมวลผลต่อไป

2. หน่วยประมวลผลกลาง1.1 หน่วยควบคุม1.2 หน่วยคำนวณและตรรกะหน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่งหรือข้อมูลที่รับเข้าไป ซึ่งจะทำงานร่วมกับหน่วยอื่นๆ

3. หน่วยความจำหน่วยความจำ ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์กำลังประมวลผล และเป็นที่พักข้อมูลระหว่างที่ซีพียูกำลังประมวลผล

4. หน่วยส่งออกทำหน้าที่แสดงหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลจากซีพียูมาให้ผู้ใช้งานรับทราบ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของการมองเห็น (ภาพหรือข้อความ) หรือการส่งเป็นสัญญาณเสียง

5. หน่วยเก็บข้อมูลหน่วยเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เก็บข้อมูลแบบถาวรบนคอมพิวเตอร์

การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเริ่มจากผู้ใช้ป้อนข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า (Input device) เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ ข้อมูลจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 และ 1 แล้วส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อประมวลผลตามคำสั่ง ในระหว่างการประมวลผล หากมี (Random Access Memory: RAM) ซึ่งทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากการประมวลผลเป็นการชั่วคราว ขณะเดียวกัน อาจมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลดังกล่าวไปแสดงผลผ่านทางอุปกรณ์ผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยส่งออก เช่น จอภาพ หรือ เครื่องพิมพ์ ดังรูปที่ 3.2 นอกจากนี้เราสามารถบันทึกข้อมูลที่อยู่ในอนาคต โดยการอ่านข้อมูลที่บันทึกในสื่อดังกล่าวผ่านทางเครื่องขับหรือไดร์ฟ (drive) การส่งผ่านข้อมูลไปยังหน่วยต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์จะผ่านทางระบบบัส (bus)

3.2 การทำงานของคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ของหน่วยรับเข้าและส่งออก จะเชื่อมต่อกับตัวเครื่องที่เรียกว่า ซิสเต็มยูนิต (System unit) มี เคส (case) เป็นโครงยืดให้อุปกรณ์ต่างๆประกอบกัน ภายในเคสจะมีเมนบอร์ด (mainboard) เป็นแผนวงจรหลัก โดยซีพียู หน่วยความจำ การ์ด รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ จะถูกต่อกับเมนบอร์ดนี้ทั้งสิ้น

3.2.1 ซีพียู และการประมวลผลข้อมูล

ซีพียู (Central Processing Unit : CPU) มีลักษณะเป็น (chip) ที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งชิปดังกล่าวเป็นสารกึ่งตัวนำขนาดเล็ก ภายในบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆไว้มากมาย โดยวงจรจะประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนมาก บางครั้งจึงเรียกชิปต่างๆว่า ไอซี

ในอดีตซีพียูจะมีขนาดใหญ่ แต่ในปัจจุบันเมื่อนำสารกึ่งตัวนำมาใช้ก็ทำให้ซีพียูถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง โดยรวมวงจรต่างๆ ไว้ในชิปเพียงตัวเดียว เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ซึ่งกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีไมโครโพรเซสเซอร์เป็นซีพียู ภายในไมโครโพรเซสเซอร์ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญสองส่วนคือ หน่วยควบคุม และหน่วยคำนวณและตรรกะ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า เอแอลยู

การทำงานของคอมพิวเตอร์จะต้องทำตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ในหน่วยความจำ โดยโปรแกรมเกิดจากการนำคำสั่งมาต่อเรียงกัน เมื่อคอมพิวเตอร์ทำงาน หน่วยควบคุมการอ่านคำสั่งต่างๆ เข้ามาประมวลผลในซีพียู โดยวงรอบของการทำคำสั่งของซีพียูประกอบด้วยขึ้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอนดังนี้

1.ขึ้นตอนการรับเข้าข้อมูล (fetch) เริ่มแรกหน่วยควบคุมรหัสคำสั่งและข้อมูลที่จะประมวลผลจากหน่วยความจำ

2.ขั้นตอนการถอดรหัส (decode) เมื่อรหัสคำสั่งเข้ามาอยู่ในซีพียูแล้ว หน่วยควบคุมจะถอดรหัสคำสั่งแล้วส่งคำสั่งและข้อมูลไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ

3.ขั้นตอนการทำงาน (execute) หน่วยคำนวณและตรรกะทำการคำนวณโดยใช้ข้อมูลที่ได้รับมาถอดรหัสคำสั่ง และทราบแล้วว่าต้องการทำอะไร ซีพียูก็จะทำตามคำสั่งนั้น

4.ขั้นตอนการเก็บ (store) หลังจากทำคำสั่งก็จะเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในหน่วยความจำซีพียูเก่า การทำคำสั่งแต่ละคำสั่งจะต้องทำวงรอบคำสั่งให้จบก่อน จากนั้นจึงทำวงรอบคำสั่งของคำสั่งต่อไป สำหรับซีพียูในยุคปัจจุบันมีการการพัฒนาให้ทำงานให้เร็วขึ้น โดยมีการแบ่งวงรอบคำสั่งนี้เป็นวงรอบย่อยๆอีก มีการทำเทคนิคการทำงานแบบสายท่อ (Pipeline) มาใช้โดยขณะที่ทำวงรอบคำสั่งแรกอยู่ ก็มีการอ่านรหัสคำสั่งของคำสั่งถัดไปเข้ามาด้วย ซึ่งจะทำให้การทำงานโดยรวมของซีพียูเร็วขึ้นมาก

หน่วยควบคุม (Control unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประสานงาน และควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ควบคุมให้อุปการณ์รับข้อมูล ส่งข้อมูลไปที่หน่วยความจำ ติดต่อกับอุปกรณ์แสดงผลเพื่อสั่งให้นำข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังอุปกรณ์แสดงผล โดยหน่วยควบคุมของคอมพิวเตอร์จะแปลความหมายของคำสั่งในโปรแกรมของผู้ใช้ และควบคุมให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ

หน่วยคำนวณและตรรกะ หรือ เอแอลยู (Arithmetic-Logic Unit: ALU) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการคำนวณต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การบวก ลบ คูณ หาร และเปรียบเทียบทางตรรกะเพื่อทำการตัดสินใจ เช่น การเปรียบเทียบข้อมูล การเปรียบเทียบว่าจริงหรือเท็จ

การทำงานของเอแอลยู จะรับข้อมูลจากหน่วยความจำมาไว้ในที่เก็บชั่วคราวของเอแอลยูที่เรียกว่า เรจิสเตอร์ (Register) เพื่อทำการคำนวณแล้วส่งผลลัพธ์กลับไปยังหน่วยความจำ


3.2.2 หน่วยความจำ และการจัดเก็บข้อมูล

หน่วยความจำ (Memory unit) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญบนเมนบอร์ดที่ทำงานร่วมกับซีพียูโดยตรง หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. หน่วยความจำแบบไม่สามารถลบเลือนได้ (non volatile memory) เป็นหน่วยความจำที่สมารถเก็บข้อมูลได้ แม้ว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ตัวอย่างของหน่วยความจำชนิดนี้ เช่นรอม และ หน่วยความจำแบบแฟลช

รอม (Read Only Memory: ROM) เป็นหน่วยความจำแบบอ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้

หน่วยความจำแฟลช (flash memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้

ในเครื่องคอมพิวเตอร์มีการใช้รอมในการเก็บไบออส (Basic Input Output System: BIOS)ไบออสทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปรแกรมและคำสั่งพื้นฐานที่สำคัญใสการเริ่มต้นกระบวนการบูต (Boot) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้หน่วยความจำแบบแฟลชในการเก็บไบออสแทน 2. หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเพื่อเก็บข้อมูล หากเกิดไฟฟ้าดับ ข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งจะสูญหายไป หน่วยความจำชนิดนี้ เช่น แรม

แรม (Random Access Memory: RAM) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. สแตติกแรม หรือเอสแรม (Static RAM:SRAM) มักพบในตัวซีพียูทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำภายในซีพียูที่เรียกว่าหน่วยความจำแคช ซึ่งจะมีความเร็วสูงกว่าไดนามิกแรม ตัวอย่าง เอสแรม

2.ไดนามิกแรม หรือ ดีแรม(Dynamic RAM :DRAM) เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการจดจำข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซีมากที่สุด เนื่องจากราคาไม่แพงและมีความจุในการประมวลของคอมพิวเตอร์ เช่นถ้าต้องการให้คอมพิวเตอร์แสดงผลการบวกตัวเลขสองจำนวน ซีพียูจะต้องติดต่อกับแรมที่ใช้เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลต่างๆ ไว้

3.2.3 ระบบบัสกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ

ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีเมนบอร์ดที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู หน่วยความจำและฮาร์ดดิสก์ โดยการส่งข้อมูลและคำสั่งระหว่างอุปกรณ์ จะอยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกส่งผ่านระบบถ่ายข้อมูลที่เรียกว่า บัส (bus) ขนาดของบัส(bus width) กำหนดโดยจำนวนบิตที่คอมพิวเตอร์สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ในหนึ่งครั้ง ตัวอย่างเช่น บัส 32 บิต สามารถรับส่งข้อมูลได้ครั้งละ 32 บิต บัสขนาด 64 บิต สามารถรับส่งข้อมูลได้ครั้งละ 64 บิต เป็นต้น บัสที่มีจำนวนบิตมากจะทำให้การรับส่งข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ทำได้เร็วขึ้นการบอกความเร็วบัสมักวัดเป็นจำนวนครั้งที่รับส่งข้อมูลได้ในหนึ่งหน่วยเวลา ซึ่งมีหน่วยเป็นเฮิร์ตซ์ (Hz) เช่น บัสที่มีความเร็ว 1 MHzความหมายว่าบัสมีสามารถรับส่งข้อมูลได้หนึ่งล้านครั้งต่อวินาที เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พบในปัจจุบันมีค่าความเร็วบัสเป็น 667 , 800,1066 หรือ 1333 MHz ถ้าความเร็วบัสมีค่ามากหมายความว่า สมารถรับส่งข้อมูลได้เร็ว ก็จะทำให้เวลาการทำงานของโปรแกรมเร็วขึ้นไปด้วย

การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพโดยรวมของอุปกรณ์ทั้งหมดที่ประกอบกันอยู่ ความเร็วของคอมพิวเตอร์จะพิจารณาจากความเร็วของซีพียูอย่างเดียวไม่ได้ ต้องพิจารณาจากขนาดและความเร็วของบัสด้วย เช่น เมื่อซีพียูต้องการอ่านโปรแกรมหรือข้อมูลจะต้องอ่านจากแรม ถ้าหากระบบบัสที่เชื่อมต่อระหว่างแรมและซีพียูทำงานช้าก็จะทำให้การทำงานของระบบช้าไปด้วย

3.3 การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์

เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถประมวลผลได้เร็วขึ้น แต่ราคาถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานทำได้ง่าย มีให้เลือกหลากหลายรุ่นตามร้านค้าทั่วไป แต่ผู้ใช้งานควรพิจารณาว่าจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อทำงานด้านใด เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์มีทั้งแบบที่ใช้ได้กับงานทุกประเภทหรืองานเฉพาะด้าน แม้ว่าราคาเครื่องอุปกรณ์ต่างๆจะถูกลง แต่ผู้ใช้ควรเลือกคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อให้คุ้มค่ากับจำนวนเงิน ตัวอย่างของการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ตามลักษณะของงานแต่ละประเภท เช่นงานเอกสาร หรืองานในสำนักงาน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับจัดการด้านเอกสารรายงาน ตกแต่งภาพ ทำการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ ดูภาพยนตร์หรือสื่อทางการศึกษา ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น ซอฟแวร์ประมวลคำ และซอฟแวร์ตารางทำงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูง คือประมาณ 1 GHz ขึ้นไป แต่ควรมีแรมอย่างน้อย 1 GB และอาจเลือกใช้จอภาพแบบแอลซีดีขนาดใหญ่ 17 - 19 นิ้ว เพื่อถนอมสายตา เนื่องจากลักษณะงานต้องจ้องมองจอภาพตลอดเวลา

งานกราฟิก เป็นใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการตกแต่งและออกแบบภาพ และมีการเรียกใช้งานโปรแกรมหราฟิกหลายๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน ใช้ซอฟแวร์กราฟิกในการสร้างชิ้นงาน เช่น งานสิ่งพิมพ์ งานนำเสนอแบบมัลติมีเดีย สร้างเว็บไซต์ ติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวนมากที่มีทั้งภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประเภทนี้จำเป็นต้องมีซีพียูที่มีความเร็วอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ประมาณ 2 GHz ขึ้นไปใช้แรมอย่างน้อย 2 GB ขึ้นไป และมีฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก

งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ เป็นการออกแบบภาพ 3 มิติ สร้างภาพยนตร์ สร้างการ์ตูน แอนิเมชัน (animation) ตัดต่อวีดีทัศน์ ตัดต่อเพลง เล่นเกมที่มีกราฟิกสูง งานประเภทนี้ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณและแสดงภาพความละเอียดสูงสุดได้ ดังนั้น ควรเลือกซีพียูที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 2 GHz มีแรมอย่างน้อย 4 GB การ์ดแสดงผลที่สามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงได้ดีควรใช้จอภาพขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว และควรมีเครื่องสำรองไฟเนื่องจากการทำงานประเภทนี้คอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลาในการประมวลผลนานถ้าหากไฟดับหรือไฟกระตุกจะไม่สะดวกในการเริ่มทำงานใหม่

3.4 การเลือกซื้ออุปกรณ์

3.4.2 เมนบอร์ด (mainboard) หรืออาจเรียกว่า มาเธอร์บอร์ด หรือไมโบ(motherboard: mobo) เป็นแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะประไปด้วยช่องติดตั้งซีพียู ไบออส ชิปเซ็ต ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำสายสัญญาณและบัสต่างๆขั้วต่อสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมภายใน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไดร์ฟ และพอร์ตต่ออุปกรณ์รอบข้าง เช่น เมาส์ และ คีบอร์ดส่วนประกอบที่สำคัญ

สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเปลี่ยนเมนบอร์ด หรือต้องการซื้อเมนบอร์ดเพื่อนำมาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกซื้อเมนบอร์ด เช่น ซ็อกเก็ตซีพียู ฟรอนต์ไซด์บัส สล็อตหน่วยความจำ ช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆหรือสล็อต ขั้วต่อและรูปแบบหรือฟอร์มแฟกเตอร์ ตัวอย่างรายละเอียดเมนบอร์ดที่ระบุขายในเว็บไซด์

3.4.3 แรม ในการเลือกซื้อแรมเพื่อนำมาใช้งานกับพีซี มักจะเป็นแรมชนิดดีดีอาร์เอสดีแรม(Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM : DDR SDRAM) ซึ่งจะต้องพิจารณาประเภทของแรมให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด และสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปควรให้ความสำคัญในลำดับต่อมาคือ ขนาดความจุ และความเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย

1.) ประเภทของแรม ต้องพิจารณาเลือกซื้อให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด แรมที่ใช้พีซี เช่น DDR, DDR2และ DDR3 โดยแรมแต่ละชนิดจะมีตำแหน่งรอยบากที่แตกต่างกันดังรูปที่ 3.16 เพื่อให้สามารถเสียบแรมบนสล็อตได้ถูกต้อง

2.) ความจุ ปัจจุบันแรมมีให้เลือกตั้งแต่ความจุ 256 MB ขึ้นไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานด้านกราฟิกหรือ มัลติมิเดียระดับสูง จะใช้แรมที่มีความจุสูงขึ้นตามไปด้วย สำหรับเครื่ององคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันมักจะติดตั้งแรมความจุ 1 GB ขึ้นไปบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์จะมีสล็อตสำหรับติดตั้งแรมมากกว่า 1 ช่อง ผู้ใช้สามารถติดตั้งแรมได้หลายตัว แต่ต้องเป็นชนิดเดียวกัน ตามที่สล็อตติดตั้งจะมีให้ โดยความจุแรมของพีซีจะเท่ากับผลรวมจากความจุของแรมทั้งหมด

3.) ความเร็วของแรม ความเร็วของแรม หมายถึง จำนวนครั้งที่สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้ภายในหนึ่งวินาที โดยมีหน่วยวัดเป็น เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เช่น DDR3 มีความเร็ว 1,333 MHz เป็นต้น ผู้ใช้งานต้องเลือกความเร็วของแรมให้สอดคล้องกับความเร็วของเมนบอร์ดด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าระบบบัสบนเมนบอร์ด(FSB) ทำงานด้วยความเร็ว 1,066MHz แต่นำแรมที่มีความเร็ว 1,333 MHz มาใช้งานจะไม่สามารถทำงานที่ความเร็ว 1,333 MHz ได้ ตัวอย่างของระบบบัสบนเมนบอร์ดกับแรมเปรียบได้กับการที่รถวิ่งบนถนนเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย ในบางครั้งอาจใช้อัตราการถ่ายโอนข้อมูลในการจำแนกรุ่นของแรม เช่น PC2-5400 คือ แรมชนิด DDR2-667 ที่มีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลประมาณ 5,400 MB/s หมายถึง ปริมาณข้อมูลที่จะรับส่งได้ภายในหนึ่งวินาที (คำนวณจาก 667MHz x 8 ไบต์)

ปัญหาคอขวด

ในการเลือกซื้อเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์ ความเร็วบัสที่บอกไว้ จะเป็นความเร็วของฟรอนต์ไซด์บัส (FSB) ดังนั้นถ้าหากต้องการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลได้ประสิทธิภาพดีที่สุด จะต้องเลือกแรมที่มีความเร็วรองรับความเร็วของฟรอนต์ไซด์บัสนี้ด้วย ถ้าหากแรมมีความเร็วน้อยกว่าความเร็วของฟอรนต์ไซด์บัสจะทำให้เกิดปัญหาคอขวดได้เช่นกัน

3.5 การรับประกันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะมีการรับประกันอายุการใช้งาน อุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีระยะเวลารับประกันต่างกัน เช่น แรม รับประกันตลอดอายุการใช้งาน

(life time) และฮาร์ดดิสก์อาจรับประกัน 1-5 ปี โดยอายุของการรับประกันที่นานขึ้น อาจมีผลทำให้ราคาสูงขึ้น บนอุปกรณ์บางชนิดจะมีสติ๊กเกอร์รับประกันติดอยู่บนตัวอุปกรณ์ซึ่งหากมีการฉีกขาด การรับประกันจะสิ้นสุดลงทันที ดังนั้น จึงควรระมัดระวังเมื่อเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ ตัวอย่างสติ๊กเกอร์รับประกัน

3.6 ข้อแนะนำการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

-ไม่ควรเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็น เนื่องจากอาจมีโลหะที่นำไฟฟ้าเข้าไปในเครื่อง ทำให้เกิดการลัดวงจร หรือมีฝุ่นเข้าไปในตัวเครื่อง ฝุ่นนี้จะเป็นตัวเก็บความชื้นทำให้วงจรคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้

-ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง เนื่องจากจะส่งผลให้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น

-ไม่ควรตั้งคอมพิวเตอร์ใกล้กับประตูหรือหน้าต่าง เนื่องจากอาจโดนแสงแดดหรือฝนสาดเข้ามาได้

-ไม่ควรวางจอคอมพิวเตอร์ใกล้กับสนามแม่เหล็ก หรือลำโพงตัวใหญ่ๆ เนื่องจากสนามแม่เหล็กจะทำให้การแสดงภาพผิดเพี้ยนไปจากความจริง

-ถ้าหากที่บานไฟตกหรือมีไฟกระชาก ควรมีเครื่องสำรองไฟยูพีเอส (Uninterruptible power supply : UPS)

-ควรตั้งโหมดประหยัดพลังงานให้กับเครื่อง เพื่อถนอมอายุการใช้งานของเครื่อง การทำงานในโหมดนี้จะทำให้ฮาร์ดดิสก์และซีพียูทำงานน้อยลงเมื่อไม่มีการใช้เครื่องในระยะเวลาที่กำหนด

-ไม่ควรวางของเหลวใกล้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

-ไม่ควรปิดเครื่องโดยการกดสวิตซ์ปิด ควรใช้คำสั่งปิดระบบปฏิบัติการ เองจากระบบปฏิบัติการต้องดำเนินการตรวจสอบสถานการณ์ทำงานต่างๆ ของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ก่อนจะหยุดการทำงาน

3.7 การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของซีพี

เครื่องคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่ทนต่อการใช้งาน ถ้าหากใช้งานเครื่องอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำที่กล่าวมา แต่อย่างไรก็ตามมีบางปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งผู้ใช้สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เช่น

1. เครื่องหยุดการทำงานขณะใช้งานอยู่ สาเหตุ แหล่งจ่ายไฟจ่ายกำลังไฟฟ้าไม่พอ อาจเกิดจากมีอุปกรณ์ต่อพ่วงอยู่กับคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก

การแก้ไข นำอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นที่ต่อพ่วงอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ออกไป หรือเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟที่มีกำลังไฟฟ้ามากขึ้น

2. เปิดเครื่องแล้วปรากฏข้อความว่า “DISK BOOT FAILURE, INSERT DISK SYSTEM PRESS ENTER”

สาเหตุ เครื่องบูตไม่พบฮาร์ดดิสก์ หรือระบบปฏิบัติการบนฮาร์ดดิสก์เสียหายการแก้ไข ตรวจสอบโปรแกรมไบออสว่า บูตฮาร์ดดิสก์ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ หรือติดตั้งระบบปฏิบัติการบนฮาร์ดดิสก์

3. อ่านหรือเขียนแผ่นซีดี / ดีวีดีไม่ได้สาเหตุ หัวอ่านเลเซอร์ของไดร์ฟสกปรก

การแก้ไข ให้ใช้แผ่นซีดีทำความสะอาดหัวก่อน โดยใส่แผ่นซีดีสำหรับทำความสะอาดเข้าไปในไดร์ฟ แปรงขนาดเล็กที่อยู่ใต้แผ่นซีดีจะปัดทำความสะอาดหัวอ่านเลเซอร์ของไดร์ฟ

4. เครื่องรีสตาร์ท (restart) ขณะทำงานสาเหตุ ซีพียูมีความร้อนสูง

การแก้ไข ตรวจสอบพัดลมของซีพียูว่าทำงานหรือไม่ สายที่ต่ออยู่แน่นหรือไม่

2.5 จริยธรรมในโลกของข้อมูล

คำว่าจริยธรรมเป็นคำที่มีความหมายกว้างแม้กระทั่งด้านคอมพิวเตอร์ ก็มีการกล่าวถึงในเรื่องจริยธรรมเช่นกันในที่นี้จะกล่าวถึง จริยธรรม ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและสาระสนเทศในประเด็นต่างๆ ดังนี้

2.5.1 ความเป็นส่วนตัว เมื่อข้อมูลปรากฏอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ทำให้การรวบรวมข้อมูลการเข้าถึง การค้นหา และการแบ่งปัน ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย และรวดเร็ว ทำให้ข้อมูลบางประเภทที่มีความเป็นส่วนตัวสูง เช่น เลขประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลประวัติการรักษา อาจรั่วไหลสู่สาธารณะได้ บางครั้งข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ อาจถูกนำไปใช้โดยผิดวัตถุประสงค์ของเจ้าของข้อมูล เช่นหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ซึ่งถูกเก็บไว้โดยสถานพยาบาล อาจรั่วไหลไปสู่บริษัทที่มีการประชาสัมพันธ์การขายผ่านโทรศัพท์มือถืออาจทำให้เจ้าของหมายเลขนั้นถูกรบกวนโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นต้น

ก่อนจะเผยแพร่ข้อมูลทุกครั้ง ต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัว ผลเสียจากการเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ อาจย้อนกลับมาสร้างความเดือนร้อนให้กับตนเองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ในอนาคต เช่น นักเรียนโพสต์รูปของตนเองและเพื่อนไว้ในเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม แต่เพื่อนของนักเรียนอาจได้ผลกระทบจากรูปนั้นก็เป็นได้

ในบางกรณีการไม่เปิดเผยข้อมูลอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ได้ เช่น ในการปรึกษาเกี่ยวกับแพทย์ เรื่องความผิดปกติทางเพศ หรือการเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หากต้องเปิดเผยข้อมูลจริงเหล่านี้ การใช้นามแฝงแทนจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแลกเปลี่ยนข้อมูล แต่กรณีเหล่านี้จะไม่สามารถทำได้ ในเว็บไซต์ที่กำหนดให้กรอกข้อมูลจริง เพื่อสมัครใช้บริการ

2.5.2 สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูล ในการเก็บข้อมูลในฐานะข้อมูลจะมีการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม โดยระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้คนหนึ่งเข้าถึงข้อมูลต้องมีการตรวจสอบว่า จะให้เข้าถึงข้อมูลใดได้บ้าง หรือไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลใดบ้าง ตัวอย่างเช่น พนักงานแหนกการเงินซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลเงินเดือน ไม่ควรได้สิทธิ์นาการเข้าถึงข้อมูลประวิติส่วนตัวของพนักงานทั่วไปได้เป็นต้น ตัวอย่างการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม

หากการเข้าใช้ระบบเพื่อเข้าถึงข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล ดังนั้นสิทธิ์ในการเข้าใช้ระบบก็จะอยู่ในเกณฑ์ข้อนี้ด้วย โดยปกติแล้วการเข้าถึงระบบใดๆ นั้น ผู้ใช้จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลระบบ ( system administrator ) ซึ่งมีหน้าที่คอยดูแล บำรุงรักษาระบบ ให้สามารถทำงานได้เป็นปกติ

การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา มีความผิดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของลิขสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลหลายข้อ ยกตัวอย่างเช่น

มาตรา 5

ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไมเกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 7

ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังมีการระบุความผิดที่เกี่ยวข้องกับการดักรับข้อมูลซึ่งเดินทางอยู่ในระบบเครือข่ายโดยดักรักนี้ไม่ได้รับอนุญาต ก็มีความผิดเช่นกัน

มาตรา 8

ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จะเห็นได้ว่า จากตัวอย่างของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นั้น การเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดทั้งจำคุก และปรับ ดังนั้นทุกคนต้องพึงระวังการใช้คอมพิวเตอร์และการเข้าถึงเครือข่าย แม้ว่าการกระทำบางอย่างอาจไม่ใช่ความผิดขั้นร้ายแรงถึงกับมีโทษจำคุกปรับเงิน แต่การกระทำการใดๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้น อาจก่อความรำคาญหรือรบกวนการใช้ของผู้อื่นได้เช่นกัน

2.5.3 ทรัพย์ทางปัญญา ในกระบวนการผลิตโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ รูปภาพ เพลง หนังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูง และใช้เวลาในการผลิตยาวนาน แต่เมื่อสิ่งเหล่านั้นปรากฏอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัล ผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถทำซ้ำและนำไปใช้ได้โดยไม่ได้จ่ายเงินให้กับผู้ผลิต ก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจ กับเจ้าของข้อมูล ผู้ใช้ต้องพิจารณาขอบเขตของสิทธิ์ที่ตนเองได้รับข้อมูลดังกล่าว และเป็นการสมควรหรือไม่ที่จะได้ดาวน์โหลดและแจกจ่ายข้อมูลดิจิทัลเหล่านั้น นอกจากนี้การนำข้อความหรือรูปภาพจากสื่ออินเทอร์เน็ตมาใช้ จะต้องมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลให้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การคัดลอกข้อความหรือรูปภาพจากเว็บประกอบในการทำรายงาน โดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มา

จะเห็นว่า ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มีมูลค่าถึงแม้ว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะไม่ได้รับการตีราคาออกมาเป็นจำนวนเงิน แต่ผู้ที่มีข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ รวมถึงมีวิธีบริหารงานภายในองค์กร และสามารถแข่งขันกับโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ รวมถึงการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เป็นสิ่งที่ควรรู้ และเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน ซึ่งในปัจจุบันเครื่องมือทางด้านสารสนเทศเพื่อการเก็บรวบรวม ประมวลผล รวมถึงแสดงข้อมูลและสารสนเทศเหล่านี้ มีให้ใช้ได้อย่างหลากหลาย ควรเลือกใช้ให้ถูกต้อง และมีจริยธรรม ควรพิจารณาได้ดีว่า การใช้เครื่องมือข้อความ รูปภาพ ใดๆ ที่ได้มาควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกกฎหมาย และจริยธรรม รวมทั้งไม่สร้างความเดือดร้อน รำคาญให้แก่ผู้อื่น จากการใช้สิ่งเหล่านั้น