แผนการจัดการเรียนรู้

        แผนการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

เส้น

สาระที่ 1 ทัศนศิลป์                                                                                                 เวลา 2 ชั่วโมง

 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ศิลปะในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

…………………………………………………………………………………………………………………

1. สาระสำคัญ

เส้นปรากฏอยู่ในธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมและในงานศิลปะ

2. ตัวชี้วัดชั้นปี

จำแนกทัศนธาตุของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์ โดยเน้นเรื่อง เส้น สี

รูปร่าง รูปทรง และพื้นผิว (ศ 1.1 ป. 3/3)

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความหมายของเส้นในลักษณะต่าง ๆ ได้ (K)

2. ชื่นชมเส้นในธรรมชาติ ในสิ่งแวดล้อม และในงานศิลปะ (A)

3. จำแนกเส้นในธรรมชาติ ในสิ่งแวดล้อม และในงานศิลปะได้ (P)


 7. กระบวนการจัดการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อประเมินความรู้

2. ครูให้นักเรียนสังเกตธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวแล้วสุ่มให้นักเรียนวาดภาพสิ่งที่เห็น

ลงบนกระดานดำ จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสังเกตภาพที่นักเรียนวาด พร้อมกับอธิบายเชื่อมโยง

เกี่ยวกับเส้นในธรรมชาติ เส้นในสิ่งแวดล้อม และเส้นในงานศิลปะให้นักเรียนฟัง

3. ครูสนทนากับนักเรียนเพื่อเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับเส้นที่ปรากฏให้นักเรียนเห็น ได้แก่ เส้นตรง

และเส้นโค้งลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดจากการวาดของนักเรียน

ขั้นที่ 2 ขั้นสอน

1. ครูนำตัวอย่างภาพผลงานศิลปะที่แสดงเส้นในลักษณะต่าง ๆให้นักเรียนสังเกต และให้ครู

อธิบายเกี่ยวกับเส้นที่ใช้ ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ

2. ครูอธิบายความหมายของเส้นในลักษณะต่าง ๆ แล้วสุ่มนักเรียนให้ออกมาวาดภาพเส้นใน

ธรรมชาติ  ในสิ่งแวดล้อม และในงานศิลปะ  เพื่อจำแนกให้นักเรียนเห็นความแตกต่างของการใช้เส้น

ในลักษณะต่าง ๆ

3. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5–6 คน ร่วมกันศึกษาค้นคว้าความหมายและลักษณะ

ของเส้น โดยการจดบันทึกและวาดภาพประกอบตามหัวข้อดังนี้

- เส้นในธรรมชาติ

- เส้นในสิ่งแวดล้อม

- เส้นในงานศิลปะ

4. แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการศึกษาความหมาย ลักษณะความแตกต่างของเส้น โดยครูคอย

อธิบายเสริมถึงการใช้เส้นกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้นักเรียนเข้าใจ

ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป

ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเรื่อง เส้นในธรรมชาติ เส้นในสิ่งแวดล้อม และเส้นในงานศิลปะที่มีความสำคัญต่อการถ่ายทอดความคิดจินตนาการสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ โดยครูคอยให้ความรู้เสริมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้

ขั้นที่ 4 ฝึกฝนนักเรียน

1. ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม จำแนกเส้น แล้วให้นักเรียนอธิบายถึงเส้นที่ปรากฏในผลงาน

ศิลปะให้ครูและเพื่อน ๆ ฟัง

2. ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรม เส้นสร้างสรรค์ แล้วให้นักเรียนอธิบายการใช้เส้นตรงและเส้นโค้ง

ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้ครูและเพื่อน ๆ ฟัง

ขั้นที่ 5 การนำไปใช้

นักเรียนนำความรู้เรื่อง เส้น มาสร้างสรรค์ผลงานเพื่อใช้สำหรับตกแต่งห้องเรียน เช่น วาดภาพเส้น

เป็นรูปการ์ตูน ลวดลาย ให้เกิดบรรยากาศที่สดใสสวยงาม เป็นต้น

8. กิจกรรมเสนอแนะ

1. กิจกรรมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ

นักเรียนศึกษาเส้นประเภทต่าง ๆ ใน ธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมและในงานศิลปะที่ให้ความรู้สึกที่

แตกต่างกัน จัดทำเป็นรายงานแล้วนำมาเล่าให้ครูและเพื่อน ๆ ฟัง โดยครูสนทนาซักถามเสริมเกี่ยวกับ

ลักษณะของเส้นว่ามีความสำคัญต่องานศิลปะอย่างไร

2. กิจกรรมสำหรับฝึกทักษะเพิ่มเติม

– นักเรียนใช้เส้นตรงและเส้นโค้งในลักษณะต่าง ๆ วาดภาพระบายสี พิมพ์ภาพหรือปั้นดิน

น้ำมันตามความคิดจินตนาการสร้างสรรค์อิสระ

– นักเรียนศึกษาค้นคว้าและฝึกหัดวาดภาพลายเส้นเป็นตัวการ์ตูน สิ่งของ ทิวทัศน์ หรือตาม

ความสนใจ


9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

1. ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. ห้องสมุด

3. ตัวอย่างภาพผลงานศิลปะที่แสดงเส้นในลักษณะต่าง ๆ

4. ใบกิจกรรม

5. สื่อการเรียนรู้ ศิลปะ สมบูรณ์แบบ ชั้น ป. 3 บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ศิลปะ ชั้น ป. 3 บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

7. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน ศิลปะ ชั้น ป. 3 บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด