อัญชัน

อัญชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ของดอกอัญชันคือ Clitoria ternatea L. วงศ์ Fabaceae

ชื่ออื่น แดงชัน เอื้องชัน อัญชัน

ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณมากมาย ถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร ให้ใช้กับผู้ป่วยโรคโควิด -19ที่มีความรุนแรงน้อย เพื่อลดการเกิดโรคที่รุนแรง นอกจากนี้ยังสามารถใช้บรรเทาอาการของโรคหวัด ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล มีไข้ ซึ่งสามารถเก็บผลผลิตมาใช้ได้ทันทีเมื่อมีอาการเจ็บป่วยในสถานการณ์โควิด-19 ในการดูแลตนเอง สามารถเคี้ยวใบฟ้าทะลายโจร 10 ใบต่อมื้อ จำนวน 3 มื้อต่อวัน ติดต่อกัน 5 วัน หรือกินแบบต้มก็ได้ ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้แพ้ฟ้าทะลายโจร ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาลดความดันโลหิต



อัญชันดอกสีม่วง เอาไว้เขียนคิ้ว กับขยี้ทาหัวให้เด็กที่เกิดใหม่ ซึ่งเป็นประเพณีของคนไทยทุกภาค ดอกสีม่วงยังใช้แก้ฟกช้ำได้ดีอีกด้วย การใช้ดอกอัญชันสีม่วง ปลูกคิ้ว ปลูกผมนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นภูมิปัญญาของคนไทย ลาว เขมร ประเทศอื่นๆแม้จะมีอัญชันขึ้นตามธรรมชาติมากมายก็ไม่เห็นเขาใช้กัน มีการใส่อัญชันในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและมีการศึกษาวิจัยประโยชน์ของอัญชันต่อการงอกของส้นผม เส้นขน



ใบ ของอัญชันดอกสีม่วงและสีขาวเป็นยาเย็น ใช้เป็นส่วนประกอบของยาเขียว อัญชันดอกสีม่วงดูเหมือนจะใช้ประโยชน์ได้มากกว่า สามารถนำมาเขียนคิ้ว คั้นน้ำใส่ผม คั้นน้ำใส่ขนม และนำมาทำน้ำสมุนไพรแก้ร้อนในได้


ดอก ยอดอ่อน ฝักอ่อน ของอัญชันทั้งสีขาวและสีม่วง นิยมเอามากินเป็นผักได้ทั้งสด และลวก ทำอาหารคาว และอาหารหวานได้หลายอย่าง สีจากดอกอัญชัน นิยมแต่งสีน้ำเงินในขนมต่างๆ เช่นขนมเรไร ขนมขี้หนู ขนมวุ้นขนมน้ำดอกไม้ ขนมชั้น และสามารถเปลี่ยนให้เป็นสีม่วง โดยนำดอกอัญชันมาบดเติมน้ำเล็กน้อย กรองคั้นเอาแต่น้ำซึ่งเป็นสีน้ำเงิน เติมมะนาวลงไปเล็กน้อยจะได้สีม่วง น้ำดอกอัญชันนำมาหุงข้าวจะได้ข้าวสวยหอมๆ ร้อนๆ สีสันสวยงาม


อัญชัน ดอกสีม่วง ป้องกันตาเสื่อม

การศึกษาสมัยใหม่พบว่า ในพืชหลายชนิดรวมทั้งอัญชันดอกสีม่วงมีสารแอนโทไซยานิน ที่จัดอยู่ในกลุ่มสาร ฟลาโวนอยด์ เป็นสารให้สีตามธรรมชาติที่ละลายน้ำได้ และเปลี่ยนสีไปตามสภาวะความเป็น กรด-ด่าง ตั้งแต่ น้ำเงินม่วง แดง จนไปถีงส้ม ชนิดที่พบในกลีบดอกอัญชันสีม่วงมีชื่อว่า เทอร์นาทิน (ternatins) ซึ่งเป็นสารสีน้ำเงิน ตรงกับรากศัพท์เดิมของแอนโทไซยานิน ซึ่งหมายถึง ดอกไม้สีน้ำเงิน นั่นเอง

สารแอนโทไซยานินมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวีและทำให้หมดฤทธิ์ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารแอนโทไซยานินในการเพิ่มประสิทธิภาพของตา เช่นป้องกันตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น แอนโทไซยานิน ยังมีฤทธิ์กระตุ้นกลไกอื่นๆที่ส่งผลดีต่อดวงตา คือยับยั้งการลดจำนวนของสารสีม่วงที่มีชื่อว่า โรดอปซิน (rhodopsin) ในเซลล์รูปแท่งที่จอประสาทตา ซึ่งมีความไว ต่อแสงและช่วยในการมองเห็นในที่มืด

ปัจจุบันมีงานวิจัยพบว่ารากและส่วนอื่นๆของอัญชันมีประโยชน์ต่อสมองหลายด้าน เช่นกระตุ้นการเรียนรู้และความจำ ช่วยคลายความเครียด วิตกกังวล และช่วยให้นอนหลับ อัญชันยังเป็นสมุนไพรสำหรับคนเป็นเบาหวานในการช่วยลดน้ำตาลในเลือดและเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน มีชาวบ้านที่ใช้ดอกอัญชันต้มกินรักษาเบาหวานขึ้นตาพบว่ามีอาการดีขึ้น ซึ่งน่าจะเกิดจากสารแอนโทไซยานินและฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของอัญชันนั่นเอง


นอกจากนี้ นิยมใช้ใบรักษาอาการอักเสบ บวม ใช้พอกกระดูกหัก ดอกและใบของอัญชันมีฤทธิ์ต้านอักเสบ ต้านอนุมู,อิสระ แม้ว่าในปัจจุบันภัยคุกคามต่อสุขภาพจะไม่ใช่พิษงู หรือพิษสุนัขบ้าเช่นแต่ก่อน แต่เป็นสารพิษจากมลภาวะและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอนุมูลอิสระ อัญชันยังได้รับการพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์แล้วว่ามีคุณสมบัติต้านพิษ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระและทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นเป็นการช่วยกำจัดและป้องกันสารพิษไม่ให้ทำความเสียหายแก่เซลล์ ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง และโรคเรื้อรังที่เกิดจากความเสื่อมต่างๆเช่นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคสมองเสื่อม โรคเบาหวาน โรคความดัน รวมไปถึงรอยเหี่ยวย่นของผิวพรรณ อัญชันจึงไม่ใช่แค่สมุนไพรเครื่องสำอางเท่านั้นแต่ยังเป็นยาแก้พิษภัยขนานแท้



ข้อมูล เนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวปาริชาติ จันทภาค

ภาพถ่าย / ภาพประกอบโดย นางสาวปาริชาติ จันทภาค

ข้อมูล TKP อ้างอิง ชื่อลิ้งค์ : bk-Mueangbuengkan-09