หน่วยที่ 6

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT 


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT 

              Internet of Things หรือ IoT เป็นกรอบแนวคิดของระบบโครงข่ายที่รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลากหลายชนิด ตั้งแต่ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์โครงข่าย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์ และวัตถุต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ระบบต่างๆ สามารถติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันได้อัตโนมัติทั้งยังเป็นผลให้มนุษย์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลากหลายยิ่งขึ้น ควบคุมอุปกรณ์และระบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

         การประยุกต์ใช้งาน IoT

          ความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่หลากหลายเข้ากับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้มีการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลายและกว้างขวางมาก โดยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Sensor ต่างๆ เข้ากับโครงข่าย เป็นส่วนประกอบชิ้นสำคัญ ที่จะช่วยพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นในแง่ของการเก็บข้อมูล การรายงานผลย่างแม่นยำ และติดตามได้ทันเหตุการณ์ (Real-time) จึงทำให้หลายองค์กรเริ่มนำมาใช้กันแพร่หลาย บริษัท แอเรียล คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ก็เช่นกัน เรานำประสบการณ์ในเรื่อง Data Communications มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยี เป็น Total Solution Wireless sensor ใช้สำหรับบริหารจัดการพลังงานและทรัพยากรในบริษัทฯ และออกแบบSolution เพื่อแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าด้วยเช่นกัน

          ตัวอย่างของการประยุกต์ใช้งาน IoT มีดังต่อไปนี้

               การเกษตรแม่นยำสูง (SMART Farming) อาศัยการทำงานร่วมกันของระบบ Sensor ที่วัดความชื้น ปริมาณแสงแดด อุณหภูมิ ระบบฐานข้อมูลพืช และระบบให้น้ำ ปรับปริมาณแสง และระบบปรับอุณหภูมิ ที่ทำงานสอดคล้องกันเพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญของพืชมากที่สุด และแม่นยำที่สุด ระบบดังกล่าว นอกจากจะช่วยให้เกษตรกรประหยัดและใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถประมาณ การช่วงเวลาเก็บเกี่ยวและปริมาณพืชผลที่จะผลิตได้

              โครงข่าย IoT จะเข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาระบบคมนาคมและการจัดการโลจิสติกส์ โดยช่วยสนับสนุนให้มีการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างยานพาหนะด้วยกัน หรือระหว่างยานพาหนะและระบบควบคุมการจราจรอื่น เช่น ระบบสัญญาณจราจร ระบบข้อมูลสภาพจราจร ซึ่งการนำเอาระบบดังกล่าวมาใช้กับระบบขนส่งมวลชนที่จะช่วยให้การบริการมีความปลอดภัย สะดวก แม่นยำและตรงเวลามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การนำระบบดังกล่าวไปใช้ในการขนส่งสินค้าจะทำให้สามารถทราบตำแหน่งยานพาหนะ ทราบสถานการณ์รับ-ส่งสินค้า อันส่งผลให้การจัดการสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

               ระบบการจัดการในบ้าน Smart Home เทคโนโลยี IoT จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันภายในที่อยู่อาศัย โดยอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ จะสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ หลอดไฟ เครื่องเสียง กลอนประตูไฟฟ้า ระบบความปลอดภัยภายในบ้าน เครื่องซักผ้า หรือแม้กระทั่งแปรงสีฟัน เราจะสามารถควบคุมระบบต่างๆ ภายในบ้านได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะส่งผลให้ประสบการณ์การใช้ชีวิตของเราเปลี่ยนไป จะสามารถช่วยให้เราจัดการชีวิตได้ง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะการลดเวลาในการทำงานบ้าน รวมถึงอาจมีประโยชน์ในด้านการประหยัดพลังงานและการรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้น

               ระบบการจัดการเมืองและสาธารณูปโภค (Smart City and Utilities) ที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการตรวจวัดที่แม่นยำ การประมวลผลในภาพรวม และการประมาณการที่มีความเชื่อถือได้ ระบบ IoT จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่างๆ ภายในเมือง ซึ่งจะช่วยให้ภาครัฐสามารถวางแผน และเข้าไปให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้พลังงานและสาธารณูปโภค การบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าโดยใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart grid) ที่ทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณการใช้งานพลังงานไฟฟ้า และรวบรวมข้อมูลเพื่อประมาณการค่าอุปสงค์ (Demand forecast) การใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมการจ่ายไฟฟ้า การวางแผนสร้างโรงไฟฟ้า จัดการแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า และการคิดราคาค่าไฟฟ้าแบบสอดคล้องกับค่าอุปสงค์-อุปทาน สภาพการจราจร ความปลอดภัย การบริการสาธารณะ (Public service) ซึ่งจะช่วยให้เมืองสามารถบริหารจัดการทรัพยากรให้ตรงตามความต้องการและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องที่การวัดสถานะระดับน้ำเพื่อการบริหารจัดการการระบายน้ำ แผนที่ค่าการวัดมลภาวะ และสถานะปริมาณขยะเพื่อการจัดเก็บ เป็นต้น