ปรัชญา/ หลักการ/ วิสัยทัศน์/ พันธกิจ ของ สวชช.
ปรัชญา
เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อเพิ่มคุณค่าชีวิตและศักยภาพของบุคคลและชุมชน
หลักการ
ประชาชนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของชุมชน บริหารจัดการร่วมโดยชุมชน
วิสัยทัศน์
ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน
พันธกิจ
พันธกิจตามแผนกลยุทธ์การศึกษาของวิทยาลัยชุมชน ระยะ 5 ปี :
เน้นการดำเนินพันธกิจที่เป็นการดำเนินงาน 3 Tracks ในช่วง 3 - 5 ปี ดังนี้
Track ชุมชน : การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นชุมชน ที่มุ่งเน้นการตอบสนองการแก้ปัญหา พัฒนาคุณภาพชีวิต การประกอบอาชีพ ความสงบ และสันติสุขในชุมชน โดยยึดโยงกับภาคเศรษฐกิจ ประชาสังคมในชุมชนท้องถิ่นหลักสูตรพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ด้านอาชีพและคุณภาพชีวิต เช่น เทคนิคการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้นมัคคุเทศก์เฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ การพัฒนาคุณภาพผ้าพื้นเมือง เป็นต้น
Track อาชีพ : เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่มุ่งตอบสนองความต้องการแรงงาน ทักษะ และการประกอบอาชีพอิสระทั้งระดับชุมชน จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยยึดโยงกับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และบริการ ได้แก่ หลักสูตร ปวส. และ ปวช. (เปิดสอนใน 2 คือวิทยาลัยชุมชนอุทัยธานีและวิทยาลัยชุมชนพิจิตร) หลักสูตรระดับประกาศนียบัตร เช่น สาขาวิชาพนักงานสุขภาพชุมชน
Track อนุปริญญา : เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นตอบสนองความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาของคนในชุมชนโดยยึดโยงกับสถาบันอุดมศึกษาหลักสูตรระดับอนุปริญญาสาขาที่นิยมเรียนมาก เช่น การปกครองท้องถิ่น การศึกษาปฐมวัย คอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาธารณสุขชุมชน เป็นต้น
คุณภาพมาตรฐานหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตรภายใต้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา พุทธศักราช 2548
เป็นการดำเนินการจัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถสะสมหน่วยกิตเพื่อรองรับการเทียบโอนหรือไปศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้
การบริหารวิชาการ
หลักสูตรพัฒนามาจากการศึกษาวิจัยชุมชนเป็นฐานในการศึกษาความต้องการ ศักยภาพ และทิศทางการพัฒนาของชุมชน
หลักสูตรเปิดง่าย ปิดง่าย และเน้นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนและชุมชน
เน้นการค้นหาศักยภาพของบุคคลและชุมชนในพื้นที่มาใช้เป็นฐานในการจัดการความรู้ พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
มีความร่วมมือที่ดีกับครูภูมิปัญญา อาจารย์พิเศษ สภาวิชาการ และสภาวิทยาลัยชุมชน
มีความร่วมมือที่ดีกับสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานในพื้นที่ที่วิทยาลัยชุมชนตั้งอยู่
ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารวิชาการในรูปของกรรมการสภาวิชาการวิทยาลัยชุมชน
การจัดการเรียนการสอน
เน้นการระดมทรัพยากรในพื้นที่มาเป็นเครือข่ายในการจัดการศึกษา ทั้งด้านสถานที่เรียน อาจารย์พิเศษที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่
จัดหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้เรียนทั้งก่อนเข้าเรียนและระหว่างเรียน เพื่อให้สำเร็จการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่นเอื้อให้ผู้เรียนทำงานไปเรียนไปด้วยได้