ส่วนที่ 2

ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากปีการศึกษาที่ผ่านมา โรงเรียนเทพอุดมวิทยา ได้มีโครงการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน ผ่านกระบวนการ PLC ประสบผลสำเร็จในระดับที่น่าพอใจมาแล้วนั้น แต่เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ พฤติกรรมการเรียนในชั้นเรียนของนักเรียน และ ชิ้นงานของนักเรียน พบว่า ยังไม่สะท้อนถึงการมีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ ที่ชัดเจนและโดดเด่น นอกจากนี้ จากการสังเกตการสอนในการเปิดชั้นเรียนของกลุ่มเครื่อข่ายการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สะท้อนว่า กิจกรรมขั้นการนำเสนอผลงานของนักเรียนนั้น ไม่สามารถอธิบายการทำงานของตนเองได้อย่างเหมาะสมและดีเท่าที่ควร การนำเสนอขาดลำดับขั้นตอน ไม่สัมพันธ์กัน ไม่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่เป็นระบบ การคิดวิเคราะห์ การพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล และการกล้าคิดสร้างสรรค์ผลงานที่แตกต่างออกไป

แต่เมื่อข้าพเจ้าได้พิจารณาคุณลักษณะของผู้เรียนทั้งในด้านความพร้อมและศักยภาพในการเรียนรู้ของนักเรียนแล้ว พบว่านักเรียนโรงเรียนเทพอุดมวิทยา ยังมีศักยภาพที่จะสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าเดิมได้ หากมีวิธีการจัดการเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม รูปแบบการสอน IDPRS Model

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน (ต่อ)

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) หรือ PLC เป็นกระบวนการรวมตัว รวมใจ รวมพลัง ร่วมมือกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา ในโรงเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ลด "ความโดดเดี่ยว" การจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน เพื่อปรับปรุงผลการเรียนของนักเรียน หรืองานวิชาการ โรงเรียน ครูผู้สอนมีคุณค่าและวิสัยทัศน์ร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกันและการนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ การรวมตัวในรูปแบบนี้เป็นแรงผลักดันการพัฒนาวิชาชีพครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยความต้องการและความสนใจของสมาชิกใน PLC ที่จะพัฒนาสู่มาตรฐานการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นหลักสำคัญ

ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงสร้างข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เรื่อง การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบการสอน IDPRS Model เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ในรายวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในครั้งนี้

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

ข้าพเจ้าจะดำเนินการข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนผู้เรียน เรื่อง การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบการสอน IDPRS Model เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ในรายวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในครั้งนี้ มีวิธีการดำเนินการให้บรรลุผลดังนี้

2.1 ร่วมศึกษาเอกสารแนวคิดหลักการ

2.1.1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และการแสวงหาแนวคิดและหลักการ

2.1.2 การศึกษาเอกสารงานวิจัยและประสบการณ์ของผู้เกี่ยวข้อง

2.2 วางแผนและกำหนดปฏิทินปฏิบัติสร้างนวัตกรรม

2.3 สร้างและพัฒนานวัตกรรม

ศึกษาถึงรายละเอียดของนวัตกรรมที่จะสร้างและดำเนินการตามขั้นตอน เช่น การสร้างนวัตกรรมโดยดำเนินการสร้างตามขั้นตอนต่อไปนี้

2.3.1 ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทพอุดมวิทยา

2.3.2 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับการใช้แบบฝึกทักษะเพื่อการเรียนรู้

2.3.3 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและคุณลักษณะผู้เรียน

(1) ศึกษาข้อมูลด้านการศึกษาของผู้เรียน

(2) ศึกษาคุณลักษณะด้านเศรษฐกิจ ครอบครัว สุขภาพ และสภาพความเป็นอยู่ของผู้เรียน

(3) ศึกษาสำรวจความพร้อม ความสามารถในการเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยีรวมถึงรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งในกรณีการสอนแบบปกติ และ กรณีมีเหตุจำเป็นในการจัดการเรียนสอนแบบออนไลน์

2.3.4 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงบริบทของโรงเรียนเทพอุดมวิทยาผ่านกระบวนการ PLC

2.6 นำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือการพัฒนาการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเปิดชั้นเรียน (Lesson Study) จำนวน 3 วงรอบ โดยบันทึกผลการเรียนรู้ ที่เกิดขึ้น และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนทราบเป็นระยะ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์เนื้อหาใด ให้ปรับปรุงแก้ไข และทำการทดสอบใหม่ จนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

2.7 ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน

2.8 วิเคราะห์และสะท้อนผลประสิทธิภาพของนวัตกรรม

2.9 วิเคราะห์และสะท้อนผลความพึงพอใจของผู้เรียน


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

3.1.1 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยการพัฒนากระบวนการเรียนการ

สอน โดยใช้รูปแบบการสอน IDPRS Model ในรายวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 60 มีผลทางการเรียนระดับดีขึ้นไป

3.2 เชิงคุณภาพ

3.2.1 ผู้เรียนร้อยละ 70 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอน

IDPRS Model ในรายวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในระดับ ดี ขึ้นไป


เปิดชั้นเรียนวงรอบที่ 1/2565

คลิกชมวีดีโอ

youtu.be/FZOI7xYyiF0

เปิดชั้นเรียนวงรอบที่ 2/2565

คลิกชมวีดีโอ

youtu.be/zhYI4KUToyk วีดีโอ

เปิดชั้นเรียนวงรอบที่ 3/2565

คลิกชมวีดีโอ

youtu.be/WI2ot9ZqQjs