บทที่ 1. เทคโนโลยีและการสื่อสาร

1. เทคโนโลยีและการสื่อสาร

1.1 ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เช่น มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสืบค้นข้อมูล หรือรับ-ส่งข้อมูลระหว่างกัน ตลอดจนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile phone) หรือโทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารนักเรียนเข้ามาใช้งานในทุกระดับชั้นขององค์กร เช่น งานด้านการบริหาร การจัดการ และการปฏิบัติการ รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร จึงประกาศให้ปี พ.ศ.2538 เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย มีการลงทุนเกี่ยวกับโครงการพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเป็นจำนวนมาก เช่น มีการขยายระบบโทรศัพท์ และขยายเครือข่ายการสื่อสาร มีการสร้างระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ และการสร้างระบบจัดเก็บภาษีอากรด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

คำว่า เทคโนโลยีสาระสนเทศ (Information Technology : IT) เรียกย่อว่าไอทีประกอบด้วยคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศนำมารวมกันเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศและคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) หรือเรียกย่อว่าไอซีทีประกอบด้วยคำที่มีความหมายดังนี้

เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการหรือกระบวนการ เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคล กลุ่มคน หรือองค์กร

สารสนเทศ (information) หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ จนได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าและสาระ หรือมีเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการกับสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร ทั้งนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ซึ่งเป็นวิธีการที่จะส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อการแลกเปลี่ยนหรือเผยแพร่ข้อมูล และสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วทันต่อการใช้ประโยชน์ ผ่านอุปกรณ์สื่อสาร เช่น วิทยุ โทรศัพท์ เครื่องโทรสาร คอมพิวเตอร์ คลื่นวิทยุ และดาวเทียม ดังรูป 1.3 ดังนั้นในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารจึงมักใช้คู่กัน

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับข่าวสารข้อมูล และการสื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและการส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำข้อมูลกลับไปใช้ใหม่

ตัวอย่างเช่น

1. การเรียนทางไกลผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2. การสั่งซื้อสิ้นค้าและชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

3. การเบิกเงินด้วยบัตรเอทีเอ็ม

4. การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิสก์ หรืออีเมล(electronic mail: e-mail)

1.2 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร ระบบสารสนเทศประกอบด้วย

1.2.1 ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด (keyboard) เมาส์ (mouse) จอภาพ (monitor) จอภาพสัมผัส (touch screen) ปากกาแสง (light pen) เครื่องอ่านรหัสแท่ง (barcode reader) เครื่องพิมพ์ (printer) ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเสื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น โมเด็ม (modem) และสายสัญญาณ

1.2.2 ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ( instruction ) ที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เพื่อให้ทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ โดยทั่วไปโปรแกรม หรือชุดคำสั่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ

-ซอฟต์แวร์ระบบ ( system software ) หมายถึง ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ และทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น

1) ระบบปฏิบัติการ(Operating System: OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่หน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังรูปที่ 1.5 โดยจะทำหน้าที่ดูแลและจัดหาให้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งอยู่ทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ เช่น วินโดวส์ (windows) ลินุกซ์ (Linux) และแมคโอเอส (mac OS) ดังรูปที่ 1.6

2) โปรแกรมอรรถประโยชน์ (utilities program) เป็นโปรแกรมที่ช่วยเสริมการทำงานของคอมพิวเตอร์ หรือช่วยโปรแกรมใช้งานอื่นๆ ให้มีความสามารถใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล (file manager) โปรแกรมที่ใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น (back and restore) โปรแกรมที่ใช้ในการบีบอัดแฟ้มข้อมูล (file compression) และโปรแกรมที่ใช้ในการจัดพื้นที่ของดิสก์ (disk defragmenter)

3) โปรแกรมขับอุปกรณ์ หรือดีไวซ์ไดร์ฟเวอร์ (device driver) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อหรือใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ได้

4) โปรแกรมแปลภาษา เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นรหัสที่อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้

-ซอร์ฟแวร์ประยุกต์ (application software) หมายถึง ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง ซอร์ฟแวร์ประยุกต์อาจเขียนขึ้นโดยใช้โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น เบสิก (basic) ปาสคาล (pascal) โคบอล (cobol) ซี (C) ซีพลัสพลัส (C ++) และวาจา (Java)

1.2.3. ข้อมูล(date) ข้อมูลจะถูกรวบรวมและป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด และ สแกนเนอร์ (scanner) ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำ (memory unit) ก่อนที่จะถูกย้ายไปเก็บที่หน่วยเก็บข้อมูล (storage unit) เช่น ฮาร์ดดิสก์ และแผ่นซีดี (compact Disc : CD) การป้องกันข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์

1.2.4 บุคลากร (people) บุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ในที่นี้หมายถึงบุคคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ 1 บุคคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศจะต้องมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพให้สามารถทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ง่ายและสะดวก ส่วนผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการใช้งานระบบ สารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องจึงเกิดสารสนเทศที่เป็นประโยชน์

1.2.5 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (procedure) ระบบสารสนเทศต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อข้อมูลได้รับความเสียหาย หรือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ เกิดการชำรุดเสียหาย ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ควรได้รับการรวบรวมและจัดทำให้เป็นรูปเล่ม ของคู่มือการใช้งาน

องค์กรต่างๆ มีการลงทุนจำนวนมากในการจัดหาระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำมาช่วยงานทั้งด้านการบริหารและการจัดการงานทั่วไปขององค์กร โดยเน้นที่คุณภาพของระบบสารสนเทศและความคุ้มค่าในการลงทุน การใช้ระบบสารสนเทศจะเริ่มจากการนำขย้อนมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลข้อมูลเหล่านั้น แล้วจึงส่งผลลัพธ์ออกมาให้กับผู้ใช้ ผู้ใช้ระบบสารสนเทศจะนำสารสนเทศนั้นไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง หากผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ก็ต้องย้อนมาพิจารณาเริ่มต้นที่ขั้นตอนการป้อนข้อมูลใหม่อีกครั้งว่า ข้อมูลเข้า และขั้นตอนอื่นๆ มีความถูกต้อง สมบรูณ์หรือไม่

1.3 ประโยชน์และตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว มีการทำกิจกรรมหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันง่ายขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น

1.3.1 ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอก่สทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการศึกษา

1. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สะดวกในการเดินทางสามารถได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ที่อยู่ในเมือง

2. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ภาษาต่างประเทศ ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจมากขึ้น และเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การแสดงสถาณการณ์จำลอง แบบจำลอง ภาพเคลื่อนไหว แสงสีและเสียงประกอบ นักเรียนสามารถเตรียมตัวก่อนเรียน หรือทบทวนบทเรียนด้วยตนเองเมื่อใดก็ได้ที่มีเวลาว่าง

3. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้พิการทางสายตาหรือหู

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี ทั้งในและนอกสถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ ใช้บทเรียนออนไลน์ในการฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติม นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่ทั้งครูและนักเรียนหรือบุคคลทั่วไป ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลเรื่องต่างๆ ในการทำรายงาน หรือเพื่อศึกษาหาความรู้ เว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลที่ใช้กันมากในปัจจุบัน เช่น google.com, ask.com, dogpile.com และ wikipedia.orgตัวอย่างการค้นหาข้อมูลจากหลักฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

เกร็ดน่ารู้ระบบการลงทะเบียนเรียน

การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาต่างๆที่กำหนดไว้ในหลักสูตรได้ โดยสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง และการเรียนการสอนเป็นวันอะไรเวลาอะไร วิชานั้นๆมีผู้สมัครเรียนกี่คน เต็มจำนวนที่สามารถรับแล้วหรือไม่ ซึ่งจะทำให้มีการปรับเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อให้นักศึกษาสามารถรับข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถลงทเบียนเรียนได้อย่างถูกต้อง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำการตรวจสอบวิชาที่บันทึกแต่ละวิชาว่าติดขัดข้อกำหนดหรือไม่ จากนั้นระบบคอมพิวเตอร์ก็จะทำการพิมพ์รายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียน พร้อมทั้งคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่นักศึกษาต้องจ่ายเป็นค่าลงทะเบียนเรียน เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการลงทะเบียนแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีข้อมูลในฐานข้อมูลที่ปรับเปลี่ยนให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอจะทำการการพิมพ์รายงานการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาในแต่ละวิชา เพื่อแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนวิชานั้นๆ ได้ทราบว่าแต่ละวิชามีนักศึกษาผู้ใดลงทะเบียนเรียนบ้าง เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้นกี่คน ข้อมูลต่างๆในฐานข้อมูลนี้อาจถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีก เช่น การจัดห้องสอบ การพิมพ์รายชื่อนัดศึกษาเพื่อการกรอกคะแนนและเกรดนักศึกษาตรวจสอบวิชาที่เปิดสอน ตารางสอนตรวจสอบวิชาว่าติดขัดข้อกำหนดใดหรือไม่พิมพ์รายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนและคำนวณค่าใช้จ่ายการลงทะเบียนพิมพ์รายงานการลงทะเบียนของนักศึกษาในแต่ละวิชาข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูลนี้อาจถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีก เช่น การจัดห้องสอบ การจัดพิมพ์รายชื่อนักศึกษา เพื่อการกรอกคะแนนและเกรด

1.3.2 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner )ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมนด้านการแพทย์และสาธารณสุข

1.3.3 ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม เช่น การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน และหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรงงาน สารเคมี โรงผลิตและควบคุมการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงงานที่ต้องทำซ้ำๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ และโรงงานแบตเตอรี่ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการผลิตและควบคุมคุณภาพสินค้า การส่งสินค้าตามใบสางสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านอุตสาหกรรม

1.3.4 ด้านการเงินการธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและธนาคาร โดยใช้ช่วยงานด้นบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน บริการสินเชื่อ แลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารการธนาคาร การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป เช่น บริการฝากถอนเงิน การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วต่อการดำเนินธุรกิจต่างๆ

1.3.5 ด้านความมั่นคง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ การส่งดาวทียมและการคำนวณวิถีการโคจรของจรวดไปสู่อวกาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมีศูนย์ประมวลข่าวสาร มีระบบมีระบบจัดทำระเบียนปืน ทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก้านความมั่นคง

1.3.6 ด้านการคมนาคม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง เช่น การเดินทางโดยรถไฟ มีกรเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสารการเช็คอินของสายการบิน ได้จัดทำเครื่องมือที่สะดวกต่อลูกค้า ในรูปแบบของการเช็คอินด้วยตนเอง

เกร็ดความรู้ระบบควบคุมไฟจราจร

การควบคุมไฟจราจรด้วยคอมพิวเตอร์จะช่วยให้สัญญาณไฟจราจรตามทางแยกมีการปิดเปิดสัญญาณไฟเขียวอย่างสัมพันธ์กัน เครื่องตรวจสอบสภาพจราจร เป็นเครื่องนับจำนวนรถที่ผ่านไปต่อ 1 หน่วยเวลา ซึ่งอาจใช้ห่วงลวดเหนี่ยวนำฝังไว้ใต้ผิวถนน เมื่อมีรถยนต์วิ่งผ่านจะทำให้การเหนี่ยวนำมีการเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนแปลงเป็นสัญญาณส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการวิเคราะห์ แล้วส่งสัญญาณกลับมาควบคุมการปิดเปิดไฟจราจรที่ทางแยกต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาวะการจราจรในขณะนั้นเซ็นเซอร์ตามถนนจะเก็บข้อมูลที่เป็นตัวนำเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะประมวลผลข้อมูลที่ได้ออกมาเป็นข้อมูล ( ทิศทางและปริมาณของการจราจร ) ซึ่งจำเป็นต่อการควบคุมสัญญาณไฟจราจร

1.3.7 ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยการคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง ตัวอย่างซอฟแวร์การเกิดแผ่นดินไหว

1.3.8 ด้านการพาณิชย์ องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในองค์กร หรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ปรับปรุงการให้บริการกับลูกค้าซึ่งเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีขององค์กรต่อลูกค้าทั่วไป สิ่งเหล่านี้นับเป็นการสร้างโอกาสความได้เปรียบแช่งขันให้กับองค์กร ตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในด้านการพาณิชย์ เช่น การให้บริการชำระค่าสินค้าบริการ การสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต และการตรวจสอบราคาสินค้าผ่านเครื่องอ่านราคาสินค้า

1.4 แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.4.1 ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อพิจารณาเครือข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากวิทยุเรียกตัว (pager) ซึ่งเป็นเครื่องรับข้อความ มาเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่อสารชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานด้านอื่นๆได้ นอกจากการพูดคุยธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่สามารถใช้ถ่ายรูป ฟังเพลง ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ บันทึกงานสั้นๆ โทรศัพท์บางรุ่นมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยงานส่วนบุคคล (Personal Digital Assistant : PDA) ซึ่งสามารถเชื่อต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังมีหน้าจอแบบสัมผัส ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น บางรุ่นมีอุปกรณ์สไตลัส (stylus)คือใช้ปากกาป้อนข้อมูลทางหน้าจอ บางรุ่นสามารถสั่งการด้วยเสียง

ในอนาคตอันใกล้ มนุษย์จะมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยใช้กันมากขึ้น นอกเหนือจากการพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านอินเทอร์เน็ต มนุษย์สามารถพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ทำให้สามารถติดต่อกันได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกลง สามารถส่งข้อความ ภาพ และเสียง ได้โดยง่ายดาย สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังค้นหาข้อมูลด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วยเว็บรุ่นที่สาม ( Web 3.0 ) แทนที่จะเป็นการใช้คำหลักเหมือนดังที่ใช้ในปัจจุบัน ตัวอย่างการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพารุ่นใหม่ ดังนั้นอุปกรณ์สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคตมีแนวโน้มเป็นดังนี้คือ มีขนาดเล็กลง พกพาได้ง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น เก็บข้อมูลได้มากขึ้น ประมวลผลได้เร็วขึ้น ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น โดยมีการผนวกอุปกรณ์หลายๆอย่างไว้ในเครื่องเดียว ( all-in-one ) ที่สำคัญอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้งานง่ายขึ้น รวมถึงสามารถสั่งงานด้วยเสียงได้ นอกจากนี้ ยังมีระบบ

รักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้น โดยอาศัยลายนิ้วมือหรือจอม่านตา แทนการพิมพ์รหัสแบบในปัจจุบัน

ตัวอย่างอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคต

1.4.2 ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในอดีตมักเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงเพียงชุดเดียว ( stand alone ) ต่อมามีการเชื่อต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในองค์กร เพื่อทำให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน จนเกิดเป็นระบบรับและให้บริการ หรือเรียกว่าระบบรับ-ให้บริการ ( client-server system ) โดยมีเครื่องให้บริการ ( server ) และเครื่องรับบริการ ( client )รูปที่ 1.26 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงเพียงชุดเดียว ( stand alone )การให้บริการบนเว็บก็นำหลักการของระบบรับ-ให้บริการมาใช้ช่วยให้การทำงานง่าย สะดวกรวดเร็ว เพราะสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีเว็บเซิร์ฟเวอร์ ( web server ) เป็นเครื่องให้บริการ

ปัจจุบันมีการใช้แลนไร้สาย ( wireless LAN ) ในสถาบันการศึกษา และองค์กรหลายแห่ง การให้บริการแลนไร้สาย หรือ ( Wi-Fi ) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านขายเครื่องดื่ม หรือห้องรับรองของโรงแรมใหญ่ ภายใต้ความร่วมมือของผู้ให้บริการ ทำให้นักธุรกิจสามารถดำเนินธุรกรรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายได้ หรือบางรายอาจซื้อบริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านทางโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีติดตามตำแหน่งรถด้วยจีพีเอส ( Global Positioning System: GPS ) กับรถแท็กซี่เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้โดยสารและผู้ขับรถ

1.4.3 ด้านเทคโนโลยี ระบบทำงานอัตโนมัติที่สามารถตัดสินใจได้เองจะเข้ามาแทนที่มากขึ้น เช่น ระบบแนะนำเส้นทางจราจร ระบบจอดรถ ระบบตรวจหาตำแหน่งของวัตถุ ระบบควบคุมความปลอดภัยภายในอาคาร ระบบทำงานอัตโนมัติเช่นนี้ อาจกลายเป็นระบบหลักในการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ โดยเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ มีการเชื่อมต่อเครือข่ายอย่างกว้างขวางไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างระบบจอดรถอัตโนมัติ

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ( Radio Frequency Identification: RFID ) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุเพื่อระบุเอกลักษณ์ของวัตถุ ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักสองส่วน คือ ป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ ( electronics tag )และเครื่องอ่าน ( reader ) ตัวอย่างเช่น ในห้างสรรพสินค้ามีป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ติดอยู่ที่สินค้าแต่ละชนิด และมีเครื่องอ่านติดอยู่ที่ประตูทางออก หรือจุดชำระเงิน เมื่อต้องการชำระเงินค่าสินค้า พนักงานจะใช้เครื่องอ่าน อ่านราคาสินค้าจากป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะทราบราคาสินค้าหรือถ้าลืมชำระเงินแล้วเดินผ่านประตู เครื่องอ่านก็จะส่งสัญญาณเตือน1.5 ความเปลี่ยนแปลงจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความเปลี่ยนแปลงจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ความก้าวหน้าของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพื่อสนองความต้องการด้านต่างๆ ของผู้ใช้ในปัจจุบันซึ่งมีผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วโลกประมาณพันล้านคน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ผู้ใช้สามารถใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้ทุกที่ ทุกเวลา จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ทั้งที่เกิดประโยชน์และโทษ เช่น

1) ด้านสังคม สภาพเหมือนจริง การใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่างๆ จนเกิดเป็นสังคมที่ติดต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันว่า ไวเบอร์สเปซ (cyber space)ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การพูดคุย การซื้อสินค้า และการบริการ การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดสภาพที่เหมือนจริง (virtual) เช่น เกมเสมือนจริง ห้องสมุดเสมือนจริง พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ห้องประชุมเสมือนจริง และที่ทำงานเสมือนจริง ซึ่งทำไห้ลดเวลาในการเดินทางและสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ตัวอย่างภาพเสมือนจริง สำหรับเกมเสมือนจริง อาจสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้ที่ไม่สามารถแยกแยะระหว่างเกมหรือชีวิตจริง อาจใช้ความรุนแรงเลียนแบบเกม และเกิดปัญหาอาชญากรรมตามที่เป็นข่าวในสังคมปัจจุบัน

การใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Cash) การใช้เงินตราจะเริ่มเปลี่ยนรูปแบบเป็นการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ทำให้พกเงินสดน้อยลง เพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าและการบริการต่างๆ ด้วยบัตรที่มีลักษณะเป็นบัตรสมาร์ต หรือสมาร์ตการ์ด (smart card) ดังรูปที่ 1.32 ซึ่งบัตรใบเดียวสามารถใช้ได้กับธุรกรรมหลายประเภท ตั้งแต่เป็นบัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่ บัตรประจำตัวพนักงานหรือบัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต ตลอดจนบัตรสมาชิกห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และร้านอาหารต่างๆ

เนื่องจากพฤติกรรมการใช้เงินที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว ข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น อาจมีผู้ประสงค์ร้ายลักลอบนำข้อมูล เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน เบอร์โทรศัพท์ และรหัสที่ใช้ในการถอนเงิน ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ในทางที่ผิด เช่น ลักลอบเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลบัญชีเงินฝากของธนาคาร เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีของตนเอง การโทรศัพท์มาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร หลอกให้ทำการโอนเงินจากบัญชีออกไปให้โดยบอกว่าจะทำการคืนเงินภาษีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างการก่ออาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บริการนำเสนอแบบตามคำขอหรือออนดีมานด์ (on demand) เป็นการเข้าถึงข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา เช่น การเลือกชมรายการโทรทัศน์ หรือฟังรายการวิทยุย้อนหลังได้ทางเว็บไซด์ แทนการติดตามดูรายการโทรทัศน์ หรือฟังรายการวิทยุ ตามตารางที่ทางสถานีกำหนดไว้ล่วงหน้าการศึกษาออนดีมานด์ (education on demand) เป็นการเปิดเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษา ณ ที่ใด เวลา ใดก็ได้ แล้วเลือกวิชาเรียนบทเรียนได้ ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของอีเลิร์นนิง (e-Learning) ตัวอย่างของการนำเสนอรายการโทรทัศน์แบบออนดีมานด์

การได้รับเทคโนโลยีมากเกินไป (technology overlord) การพัฒนาของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยมีรูปแบบที่หลากหลาย ทำให้น่าสนใจ และสะดวกในการเข้าถึง สิ่งเหล่านี้เป็นแรงดึงดูดให้บุคคลเกิดความลุ่มหลงจนเกิดเป็นอาการติดเทคโนโลยี เช่น ติดการใช้โทรศัพท์มือถือ การถ่ายคลิป การเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ต การส่งข้อความออนไลน์ การใช้อีเมล์ รูป เล่นเกมออนไลน์ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ รวมถึงการทำลายสัมพันธภาพทางสังคม เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อน หรือเพื่อนร่วมงานได้ ผู้ติดเทคโนโลยีมีอาการในลักษณะเดียวกับผู้ติดสิ่งเสพติดอย่างการพนัน สุรา หรือยาเสพติด

2) ด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์(globalization) เพราะสามารถชมข่าว ชมรายการโทรทัศน์ที่จะส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลก สามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันที ใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ระบบเศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศ ก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลก เกิดกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกจึงเชื่อมโยงและผูกพันกันมากขึ้น

3) ด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีประโยชน์ในด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม หรือภาพถ่ายทางอากาศร่วมกับการจดเก็บรักษาข้อมูลระดับน้ำทะเล ความสูงของคลื่นจากระบบเรดาร์ เป็นการศึกษาเพื่อหาสาเหตุ และนำข้อมูลมาวางแผนและสร้างระบบเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแต่ละแห่งได้อย่างเหมาะสมนอกจากนี้ในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบผสม (hybrid engine) เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมก็ต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อควบคุมให้เครื่องยนต์ลดการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นการช่วยลดมลภาวะจากก๊าซ-ไนโตรเจนออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน และก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขยะ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ เครื่องพิมพ์ ที่เสียหรือไม่ใช้งานแล้ว รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่ถูกทิ้งเป็นขยะ ซึ่งต่างจากขยะทั่วไป เช่น ถุงพลาสติก และเศษอาหาร โดยในขยะอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นหนึ่งๆ มีส่วนประกอบที่เป็นโลหะและพลาสติก รวมถึงวัสดุอื่นๆ ที่ประกอบกันอย่างซับซ้อน ยากต่อการแยกออกมา โดยเฉพาะในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีรายงานพบว่าขยะเหล่านี้นอกจากจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว ยังปลดปล่อยสารพิษปะปนเข้าสู่สิ่งแวดล้อม การแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้วนำกลับมาหลอมใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล จึงทำได้ยากมากกว่าขยะทั่วไป เพราะต้องมีขั้นตอนวิธีที่เหมาะสม จึงต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญและต้องจัดการอย่างมีระบบ ดังนั้นจึงควรใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้คุ้มค่า จะซื้อใหม่เมื่ออุปกรณ์นั้นไม่สามารถซ่อมได้แล้ว และไม่เปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บ่อยๆตามกระแสนิยม ตัวอย่างขยะอิเล็กทรอนิกส์

1.6 ตัวอย่างอาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ตลาดแรงงานต้องการผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างแท้จริง ซึ่งงานด้านนี้จะรวมถึง งานด้านการออกแบบโปรแกรมต่างๆ โปรแกรมใช้งานบนเว็บ งานด้านการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ งานด้านฐานข้อมูล งานด้านระบบเครือข่าย ทั้งในและนอกองศ์กร รวมถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย ดังนั้นองศ์กรจึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ และพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อใช้งานด้านต่างๆ ขององศ์กร ตัวอย่างอาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น

นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer)ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น โปรแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าโปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร

นักวิเคราะห์ระบบ (System analyst) ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย

ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล (Database administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการฐานข้อมูล(Database) รวมถึงการออกแบบ บำรุงรักษาข้อมูล และการดูแลระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล เช่น การกำหนดบัญชีผู้ใช้ การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้

ผู้ดูแลและบริหารระบบ (System administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ การติดตั้งฮาร์ดแวร์ การติดตั้งและการปรับปรุงซอฟต์แวร์ สร้าง ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้ สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย

ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย (Network administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายขององค์กร เช่น ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายของพนักงานและติดตั้งโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเครือข่าย

ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (Webmaster)ทำหน้าที่ออกแบบพัฒนา ปรับปรุงและบำรุงรักษาเว็บไซต์ให้มีความทันสมัย โดยเฉพะอย่างยิ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

เจ้าหน้าที่เทคนิค (Technician)ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งโปรแกรม หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ต่างๆ และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในองค์กร

นักเขียนเกม (Game maker)ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้การเขียนเกมคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย