1.6 ศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังจากใช้กิจกรรมแนะแนว เรื่อง การจัดทำแฟ้มสะสมงานโดยใช้แอปพลิเคชัน CANVA ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมแนะแนว เรื่อง การจัดทำแฟ้มสะสมงานโดยใช้แอปพลิเคชัน CANVA กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3-4/5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 3 ห้องเรียน รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การจัดทำแฟ้มสะสมผลงานโดยใช้แอปพลิเคชัน CANVA 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การจัดทำแฟ้มสะสมงานโดยใช้แอปพลิเคชัน CANVA ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน 20 ข้อ จำนวนคะแนน 20 คะแนน และ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมแนะแนว เรื่อง การจัดทำแฟ้มสะสมงานโดยใช้แอปพลิเคชัน CANVA ซึ่งเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ระยะเวลาในการทดลอง จำนวน 4 คาบ คาบละ 50 นาที สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าร้อยละ (Percentage)

บทคัดย่อ งานวิจัยปี64.pdf
รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษา 64 ครูดุษฎี.pdf

ผลสรุปที่ได้จากการวิจัย มีดังนี้

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การจัดทำแฟ้มสะสมงานโดยใช้แอปพลิเคชัน CANVA ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3-4/5 มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต เท่ากับ 16.03 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.15 ของคะแนนเต็ม และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.39 โดยมีจำนวนนักเรียนที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 116 คน คิดร้อยละ 87.78 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3-4/5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมแนะแนว เรื่อง การจัดทำแฟ้มสะสมงานโดยใช้แอปพลิเคชัน CANVA โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ เท่ากับ 4.36 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.13

แบบสำรวจวัดแววความสามารถ (Mi-Test)

รายงานผลสำรวจแววความสามารถพิเศษด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6 เลขที่ 23-43 จำนวน 21 คน นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบพื้นฐานความสามารถพิเศษพหุปัญญาของตนเอง พบว่า มีนักเรียนค้นพบความสามารถพิเศษ จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 80.95 ยังไม่พบ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 19.05

Mi Test 606.pdf