Coding 2 with Micro:bit

ว22210

          หลังจากที่กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ออกมา โดยให้สาระเทคโนโลยี จัดอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโมเดล ประเทศไทย 4.0

          ทำให้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2561 ให้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ข้อที่ 1.1.3 มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ได้นั้น

          การจัดการเรียนรู้ที่สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวข้างต้นได้ ต้องอาศัยสื่อที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหา วิทยาการคำนวณ, การออกแบบและเทคโนโลยี ในรูปแบบสะเต็มศึกษา และสนับสนุนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อีกด้วย 

Micro: bit คืออะไร
          Micro: bit เป็นไมโครคอนโทรเลอร์ขนาดเล็กที่สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงไปได้ ออกแบบมาเพื่อให้การเรียนการสอน ทำให้การเรียนการสอนง่ายและสนุก จะได้รับ การสร้างสรรค์ การเชื่อมต่อ การเขียนโปรแกรม โดยทาง BBC สนับสนุนงบประมาณในการผลิต Micro: bit จำนวน 1 ล้านบอร์ด แจกให้กับเด็กนักเรียนอายุประมาณ 11-12 ปี ทั่วประเทศอังกฤษ

จุดเด่นของ Micro: bit มีดังนี้

- ง่าย ง่ายมากที่จะเริ่มต้น จากโรงเรียนประถมถึงระดับมหาวิทยาลัย
- เปลี่ยนแปลงชีวิต การเพิ่มขีดความสามารถของนักเรียน 90 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียน บอกว่าช่วยให้ทุกคนสามารถเขียนโปรแกรมได้
- ราคาไม่แพง ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าของเล่นส่วนใหญ่และเครื่องคอมพิวเตอร์

        สำหรับประเทศสิงคโปร์ได้นำ Micro: bit มาใช้ในการจัดการรู้กับนักเรียนระดับชั้นประถม ถึง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อให้เป็นนักสร้างนวัตกรรมในรูปแบบสตีฟ จอบส์

        ดังนั้น Micro: bit เป็นคำตอบที่สามารถเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้บูรณาการกับวิชา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สำหรับ ระดับประถมศึกษา ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้

คุณสมบัติของ Micro: bit

       - LED 5*5 สำหรับแสดงผลหลอด LED และสามารถกำหนดระดับความเข้มหลอด LED เหล่านั้นได้

       - ปุ่ม A และ B ที่สามารถเขียนโปรแกรมควบคุมได้

       - I/O Pin ใช้ในการเขื่อมต่อกับตัวตรวจจับ (Sensor) ภายนอก

       - ตัวตรวจจับ (Sensor) วัดแสง (Light Sensor)

       - ตัวตรวจจับ (Sensor) วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor)

       - ตัวตรวจจับ (Sensor) วัดความเร่ง (Accelerometer)

       - ตัวตรวจจับ (Sensor) วัดความแรงสนามแม่เหล็ก (Compass)

       - คลื่นวิทยุ (Radio) สามารถเชื่อมต่อกับ Micro: bit อื่น ๆ ในการส่งข้อมูลระหว่างกันได้

       - บลูทูธ (Bluetooth)

       - พอร์ต Micro USB

       - ปุ่ม Reset
      -  ช่องต่อไฟเลี้ยง 3 โวลต์ 

นำ Micro: bit ไปใช้ ในด้านการจัดการเรียนการสอนอย่างไร

          สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในรูปแบบของโครงงานต่าง ๆ ได้เหมือน บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ ทั่วไป โดยสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ให้อุปกรณ์เดิมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ระบบเปิด/ปิดไฟอัตโนมัติ, อุปกรณ์วัดความเอียง, ระบบตรวจสอบอุณหภูมิห้องแบบเรียลไทม์ รถยนต์บังคับสำหรับงานด้านต่าง ๆ , กังหันลม, เครื่องชงชา, ระบบควบคุมไฟจราจร, เครื่องเล่นเสียงดนตรี และเครื่องนับแต้ม เป็นต้น 

การวัดผลประเมินผล

หน่วยที่ 1 Flow Chart 20 คะแนน

หน่วยที่ 2บื้องต้นกับ Micro:bit 20 คะแนน

หน่วยที่ 3 IPSO 20 คะแนน

หน่วยที่ 4 My Project 20 คะแนน

สอบกลางภาค  10 คะแนน

สอบปลายภาค  10 คะแนน