หน่วยที่ 3

สถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoT) 


   ความสำคัญของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

      IoT จะช่วยให้ภาคธุรกิจหรือบุคคลทั่วไปได้รับทราบข้อมูลเชิงลึกและสามารถควบคุมข้อมูลของวัตถุและสิ่งแวดล้อมได้ถึงร้อยละ 99 ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการเข้าถึงผ่านอินเตอร์เน็ต และนอกจากนั้น IoT ยังช่วยให้ภาคธุรกิจและผู้คนได้เชื่อมต่อเข้ากับโลกและสภาพแวดล้อมรอบตัว อีกทั้งยังสามารถทำงานหรือดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องแคล่วมากขึ้น

สถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

         โดยทั่วไป ระบบการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการโดยใช้เทคโนโลยี IoT จำเป็นต้องมีองค์ประกอบของเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่เช้ามาสนับสนุนการติดต่อสื่อสารและการทำงานที่สัมพันธ์กัน ดังนี้

           สมองกลฝังตัวที่ประกอบด้วยเซนเซอร์ เป็นอุปกรณ์ใช้ในากรเชิ่อมต่อระหว่างโลกทางกายภาพ และโลกดิจิทัล โดยเซนเซอร์สามารถตรวจจับสิงที่สนใจ รวมทั้งประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบทันทีทันใด และมีหลายหลายชนิดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น เซนเซอร์วัดอุณหภูมิคุณภาพอากาศ ความชื้น การเคลื่อนไหวและความเร็ว เซนเซอร์สามารถวัดสมบัติทางกายภาพและเปลี่ยนค่าที่วัดได้ให้เป็นสัญญาณที่อุปกรณ์นั้นๆ สามารถเข้าใจได้

2. เกตเวย์และเครือข่าย

           เซนเซอร์ส่วนใหญ่ต้องการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายและเกตเวย์เพื่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตจึงทำให้เกิดการเชื่อมต่อแบบแลน (Local Area Network ) เครือข่ายไร้สาย เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายส่วนบุคคล

           3. ส่วนสนับสนุนการบริการ

               ส่วนสนับสนุนการบริการ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุน เช่น การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การควบคุมความปลอดภัย การบริหารจัดการการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ การควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล และทำหน้าที่เป็นตัวกลางสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างแอปพลิเคชันกับอุปกรณN IoT การใช้งานแบบคลาวด์ ช่วยในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่

         4.แอปพลิเคชัน

             แอปพลิเคชันเป็นส่วนติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับอุปกรณ์ และทำให้เราสามารถควบคุมอุปกรณ์ IoT ได้จากระยะไกลผ่านางอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังอาจเป็นรบบที่ควบคุมอุปกรณ์ให้ทำงานสอดคล้องกันตามวัตถุประสงค์ของการทำงานแบบอัตโนมัติ