รายงานการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานสอน

การบันทึกข้อตกลง PA

ส่วนที่ 1   ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1.  ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

   1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 23   ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

      การงานอาชีพ (ม.1) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ        จำนวน    8  ชั่วโมง/สัปดาห์

      การงานอาชีพ (ม.2) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ   จำนวน    6  ชั่วโมง/สัปดาห์                                

          การงานอาชีพ (ม.3) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จำนวน    6  ชั่วโมง/สัปดาห์                                

          กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมเนตรนารี ม.3   จำนวน    1   ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมชุมนุม ชุมนุม Club อาชีพ     จำนวน    1   ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์   จำนวน    1   ชั่วโมง/สัปดาห์

   1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

         - การมีส่วนร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ     จำนวน   2   ชั่วโมง/สัปดาห์

         - การมีนิเทศและสังเกตการสอน                 จำนวน   2   ชั่วโมง/สัปดาห์     

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา                    จำนวน   2   ชั่วโมง/สัปดาห์

      - งานกลุ่มบริหารงานวิชาการ           จำนวน   1    ชั่วโมง/สัปดาห์

      - งานกลุ่มบริหารงานบุคคล           จำนวน   1    ชั่วโมง/สัปดาห์

 1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

    - บูรณาการเรียนรู้               จำนวน   2     ชั่วโมง/สัปดาห์


2.  งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)


ประเด็นท้าทาย เรื่อง  การพัฒนาทักษะงานบ้านในรายวิชาการงานอาชีพโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)  กับเทคนิคการสอนแบบ Active Learning

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

   สภาพปัญหาของผู้เรียนด้านการงานอาชีพ ยังพบปัญหาอย่างมากในการคิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหาโดยใช้งานบ้านในรายวิชาการงานอาชีพ เนื่องจากนักเรียนไม่เข้าใจถึงงานบ้านในรายวิชาการงานอาชีพ ซึ่งแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมยังไม่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เท่าที่ควร เนื่องมาจากบริบทของสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงสื่อ/เทคโนโลยีของผู้เรียนค่อนข้างไม่ครอบคลุม จึงส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียนยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการแนวคิดเชิงคำนวณที่ดีขึ้น ครูผู้สอนจึงใช้วิธีการประยุกต์จากเทคโนโลยีด้วยแบบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning ซึ่งนวัตกรรมที่นำมาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้งานบ้านในรายวิชาการงานอาชีพ ควรมีลักษณะเร้าความสนใจของผู้เรียนท้าทายความสามารถ เข้าใจง่าย มีภาพ เสียง วิดีโอประกอบ วางรูปแบบสวยงามและสามารถฝึกได้ด้วยตนเอง อันจะส่งผลให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้งานบ้านในรายวิชาการงานอาชีพและประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนวิชาที่เป็นทักษะมาก เพราะเป็นสื่อการสอนที่ช่วยลดภาระของครู ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกทักษะให้ดีขึ้น ส่งเสริมในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในทางจิตใจมากขึ้น ช่วยเสริมทักษะแนวคิดเชิงคำนวณให้คงทน รวมทั้งเป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนหลังจากเรียนบทเรียนแล้ว ตลอดจนนักเรียนสามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง ทำให้ครูมองเห็นปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนได้ชัดเจน นักเรียนสามารถฝึกฝนได้เต็มที่นอกเหนือจากที่เรียนในเวลาเรียนซึ่งทำให้ผู้เรียนเห็นความก้าวหน้าของตนเอง เพื่อให้กิจกรรมมีความหลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะได้ทุกเวลาจากเทคโนโลยีซึ่งทำให้กิจกรรมน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) งานบ้านในรายวิชาการงานอาชีพ กับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยการให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยการฝึกทักษะงานบ้านในรายวิชาการงานอาชีพ ในรายวิชา การงานอาชีพ 

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

3.1 เชิงปริมาณเชิงปริมาณ : ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนตาลสุมพัฒนา จำนวน 78 คน ร้อยละ 80 ที่เรียนในรายวิชาการงานอาชีพ มีผลการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานบ้านที่ถูกต้องและผลสัมฤทธิ์เพิ่มสูงขึ้น

3.2 เชิงคุณภาพ :  การปรับประยุกต์/เทคนิค/สื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะงานบ้านในรายวิชาการงานอาชีพ กับเทคนิคการสอนแบบ Active Learning รายวิชาการงานอาชีพ โดยใช้แบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ 


การจัดการเรียนการสอนด้วยเกมส์

ปัญหา คือ นักเรียนเล่นเกมส์ในระหว่างที่เรียน และไม่มีสมาธิในการเรียน ซึ่งะหากเรียนด้วยวิธีการแบบเดิมๆ คือ จด และ จำ อาจจะทำให้ไม่มีความน่าสนใจ

การจัดการเรียนการสอนด้วยเกมส์

แก้ปัญหาโดย  ใช้สื่อการสอนด้วยเกมส์ Quizzizz ในการสอนรายวิชา การงานอาชีพเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ความสนุก ตื่นเต้น และมีการแข่งขันระหว่างที่เรียน

เอกสารหลักฐาน และคลิปการจัดการเรียนรู้