เหียง

เหียง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.

ชื่อสามัญ : -

ชื่อท้องถิ่น : กุง (ปราจีนบุรี, อุบลราชธานี)/ ตะแบง (ภาคตะวันออก, สุรินทร์)/ ตาด (จันทบุรี, พิษณุโลก)/ ยางเหียง (จันทบุรี, ราชบุรี)/ สะแบง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อุตรดิตถ์)/ เหียง (ภาคกลาง)/ เหียงพลวง เหียงโยน (ประจวบคีรีขันธ์)

วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

คุณลักษณะ

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 8-20 เมตร ลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลเทา แตกเป็นสะเก็ต ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว 13-25 เซนติเมตร โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบมนหรือหยักเว้าตื้น มีขนสีย้ำตาลทั่วใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและใกล้ปลายกิ่ง ขนาดดอกขนาด 3.5-5.5 เซนติเมตร ก้านดอกมีขนหนาแน่น กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพู กลีบดอกรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก สั้น 3 ยาว 2 โคนเชื่อมติดกัน ปลายกลีบเวียนสลับเป็นรูปกังหัน เกสรเพศผู้ 30 อัน อยู่ในหลอดดอก ผล กลม เกลี้ยง แข็ง สีน้ำตาลเป็นมัน ขนาดผ่าศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร ปีกยาว 2 ปีก ขนาดกว้าง 4 เซนติเมตร ยาว 13 เซนติเมตร มีเส้นตามยาวปีก 1 เส้น เส้นย่อยสานเป็นร่างแห อีก 3 ปีกเล็ก มีขนาดยาว 1.0-1.5 เซนติเมตร เมล็ด 1 เมล็ด

ถิ่นกำเนิด

กัมพูชา ลาว มาลายา พม่า ไทย และเวียดนาม

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แหล่งที่มา

อุทยานหลวงราชพฤกษ์