ใบความรู้

|รู้จักศิลปะลายผ้าชาวเขา

|การจำแนกลายผ้า

ศิลปะลายผ้าชาวเขา เอกลักษณ์ชนเผ่าที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ

ศิลปะลายผ้าชาวเขา จึงมีความสำคัญที่สะที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตและเรื่องราวทางวัฒนธรรมของหญิงชาวม้งที่สืบทอมาจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นนับหลายร้อยปีการปักผ้าม้ง เพื่อใช้ติดประดับบริเวณต่างๆ ของเสื้อผ้า เป็นสิ่งที่ผู้หญิงเผ่าม้งจะต้องทําเป็นทุกคน และต้องทําใส่เอง และสําหรับสามีลกชาย ู ด้วย เพราะผู้ชายม้งจะไม่ปักผ้าหญิงชาวม้งทุกคนจึงต้องร่ําเรียนวิชาปักผ้าจากผู้เป็นมารดาของตนตั้งแต่อายุยังไม่ถึงสิบปีแต่ชาวม้งจะไม่นิยมใช้สีแดงประดับบนเสื้อผ้า เพราะมีความเชื่อว่า สีแดงเป็นสีรุนแรง เป็นสีทเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุไม่เป็นมงคลจะใช้เฉพาะในงานศพเท่านั้นศิลปะลวดลายบนผืนผ้าชนเผ่าม้ง มีทั้งการปัก การเย็บ และการเขียนเทียน (การเขียนลายเทียนเฉพาะในกลุ่มม้งลาย ส่วนกลุ่มม้งดํา และม้งขาวจะไม่เขียนเทียน) ผ้าปักม้งส่วนใหญ่เป็นผ้าฝ้ายทอมอื และผ้าใยกัญชง เทคนิคที่ใช้ในการปักผ้าม้งโดยหลักจะมี 2 แบบคือ แบบปักเป็นกากบาทคล้ายลายปักครอสติชและอีกแบบหนึ่งคือ การปักแบบเย็บปะติด เอกลักษณ์ลวดลายที่ปรากฎบนผืนผ้าของชาวเผ่าม้งก็มีหลากหลายลักษณะ ทั้งลวดลายดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ลวดลายที่ถูกสร้างสรรค์จากจินตนาการเลียนแบบมาจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรอบตัว วิถีชีวิต ลวดลายที่ได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อ ตํานาน หรือเรื่องเล่าและลวดลายที่มีการปรับประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยตามความต้องการของกระแสความนยมของผู้บริโภค


ลวดลายปักวิถีชีวิต : ศิลปะบนผนผืนผ้า สะท้อนวิถีชนเผ้าม้ง

ชนเผ่าม้งนอกจากจะมีฝีมือและความชํานาญในการปักผ้าและการเขียนเทียนสร้างสรรค์ลวดลายที่งดงามที่เลื่องลือ ตามแบบฉบับของชาวม้งแล้ว ชนเผ้าม้งกลุ่มม้งลาย ยังมีความชาญฉลาดในการเล่าเรื่องราวที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของชนเผ่า ผ่านศิลปะงานปักบนผืนผ้า บอกเล่าถึงความเป็นไปในวิถีชีวิตความเป็นอยู่การประกอบอาชีพ ลวดลายที่แสดงถึงการเล่าเรื่องราววิถีชีวิตเหล่านี้ใช้เทคนคการปักลวดลายแบบทึบหรือที่เรียกว่า เชี้ย ตามภาษาชนเผ่าม้ง บนผืนผ้า 1 ชิ้นนั้น อาจมีการปักผ้าเรื่องราวที่บอกเล่าเป็นลําดับเรื่องต่อเนื่องกันหลายเรื่อง เช่น ภาพปักวิถีชีวิตชาวม้งชายหญิงที่ดําเนินเรื่องตั้งแต่ออกจากบ้านไปไร่ไปนา ปลูกข้าวปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์หรือภาพปักแสดงวิถีการเพาะปลูก ตั้งแต่การเริ่มต้นปลูกต้นกล้า รดน้ำ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวพืชผล เช่นนี้เป็นต้น ศิลปะและเทคนิคการปักลวดลายลักษณะเช่นนี้เป็นอีกเอกลักษณ์นึ่งของชาวม้งที่มีการทํากันในกลุ่มหญิงชาวม้งลาย เป็นภูมิปัญญาและศิลปะดั้งเดิมที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันการปักต้องอาศัยทั้งจินตนาการ ความอดทน และฝีมือในการปักค่อนข้างสูง ปัจจุบันจึงมีชาวม้งที่ปักผ้าในลักษณะนี้ได้เหลืออยู่ค่อนข้างน้อยมาก และอาจจะสูญหายไปตามกาลเวลาในที่สุด


“ลายก้นหอย” เอกลักษณ์เฉพาะบนผืนผ้าปักที่สะท้อนชนเผ่าม้ง

หญิงชาวเผ่าม้ง ต่างมีทักษะความเชี่ยวชาญในด้านการปักผ้า ไม่แพ้หญิง

ชนเผ่าอื่นๆ ศิลปะการปักผ้าของหญิงสาวชาวเผ่าม้งแบบหนึ่งที่แสดงถึงทักษะฝีมือของผู้ปักคือการปักแบบเย็บปะ หรือที่ชาวม้งเรียกเทคนิคการปักแบบนี้ว่า เจี๋ย

ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคที่คอนข้างยากกว่าเทคนิคอื่นๆ ของชาวม้ง เจี๋ย หมายถึง เทคนิคการตัดผ้าเป็นลวดลายที่กําหนด แล้วนํามาเย็บติดซ้อนกับผ้าพื้นอีกชั้นหนึ่ง ความยากของเทคนิคนี้อยู่ที่ความละเอียด ลวดลลายที่แสดงเอกลักษณ์ของเทคนิค เจี๋ย ที่นิยมของชาวม้ง คือ การปักลายก๊ากื้อ หรือลายก้นหอย ผู้ปักต้องใช้ทั้งฝีมือ ต้องมีทักษะความเชี่ยวชาญ ใช้ความละเอียดและความอดทนมากเป็นพิเศษจึงจะปักลวดลายนี้ได้สําเร็จ ประณีตและออกมาสวยงามลายก๊ากื้อ เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ความหมายในภาษาไทยหมายถึง ก้นหอย เป็นลายหลักที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีความชัดเจนที่สุดของชาวม้งในแทบทุกกลุ่ม เปนลายโบราณดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษของม้งหลายชั่วอายุคน ลายก๊ากอหรือลายก้นหอยพบได้ทั้งในงานปักแบบเจี๋ยหรือเย็บปะ งานปักแบบคลอสติซ และงานเขียนเทียนของชาวม้งลาย ลายก๊ากื้อหรือลายก้นหอยนั้น อาจมีตามคติความเชื่อของ ชาวม้ง

แฝงอยู่ซึ่งเชื่อว่ามีที่มาจากหอยสังข์ซึ่งมักถูกนํามาใช้ในการประกอบพิธีกรรมสําคัญๆ ทางศาสนาลักษณะการวนของก้นหอยเปรียบเสมือนการโคจรของพระอาทิตย์พระจันทร์และดวงดาว เอกลักษณ์ลายก้นหอยนี้จึงเสมือนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบนผืนผ้าปักที่สะทอนชนเผ่าม้ง และยังคงมีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันสามารถพบลายก๊ากื้อหรือลายก้นหอยนี้บนผืนผ้าของชาวม้งโดยทั่วไป