ต้นจั๋งไทย
ต้นจั๋งไทย
ต้นจั๋งไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhapis subtilis Becc.
ชื่อสามัญ : -
ชื่ออื่น ๆ : ปาล์มหวาย ว่านหวาย (เชียงใหม่)/ จั๋งใต้ (กลาง)/ สัง(กรุงเทพ)
วงศ์ : ARECACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นปาล์มแตกกอคล้ายจั๋งจีน แต่ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร สูงเพียง 2 เมตร ถ้าต้นเล็กและสูงมากขึ้น ลำต้นจะทอดเอียง มีแผ่นใยบางๆคลุมลำต้นสีน้ำตาล ใบ ใบรปพัด ก้านใบยาว 15 เซนติเมตร ขอบใบจักลึกถึงสะดือ แตกเป็นใบย่อย 6-12 ใบ ขนาดของลำต้น ใบ ใบย่อย มีความหลากหลายมาก ดอก ช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ออกระหว่างกาบใบ ช่อดอกรวมยาว 30-40 เซนติเมตร ดอกเพศผู้บานก่อน ลักษณะดอกมีสีขาวขนาดเล็กยาว 5-6.5 มิลลิเมตร ผล ผลกลม ขนาด 5-8 มิลลิเมตร สีขาว เมื่อสุกสีเขียวคล้ำ
ถิ่นกำเนิด
ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย
การกระจายพันธุ์
ลาว กัมพูชา ไทย สุมาตรา เวียดนาม
แหล่งที่มา