นวัตกรรมการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

1. ชื่อนวัตกรรม การบริหารจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ FORLANG Decentralised Management Model

2. ผู้รับผิดชอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

3. ประเภทของนวัตกรรม ด้านการบริหารจัดการ

4. ที่มาและความสำคัญของนวัตกรรม

             จากวิสัยทัศน์ของโรงเรียนทวีธาภิเศก ปีการศึกษา2565 คือ “สถานศึกษาชั้นนำ” (School of Leading) และพันธกิจของโรงเรียนข้อที่ 9 คือการพัฒนาขีดความสามารถและนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการตลอดจนมีทักษะและสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 สู่วิสัยทัศน์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในปีการศึกษา 2565 ที่ว่า “พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ด้วยสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ส่งสริมกระบวนการคิดทักษะในการติดต่อสื่อสารกับนานาประเทศ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และสร้างสรรค์ประยุกต์สู่นวัตกรรมให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายในการเรียนรู้ภาษาซึ่งกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีกลุ่มภาษาและโครงการห้องเรียนพิเศษที่ดำเนินการอยู่ 3 ส่วน คือ กลุ่มภาษาอังกฤษกลุ่มภาษาต่างประเทศที่ 2 และ โครงการห้องเรียนพิเศษ Mini English Programme ที่มีบริบททางการบริหารจัดการเรียนรู้และพันธกิจที่มีความจำเพาะ เพื่อให้มีความคล่องตัวในการดำเนินการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจึงได้วิเคราะห์และพัฒนานวัตกรรมในการบริหารจัดการกลุ่มสาระการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนคือ การบริหารจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ FORLANG Decentralised Management Model ที่มุ่งพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคคลากรในการบริหารการจัดกิจกรรมของกลุ่มสาระการเรียนรู้และหลักการบริหารแบบ Decentralisation ภายใต้การร่วมมือกันกำกับดูแลและส่งเสริมให้ครูและบุคลากรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างผู้เรียนที่มีความเป็นพลโลก (Education for global citizenship) และ 4 เสาหลักในการจัดการศึกษา (4 Pillars of education) ขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) รวมถึงส่งเสริมนักเรียนให้สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารและแสวงหาความรู้เพื่อนำมาสร้างและต่อยอดนวัตกรรมตลอดจนเผยแพร่ผลงานไปสู่สังคมและสากลโดยใช้ความรู้และทักษะทางภาษาต่างประเทศและมีความรู้ทางพหุวัฒนธรรม (Multiculturalism) มีจิตสำนึกยอมรับความแตกต่างบนความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม

5. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

5.1 วัตถุประสงค์

1. ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาต่างประเทศ

เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความเป็นพลโลกและพหุวัฒนธรรมและครูผู้สอนสามารถสร้างนวัตกรรมทางการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ

2. นักเรียนมีความรู้และทักษะทางภาษาต่างประเทศมีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความเป็นพลโลกและพหุวัฒนธรรม 

สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารแสวงหาความรู้เพื่อนำมาสร้างหรือต่อยอดนวัตกรรมตลอดจนเผยแพร่ผลงาน  ไปสู่สังคมและสากล

5.2 เป้าหมาย

เชิงปริมาณ

1. ครูผู้สอนร้อยละ 80 สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21  มีความเป็นพลโลก

และพหุวัฒนธรรม ตลอดจนสร้างนวัตกรรมทางการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ

2. นักเรียนร้อยละ 80 สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารแสวงหาความรู้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 

มีความเป็นพลโลกและพหุวัฒนธรรม สามารถสร้างหรือต่อยอดนวัตกรรมตลอดจนเผยแพร่ผลงานไปสู่สังคมโดยใช้

ภาษาต่างประเทศ

              3. นักเรียนอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 คน สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสร้างและต่อยอดนวัตกรรม

ตลอดจนเผยแพร่ผลงานไปสู่สากล

เชิงคุณภาพ

1. ครูผู้สอนร้อยละ 80 มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21  

มีความเป็นพลโลกและพหุวัฒนธรรม ตลอดจนสร้างนวัตกรรมทางการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ

2. นักเรียนร้อยละ 80 มีความรู้และทักษะทางภาษาต่างประเทศมีทักษะในศตวรรษที่ 21  มีความเป็นพลโลก

และพหุวัฒนธรรม สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารแสวงหาความรู้เพื่อนำมาสร้างหรือต่อยอดนวัตกรรมตลอดจนเผยแพร่ผลงานไปสู่สังคมโดยใช้ภาษาต่างประเทศ     

3. นักเรียนได้รางวัลในการแข่งขันทักษะทางภาษาต่างประเทศในระดับการแข่งขันต่าง ๆ  อาทิ ระดับเขต 

ระดับจังหวัด ในระดับเหรียญทองแดงขึ้นไป

4. นักเรียนอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 คน มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศในการสร้างและต่อยอด

นวัตกรรมตลอดจนเผยแพร่ผลงานไปสู่สากล

6. ขั้นตอนการดำเนินงาน

6.1 การพัฒนานวัตกรรม

1) ศึกษาวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียนทวีธาภิเศก

2) วางแผนจัดทำนวัตกรรมกลุ่มสาระฯ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของกลุ่มสาระฯและของโรงเรียน

3) สร้างและทดลองใช้ต้นแบบนวัตกรรม การบริหารจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศแบบ

FORLANG Decentralised Management Model ดังขั้นตอนต่อไปนี้

3.1 ขั้นกระตุ้น ส่งเสริม

ประชุมพัฒนา ส่งเสริม กระตุ้นคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในกลุ่มสาระฯ โดยมุ่งเน้น

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดแก้ปัญหา การคิด อย่างมีวิจารณญาณ และทักษะ

แห่งศตวรรษที่ 21 ในด้านการใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร การนำเสนอ และการออกแบบ เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน

3.2 ขั้นกระบวนการสร้างและทดลองใช้นวัตกรรมและการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ 

FORLANG Decentralised Management Model ตามวงจร PDCA ดังนี้

3.2.1 ขั้นวางแผน (Plan)

- ประชุมกลุ่มสาระฯ เพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning 

ตามหลักการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างผู้เรียน

ที่มีความเป็นพลโลก (Education for global citizenship) และ 4 เสาหลัก ในการจัดการศึกษา 

(4 Pillars of education)

- มอบหมายครูในกลุ่มสาระฯ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning ตามหลัก

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างผู้เรียนที่มีความเป็นพลโลก (Education for global citizenship) และ 4 เสาหลักในการจัดการศึกษา (4 Pillars of education)

- หัวหน้ากลุ่มสาระฯ ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำ

3.2.2 ขั้นปฏิบัติ (Do)

- ครูในกลุ่มสาระฯ จัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning ตามหลักการจัดการเรียนรู้

ในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างผู้เรียนที่มีความเป็นพลโลก

(Education for global citizenship) และ 4 เสาหลักในการจัดการศึกษา (4 Pillars 

of education)

3.2.3 ขั้นตรวจสอบ (Check)

- ครูประเมินการจัดการเรียนรู้จากแบบประเมินและแบบวัดทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ 

ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และองค์ประกอบของพลโลก 10 ประการ

- ประเมินจากแบบฝึกประสบการณ์การเรียนรู้

- ประเมินจากแบบทดสอบ

- การนิเทศการจัดการเรียนรู้จากหัวหน้ากลุ่มสาระฯ และคณะผู้บริหาร

3.2.4 ขั้นดำเนินงานให้เหมาะสม (Act)

- การเขียนบันทึกหลังสอน เพื่อสะท้อนการจัดการเรียนรู้

- ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดผลลัพธ์และตอบสนองการเรียนรู้

ของนักเรียนมากที่สุด

- หัวหน้ากลุ่มสาระฯ ให้แนวคิด กำลังใจ และข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนานักเรียนในลำดับต่อไป

3.3 เผยแพร่นวัตกรรม การบริหารการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ FORLANG Decentralised 

Management Model ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Active Learning โดยเผยแพร่ขึ้น E-portfolio ส่วนตัวของครูทุกคนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 

6.2 การใช้นวัตกรรม

   การใช้นวัตกรรม การบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ FORLANG Decentralised Management Model

ขั้นปฏิบัติ (Do)

- ครูในกลุ่มสาระฯ จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในทักษะ

ด้านภาษาต่างประเทศ ทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความเป็นพลโลก ความเป็นพหุวัฒนธรรมและ มีจิตสำนึกยอมรับความแตกต่างบนความหลากหลายทางภาษา และวัฒนธรรมสามารถนำความรู้ไปสร้างหรือต่อยอดวัตกรรม ตลอดจนใช้ภาษาต่างประเทศในการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานไปสู่สังคมและสากลได้ โดยมีแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ตามแนวทาง 4 เสาหลักในการจัดการศึกษา (4 Pillars of education) ดังนี้

ขั้นตรวจสอบ (Check)

- ประเมินการจัดการเรียนรู้จากแบบประเมินและแบบวัดทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ทักษะผู้เรียน

ในศตวรรษที่ 21 และองค์ประกอบของพลโลก 10 ประการ

- ประเมินจากแบบฝึกประสบการณ์การเรียนรู้

- ประเมินจากแบบทดสอบ

- การนิเทศการสอนจากหัวหน้ากลุ่มสาระฯ

ขั้นดำเนินงานให้เหมาะสม (Act)

- การเขียนบันทึกหลังการสอนเพื่อสะท้อนการจัดการเรียนรู้

- ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดผลลัพธ์และตอบสนองการเรียนรู้ของนักเรียนมากที่สุด

- หัวหน้ากลุ่มสาระฯ ให้กำลังใจและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนานักเรียนในลำดับต่อไป

6.3 การประเมินผลนวัตกรรม

การประเมินผลการใช้นวัตกรรม การบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ FORLANG Decentralised 

Management Model จากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ดังนี้

7. ผลการดําเนินงาน / ประโยชน์ที่ได้รับ

7.1 ครูผู้สอนร้อยละ 90 สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21  ความเป็นพลโลก

และพหุวัฒนธรรม

7.2 ครูมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่มสาระฯ ที่มีความหลากหลายทางบริบททางภาษาและพันธกิจของกิจกรรมและโครงการ ตอดจนสามารถจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7.3 นักเรียน ร้อยละ 80 มีทักษะทางภาษาต่างประเทศ ตลอดจนทักษะในศตวรรษที่ 21  มีความเป็นพลโลก

และพหุวัฒนธรรม

- ผลการแข่งขันทักษาะทางวิชาการภาษาต่างประเทศ งานศิลปหัตถกรรม ปีการศึกษา 2565

- ผลการแข่งขัน RSU Academic Competition 2023

- การนำนักเรียนร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการยุวมัคคุเทศก์เขตบางกอกใหญ่ภาคภาษาอังกฤษ 

(Little Guides)

- การนำนักเรียนร่วมการสัมมนา Virtual Exchange กับ Hyogo Prefecture Board of Education 

ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษากับจังหวัดเฮียวโกะ ประเทศญี่ปุ่น

- MEP Projects presentation

7.4 นักเรียนร้อยละ 80 สามารถสร้างหรือต่อยอดนวัตกรรมตลอดจนสามารถใช้ภาษาต่างประเทศ

ในการเผยแพร่ผลงานไปสู่สังคม

7.5 ครูผู้สอนร้อยละ 100 สามารถสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ได้แก่

- งานวิจัยในชั้นเรียน

- แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Active Learning ที่ส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ความเป็นพลโลก

และพหุวัฒนธรรม

- นวัตกรรมจากกระบวนการ PLC

8. การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ

8.1 รางวัลชนะเลิศ (ระดับประเทศ) การแข่งขัน Oral Presentation Contest รายการ RSU Academic Competition 2023 จัดโดยมหาวิทยาลัยรังสิต

นักเรียนผู้เข้าแข่งขัน นายพิตตินนท์ วัฒนพันธ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2

8.2 รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 (ระดับประเทศ) การแข่งขัน Creative Writing Contest ประเภทบุคคลทั่วไป รายการ RSU Academic Competition 2023 จัดโดยมหาวิทยาลัยรังสิต

       นักเรียนผู้เข้าแข่งขัน นายบัญญพนต์ ด้วงนุ่ม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3

8.3 รางวัลการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รวม 8 เหรียญ ได้แก่

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ระดับเหรียญทอง 1     รางวัล

รางวัลระดับเหรียญทอง                             2    รางวัล

รางวัลระดับเหรียญเงิน                            4     รางวัล

รางวัลระดับเหรียญทอแดง                         1    รางวัล

8.4 รางวัล Merit award ระดับเหรียญทอง (83.33/100 คะแนน) การแข่งขันคลิปวีดีโอเล่านิทานภาษาญี่ปุ่น จัดโดยศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น โรงเรียนวัดราชโอรส

8.5 รางวัล Merit award ระดับเหรียญเงิน (76.67/100 คะแนน) การแข่งขันคลิปวีดีโอเล่าข่าวภาษาญี่ปุ่น จัดโดยศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น โรงเรียนวัดราชโอรส

       8.6 รางวัลชนะเลิศ (ระดับประเทศ) แข่งกัน Speech Contest การแข่งขันทักษะทางวิชาการภาษาอังกฤษ

โครงการ 1st English Day of the HCU 30th Anniversary Cerebration จัดโดยคณะศิลปศาสตร์ 

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

นักเรียนผู้เข้าแข่งขัน นายพิตตินนท์ วัฒนพันธ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2

8.7 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 (ระดับประเทศ) แข่งกัน Write It Right การแข่งขันทักษะ ทางวิชาการภาษาอังกฤษโครงการ 1st English Day of the HCU 30th Anniversary Cerebration จัดโดยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

นักเรียนผู้เข้าแข่งขัน นายรักษกร  ธนารักษ์เจริญกุล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/10

9. ข้อเสนอแนะ / แนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

บริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ รูปแบบ FORLANG Decentralised Management Model 

โดยการผสมผสานบูรณาการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Active Learning ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบอื่นหรือเทคนิคอื่น   เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในการนํามาพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

10. บรรณานุกรม

ทิศนา แขมมณี. (2565). ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา. (ระบบออนไลน์)/สืบค้นเมื่อ /26 มีนาคม 2565./

จาก http://innovationforeducation.weebly.com/Lukpla Boonyacharoenkul. (2565). 

กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษามี 5 ขั้นตอน. (ระบบออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2565.

จาก http://innovationforeducation.weebly.com/

ณธรา  เหมือนปิ๋ว. (2561). การพัฒนาพลเมืองไทยให้มีความเป็นพลโลกในประเทศไทยยุค 4.0.

วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 46 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-นยายน 2561)

หน้า 86-99.

Augutine Indre., et al., (2016) The views towards educating young people as global

citizens in Lithuania,Bulgaria, Cyprus and Spain: The Picture of a Future Global Citizen  p.9,

Globalab. (project No. 2015-1-LT02-KA205-004096)

Nasser Ilham. (2022). Four Pillars of Education. Retrieved 4 January 2023.

From https://iiit.org/blog/four-pillars-of-education/

Techsauce Team. (2021). Centralization vs Decentralization ยามวิกฤตที่องค์กรต้องเลือก

เดินให้ถูกทาง. ค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 จาก https://techsauce.co/

saucy-thoughts/centralization-vs-decentralization-crisis-management

ผลงานนักเรียนที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม 

การแข่งขัน RSU English Language Academic Contest 2023 

จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม 

การแข่งขันศิลปะหัตกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 

ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565

กิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

TP International Day 2022

Christmas Day 2022

Chinese Day 2023

กิจกรรมเปิดโลกภาษาญี่ปุ่นกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 

บพิตรพิมุขจักรวรรดิ

FOREIGN LANGUAGE LEARNING ACTIVITIES

นวัตกรรมการบริหารกลุ่มสาระการเรียนรู้

FORLANG Decentralised Management Model

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

นิยามศัพท์ (Terminology)

1) Education for Global Citizenship การศึกษาเพื่อสร้างพลโลกที่มีคุณภาพ เป็นแนวคิดในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าไปเรียนรู้ มีส่วนร่วม และเชื่อมโยงตัวเองกับประเด็นโลกในมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา สามารถปรับประยุกต์ให้เข้ากับบริบทต่าง ๆ ในที่นี้ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศได้ปรับประยุกต์มาใช้เป็นแกนกลางสำคัญในการบริหารจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระฯ คือ

1.  Foreign languages for Language Learning (FL) ภาษาต่างประเทศเพื่อการเรียนรู้ภาษา

2.  Foreign Language for Self-Awareness (FSA) ภาษาต่างประเทศเพื่อความตระหนักรู้ตนเอง

3.  Foreign Languages for Valuing Differences (FVD) ภาษาต่างประเทศเพื่อการรู้คุณค่าของความแตกต่าง

4.  Foreign Languages for Multicultural Understanding (FMU) ภาษาต่างประเทศเพื่อความเป็นพหุวัฒนธรรม

5.  Foreign Languages for Communication (FC2) ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร

6.  Foreign Languages for Curiosity (FC1) ภาษาต่างประเทศเพื่อส่งเสริมความกระหายใคร่รู้

7. Foreign Languages for Critical Thinking (FCT) ภาษาต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์

8. Foreign Languages for Flexibility (FF) ภาษาต่างประเทศเพื่อการปรับตัวเข้ากับสังคม

9. Foreign languages for Empathy (FE) ภาษาต่างประเทศเพื่อความเข้าใจผู้อื่นในกระบวนทัศน์ที่แตกต่าง

10. Foreign Languages for Global Connection (FGC) ภาษาต่างประเทศเพื่อการเชื่อมต่อกับสังคมโลก

2) 4 Pillars of Education หรือ 4 เสาหลักในการจัดการศึกษา (4 Pillars of education) ขององค์การ

เพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) ประกอบด้วยการเรียนรู้ 4 ลักษณะ ได้แก่

Learning to Know (การจัดการเรียนรู้สร้างองค์ความรู้) หมายถึง การศึกษาที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้การแสวงหาความรู้และวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต กระบวนการเรียนรู้เน้นการฝึกสติ สมาธิ ความจ า ความคิด ผสมผสานกับสภาพจริงและประสบการณ์ในการปฏิบัติ

Learning to Do (การจัดการเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง) หมายถึง การศึกษาที่มุ่งพัฒนาความสามารถและความ ชำนาญรวมทั้งสมรรถนะทางด้านวิชาชีพ สามารถปฏิบัติงานเป็นหมู่คณะ ปรับประยุกต์องค์ความรู้ ไปสู่การปฏิบัติงาน

และอาชีพได้อย่างเหมาะสม กระบวนการเรียนการสอนบูรณาการระหว่างความรู้ ภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติงาน

ที่เน้นประสบการณ์ต่าง ๆ ทางสังคม

Learning to Live Together (การจัดการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม) หมายถึง การศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข มีความตระหนักในการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันการแก้ปัญหาการจัดการความขัดแย้ง

ด้วยสันติวิธีมีความเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เข้าใจความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี 

ความเชื่อ ของแต่ละบุคคลในสังคม

Learning to Be (การจัดการเรียนรู้เพื่อชีวิต) หมายถึง การศึกษาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกด้านทั้งจิตใจและร่างกาย สติปัญญา ให้ความสำคัญกับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ภาษา และวัฒนธรรมเพื่อพัฒนา ความเป็นมนุษย์

ที่สมบูรณ์ มีความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อม ศีลธรรม สามารถปรับตัวและปรับปรุงบุคลิกภาพของตน เข้าใจตนเองและผู้อื่น  

3) การบริหารจัดการแนวใหม่ (New Management) ประกอบด้วย Efficiency (ประสิทธิภาพ) หมายถึง 

ในการทำงานต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด เกิดผลิตภาพที่คุ้มค่าต่อการดำเนินงานและบังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม ทั้งนี้ ต้องมีการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงานเพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระค่าใช้จ่าย ตลอดจนยกเลิกภารกิจที่ล้าสมัยและไม่มีความจำเป็น

Effectiveness (ประสิทธิผล) หมายถึง ในการปฏิบัติงานต้องมีวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ มีการวางเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและอยู่ในระดับที่ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้รับบริการ สร้างกระบวนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน มีการจัดการ ความเสี่ยงและมุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศ รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Responsiveness (การตอบสนอง) หมายถึง ในการปฏิบัติงานต้องสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ 

สามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด สร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจรวมถึงตอบสนองตามความคาดหวัง/ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม