ภูมิปัญญาพื้นบ้านการทอเสื่อกก

ชื่อเรื่อง ภูมิปัญญาพื้นบ้านการทอเสื่อกก

ชุมชน : บ้านมะค่า ตำบลโพนทอง อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีม


ประวัติความเป็นมา จากการสัมภาษณ์นางสั้น เดชนอก ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทอเสื่อกก ซึ่งปัจจุบันประชาชนทั่วไปและ นักศึกษาในตำบลโพนทองอาชีพ การทำนาเป็นส่วนใหญ่เมื่อเสร็จจากการทำนาประชาชนส่วนใหญ่จะว่างงาน กศน.ตำบลโพนทองเห็นความสำคัญจึงได้จัดการศึกษาอาชีพและให้ความรู้เกี่ยวกับการทำอาชีพเสริมเพิ่ม รายได้ อาชีพการทำการทอผ้าฝ่าย เป็นอาชีพอิสระอาชีพหนึ่งที่ส่งเสริมการใช้ เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และทำให้มี รายได้เสริมนอกเหนือจากอาชีพหลักเด่นภูมิปัญญาท้องถิ่น - มีลายผ้าที่สร้างขึ้นเอง - มีการใช้สีจากวัสดุธรรมชาติในการย้อม – มีราคาถูก

การทอเสื่อกก เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น ย้อมสี แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน เพื่อนำมาใช้ปูลาดรองนั่งหรือนอน หรือทำธุรกรรมต่างๆ ตลอดจนทำพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อ

เสื่อกก เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะต้นกกเป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นำต้นกกมาแปรสภาพก็มีลักษณะคล้ายกัน หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากกันและกัน ทำให้เสื่อกกถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่ง ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีต

การทอเสื่อ เป็นไปเพื่อการใช้สอยในครัวเรือน โดยท้องถิ่นใดมีต้นกกก็ทอเสื่อกก ท้องถิ่นใดมีต้นกระจูดก็ทอเสื่อกระจูด เสื่อในอดีตเป็นของใช้ที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับปูนั่งหรือนอน จนถึงกับมีคำกล่าวว่า บ้านใดไม่มีเสื่อใช้ ถือว่า พ่อ แม่ ลูก เกียจคร้านไม่มีฝีมือ หนุ่มสาวที่แต่งงานตั้งครอบครัวใหม่หรือขึ้นเรือนใหม่ จะต้องเตรียมที่นอน หมอน มุ้ง ส่วนเสื่อฝ่ายหญิงจะจัดเตรียมทอสะสมไว้เป็นของขึ้นเรือน นอกจากนี้ยังทอเพื่อถวายเป็นไทยทานให้กับวัด เพื่อบำรุงศาสนาในฤดูเทศกาลต่างๆ และยังนำเสื่อที่ทอไปซื้อขายแลกเปลี่ยนกับหมู่บ้านใกล้เคียงอีกด้วย