ประวัติโรงเรียนนุบาลามเสนฯ

ประวัติโรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ

โรงเรียนอนุบาลสามเสน (สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) ก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือ ระหว่าง สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กระทรวงการคลัง และกระทรวงศึกษาธิการ จัดสร้างอาคารเรียน พร้อมจัดหาครุภัณฑ์ที่จําเป็นขึ้นในบริเวณอาคารสงเคราะห์สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เริ่มเปิดเรียนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2514 โรงเรียน ปฏิบัติภารกิจเป็นโรงเรียนอนุบาลประจําจังหวัด สังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ


การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยระยะเริ่มแรก

เนื่องด้วยปีการศึกษา 2514 เป็นปีที่โรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ เริ่มเปิดให้บริการจัดการเรียนการ สอน คณะครูย้ายมาจากโรงเรียนประจําจังหวัดต่าง ๆ เพราะฉะนั้น แนวการสอนระดับปฐมวัย ในระยะ เริ่มแรกจึงขึ้นอยู่กับพื้นฐาน แนวคิดและประสบการณ์ครูแต่ละคนซึ่งแตกต่างกัน ครูบางคนเน้นสอนอ่าน เขียน บางคนไม่เร่งอ่าน เขียนดังนั้นการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยในระยะเริ่มแรก จึงยังไม่มีความเป็นเอกภาพ ทางวิชาการ


การพัฒนาการศึกษาระดับปฐมวัย ในระยะที่ 2 (พ.ศ.2518 – 2526)

กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้ นางสาวราศี ทองสวัสดิ์ เป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน ซึ่งนางสาวราศี ทองสวัสดิ์มิได้จบการศึกษาทางด้านอนุบาล เมื่อต้องมารับผิดชอบโรงเรียนระดับนี้ทําให้มีปัญหาในการบริหารการจัดการ โดยเฉพาะงานด้านวิชาการ จึงได้ขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติม ในปี พ.ศ.2517 ได้รับทุนจาก รัฐบาลสวีเดน ไปเข้ารับการศึกษาอบรม เรื่อง "การสอนและการนิเทศระดับอนุบาลศึกษา" ณ ประเทศอิสราเอล จากการไปศึกษาอบรมทําให้เข้าใจหลักการจัดการศึกษาระดับนี้กระจ่างขึ้น พบว่าการจัดการศึกษาของโรงเรียนมีหลายสิ่งหลายอย่างยังไม่ถูกต้องเหมาะสม ดังนั้น เมื่อกลับมาในปี พ.ศ.2518 ได้ปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลสามเสนให้เป็นระดับการเตรียมความพร้อมและส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านให้ สมบูรณ์ยิ่งขึ้นดังนี้

1. ทําความเข้าใจกับบุคลากรของโรงเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับอนุบาลตามหลักสากล

2. กําหนดกิจกรรมที่จัดให้เด็กแต่ละวันเป็น 6 กิจกรรมหลัก ได้แก่

2.1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

2.2 กิจกรรมสร้างสรรค์

2.3 กิจกรรมการเล่นภายในโรงเรียน

2.4 กิจกรรมวงกลม

2.5 กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง

2.6 เกมการศึกษา

3. การสร้างความเข้าใจกับคณะครูในการนํา 6 กิจกรรมหลักมาใช้เพื่อพัฒนาเด็ก ดังนี้

3.1 การจัดแต่ละกิจกรรมมุ่งพัฒนาเด็กทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา

3.2 ลักษณะของแต่ละกิจกรรมจะขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย เช่น ศิลปะสร้างสรรค์ การเล่นในห้องเรียน และ การเล่นกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ทําอย่างเสรี เติมเต็มความสามารถของแต่ละคน

3.3 การกําหนดเวลาของแต่ละกิจกรรม จะขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละกิจกรรมและช่วงความสนใจของเด็ก

3.4 การนํากิจกรรมมาจัดให้เด็กในแต่ละวัน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมวงกลม เกมการศึกษา ถือเป็นกิจกรรมหนัก ส่วนกิจกรรมสร้างสรรค์ถือว่าเป็นกิจกรรมเบา การจะทําให้ได้ประโยชน์สูงสุด จึงมีการจัดกิจกรรมทั้ง 2 ประเภทมาจัดสลับกัน ผลพลอยได้ประการหนึ่งคือ ทําให้เด็กได้พักผ่อนไปในตัว ข้อควรทราบอีกประการหนึ่งก็คือ มักมีการจัดการเล่นตามมุม เล่นในห้องเรียนไว้ต่อจากกิจกรรมสร้างสรรค์ ด้วยเหตุผลที่ว่า การทํากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบอิสระ เด็กมีโอกาสเลือกทําตามจํานวนที่ตกลงกัน ย่อมจะเสร็จไม่พร้อมกัน ก็เป็นโอกาสที่เด็กจะทยอยเสร็จ และทยอยไปเลือกเล่นตามมุมเล่น


การพัฒนาการศึกษาระดับปฐมวัย ในระยะที่ 3 (พ.ศ.2527 - 2537)

ในขั้นแรกสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้มอบหมายให้หน่วยงานหนึ่งทําวิจัยหารูปแบบการจัดการศึกษาชั้นเด็กเล็ก (สอนเด็ก 5 ขวบ ก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1) ในภาคปลาย การศึกษาของปี 2527 วิจัยฉบับนี้ยังไม่เสร็จ แต่สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จะทําการเปิดสอนเด็กเล็กจํานวน 1,800 ห้องเรียนในต้นปีการศึกษา 2528 จําเป็นต้องมีหลักสูตร และแผนการจัดประสบการณ์ใช้ รองเลขาธิการคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จึงมอบให้ศาสตราจารย์ ดร. อารี สัณหฉวี อดีตคณะบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เป็นประธาน ในการจัดทําหลักสูตรดังกล่าว ซึ่งผู้บริหารและคณะครูในโรงเรียนอนุบาลสามเสนมีโอกาสได้ร่วมกันทํางานกับ โรงเรียนอนุบาลในสังกัดเดียวกัน โดยใช้รูปแบบแผนการสอนของโรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ เป็นแกนหลักใน การจัดทํา

เมื่อทํางานเอกสารแนว และแผนกาจัดประสบการณ์สําหรับชั้นอนุบาลเสร็จ ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ คาดการณ์ว่าลําดับถัดไปจะมีการทําแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลอย่างแน่นอน จึงมอบให้คณะครูอนุบาลนําไปทดลอง พอถึงปลายปีโรงเรียนก็มีแผนในมือ ซึ่งเรียกว่า แผนการจัดประสบการณ์ระดับอนุบาลศึกษา และแผนการจัดประสบการณ์ที่ทําขึ้นนี้ ได้นําไปใช้ในโรงเรียนสังกัดทั่วประเทศ ต่อมาปี พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้กําหนดให้ปรับปรุงหลักสูตรอนุบาล คณะครูโรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ ได้ปรับหลักสูตรโดยให้สร้างเกมการศึกษาใหม่ ๆ โดยยึดทฤษฎีของนักการศึกษาหลายคน เช่น เธอร์สโตน และแอดเลอร์ เป็นกรอบในการคิดและการจัดทํา

ปี พ.ศ. 2537 นางสาวราศี ทองสวัสดิ์ เกษียณอายุราชการ นางเพ็ญพรรณ ยูวะเวส ได้ย้ายมาดํารง ตําแหน่งผู้อํานวยการโรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ โรงเรียนยังคงดําเนินนโยบายการจัดการศึกษาระดับอนุบาล ตามรูปแบบเดิมอย่างต่อเนื่อง

ในปี พ.ศ. 2547 นายสําเร็จ จันทร์โอกุล ย้ายมาดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการโรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ ยังคงดําเนิน นโยบายการจัดการศึกษาระดับอนุบาล และมีการนําแนวคิด ทฤษฎีใหม่ ๆ มาประยุกต์ ผสมผสานใช้ร่วมกับรูปแบบเดิมได้อย่างชัดเจน

ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2551 นายสําเร็จ จันทร์โอกุล เกษียณอายุราชการ นางสาวณัฏฐนันท์ ปั้นลายนาค ได้ย้ายมาดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการโรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ ได้ศึกษาการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ จากผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากร และเอกสารของโรงเรียน อีกทั้งยังได้พา นางรุ่งรวี กนกวิบูรณ์ศรีและนางประภา หมอกอินทร์ ไปศึกษาดูงานการจัดการศึกษาด้านการศึกษาปฐมวัย ณ ประเทศอิสราเอล พบว่าหลักการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยยังคงไม่เปลี่ยนแปลง จึงได้ดําเนินการจัด การศึกษาจามหลักการเดิม และได้พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเข้าสู้โรงเรียนมาตรฐานสากล ในปี พ.ศ.2554

ปีการศึกษา 2555 ระดับชั้นปฐมวัยได้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เข้าสู่โรงเรียนมาตรฐานสากลสู่ อาเซียน ซึ่งได้เน้นกระบวนการศึกษาสภาพปัญหา ในรูปแบบการวิจัย