1.ด้านการจัดการเรียนรุู้


ข้าพเจ้าปฎิบัติและนำเสนองานครอบคลุมถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างและ การพัฒนาหลักสูตร ออกแบบการจัดการเรียนรู้ พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ การวัด และการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ การศึกษา การวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหา หรือพ้ฒนาการ เรียนรู้ การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียน และการอบรมพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน

1.1 สร้างและพัฒนาหลักสูตร

ดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตร สถานศึกษาโรงเรียนเทพอุดมวิทยา พุทธศักราช 2553 ฉบับปรับปรุง2560 จัดทำคำอธิบายรายวิชา ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 วิเคราะห์ตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลาง และดำเนินการจัดทำหน่วยการ เรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรกับสถานศึกษา

หลักสูตรสาระวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเทพอุดมวิทยา

หลักสูตรท้องถิ่น

โรงเรียนเทพอุดมวิทยา

ฟิสิกส์ 1

ฟิสิกส์ 3

ฟิสิกส์ 5

แรงและการเคลื่อนที่

พลังงานและคลื่น

วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ

1.2 ออกแบบการจัดการเรียนรู้


ข้าพเจ้าดำเนินการจัดทำและพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ เหมาะสมกับผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญ ตาม หลักสูตรโดยมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมี กระบวนการคิดและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง และสร้างแรงบันดาลใจ ตามภาระงานสอนที่ได้รับมอบหมาย โดยออกแบบการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6


1. ขั้น I: Inspiration

I: Inspiration คือ ขั้นสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ ทบทวนความรู้เดิมด้วย เกม นำเสนอชิ้นงานเดิม คลิปวีดิโอ ข้อสอบ หรือ เชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่โดยใช้ ปรากฎการณ์/ข่าว/บทความ อาจจะใช้คำถามเพื่อการเรียนรู้ (Question to learn) ว่า “อะไรจะเกิดขึ้นถ้า.... มีปรากฏการณ์อะไรเกิดขึ้นที่น่าสนใจ?” เราเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นอย่างไร เป็นต้น

2. ขั้น D : Define

2. ขั้น D: Define คือ ขั้นวิเคราะห์สถานการณ์ ครูผู้สอนกำหนดสถานการณ์/เรื่องราว ใช้ตัวอย่างใช้คำถามเพื่อการเรียนรู้ (Question to learn) ชวนสังเกต สำรวจ นักเรียนเห็นอะไร? แล้วใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิด เช่น อะไรคือสาเหตุของปัญหา ปัญหาใดสำคัญที่สุด ปัญหาใดแก้ไขได้ เป็นต้น

3. ขั้น P : Practice

3. ขั้น P: Practice คือ ขั้นฝึกฝน ครูผู้สอนใช้คำถามเพื่อการเรียนรู้ เช่น ผลเป็นอย่างไร หลักฐาน คืออะไร จะนำผลไปปรับปรุงอย่างไร มีปัญหาอะไรเพิ่มเติมขึ้นบ้าง เลือกที่แก้ปัญหานั้นอย่างไร จะเลือกแก้ปัญหาใดก่อน เป็นต้น

4. ขั้น R :Result

4. ขั้น R: Result คือ ขั้นผลลัพธ์จากการเรียนรู้ ครูผู้สอนใช้คำถามเพื่อการเรียนรู้ เช่น การแก้ปัญหาเป็นไปตามที่วางแผน ไว้หรือไม่ วิธีการแก้มีจุดเด่น จุดด้อยอย่างไร จะปรับปรุงอย่างไร สิ่งใดที่นักเรียนควรเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม เป็นต้น

5. ขั้น S: Share

ขั้น S: Share คือ ขั้นเผยแพร่ผลงาน ครูผู้สอนใช้คำถามเพื่อการเรียนรู้ เช่น จะนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาอย่างไรให้คนอื่นเข้าใจ ชิ้นงานมีคุณค่าต่อสังคมและผู้อื่นอย่างไร วิธีการแก้ปัญหาสามารถนำไปทำซ้ำได้หรือไม่ ข้อเสนอแนะในการทำงานต่อไปมีอะไรบ้าง นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง นักเรียนมีปัญหาในการเรียนรู้ในครั้งนี้อย่างไร นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม นักเรียนจะนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้กับเรื่องใดในชีวิตประจำวันได้บ้าง เป็นต้น

1.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้

ข้าพเจ้ามีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนด้วยวิธีการปฏิบัติและมีความหลากหลาย สอดคล้องกับสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้ มีการอำนวยความสะดวกในการ เรียนรู้ และ ส่งเสริมผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ เรียนรู้และทำงาน ร่วมกัน โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ สามารถแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิดและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเองและ สร้างแรงบันดาลใจ โดยนำเทคโนโลยี สื่อ นวัตกรรม มีการออกแบบสื่อการเรียนรู้เช่น Power point , google site ,Google Classroom มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ วัดผลประเมินผล

1.4 สร้างและพัฒนา สื่อ นวตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้

ข้าพเจ้าได้สร้างสื่อ นวัตกรรมการสอน มีการออกแบบสื่อการเรียนรู้ เช่น

  • Google site

  • สื่อการเรียนผ่านเว็ปไซต์ Obec Content Center ของ กระทรวงศึกษาธิการ

  • สร้างสื่อการสอน ผ่านเว็บไซต์ Wordwall

  • PowerPoint

  • สร้างสื่อการสอน ผ่านเว็บไซต์ mentimete

mentimeter

powerpoint



ผลการปฏิบัติเป็นเลิศ Best Practices (สร้างและพัฒนาสื่อเทคโนโลยี Obec Content Center) ระดับเขตพื้นที่

Smart Teacher 2/2564

Smart Teacher 1/2564

รางวัลระดับเหรียญทอง การนำเสนอผลงานสื่อ/นวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Best Practice (วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ)

1.5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้


วัดและประเมินผล ตามสถาพจริง และเก็บผลการเรียนรู้ ก่อนเรียนและหลังเรียน และครอบคลุมทั้ง ด้านพุทธิพิสัยหรือด้านความรู้ (K) ด้านทักษะพิสัยหรือด้านทักษะ (P) และด้านเจตพิสัยหรือด้านเจตคติ (A) โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน , แบบทดสอบหลังเรียน , แบบประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม และแบบประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สอดคล้องกับสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ พป.

ปพ.5 ออนไลน์

1.6 ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้

ศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การประยุกต์ใช้สื่อการสอน Obec Content Center พัฒนาทักษะการคิดของ นักเรียนผ่านกระบวนการสอนแบบเชิงรุก (Active learning) โดยกระบวนการสอน แบบ QSCCS Model ในรายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2565 และนำความรู้ที่ได้ มาวางแผน เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียน

Best Practices (สร้างและพัฒนาสื่อเทคโนโลยี Obec Content Center)

Smart Teacher 2/2564

Smart Teacher 1/2565

รางวัลระดับเหรียญทอง การนำเสนอผลงานสื่อ/นวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Best Practice (วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ)

1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน

ริเริ่ม คิดค้น และพัฒนาการจัดบรรยากาศที่เหมาะสม สอดคล้องกับความแตกต่างผู้เรียนเป็นรายบุคคลสามารถแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิตทักษะการทำงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน

ส่งเสริมผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ร่วม ประกวดแข่งขันกิจกรรม “ตอบปัญหาวิทยาศาสตร์ สัปดาห์วิทยาศาสตร์ และมหกรรสิรินธร” ปีการศึกษา 2565 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย

เป็นครูฝึกสอนนักเรียน ได้รับรางวัลการแข่งขันตอบปัญหาวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565

นักเรียนได้รับรางวัลการแข่งขันตอบปัญหาวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565

นักเรียนและครูร่วมกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565

ส่งเสริมผู้เรียนพัฒนาให้เกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิตทักษะการทำงาน

ได้เข้าร่วมโครงการทักษาทางอาชีพ เสริมประสบการณ์ สร้างรายได้ระหว่างเรียน

ประจำปีงบประมาณ 2565

พานักเรียนได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ รู้จักตนเอง รู้จักปัญหา

ส่งเสริมและจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน

จัดตกแต่งห้องให้น่าเรียน สะอาด อยู่เสมอ

1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผุู้เรียน

ปลูกฝังค่านิยม และคุณลักษณะที่ดี เหมาะสมกับผู้เรียนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความ แตกต่างของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และสามารถแก้ไขปัญหาผู้เรียนได้ เพื่อให้ผู้เรียนมีค่านิยมที่ดีงาม และ ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตลอดจน การส่งเสริมและเป็นแบบอย่าง ให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนาที่ตนนับถือ

พานักเรียนที่่ผมยาว มาตัดที่ร้าน

ร่วมกิจกรรมลูกเสือ ที่แสดงถึงความจงรักภักดี ความมีระเบียบวินัย

ร่วมกิจกรรมที่แสดงถึงการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี ที่ดีงาม