บทที่2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำโครงงานน้ำยาถูพื้นจากตะไคร้และมะกรูดนี้ ผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารจากเว็บไซต์ต่างๆที่เกี่ยวข้องดังนี้

1 ความหมายของน้ำยาถูพื้น

2พืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาด

3พืชสมุนไพรที่ไม่ทำอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

4ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำน้ำยาถุพื้นจากตะไคร้และมะกรูด

1.ความหมายของน้ำยาถูพื้น

น้ำยาทำความสะอาดพื้น เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยมีผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดหลายยี่ห้อให้เลือกซื้อ ส่วนประกอบสำคัญซึ่งมีบทบาทในการชำระล้างคราบมันสกปรกคือสารลดแรงตึงผิว (surfactant) นอกจากนี้ยังมีการเติมสารอื่น ๆ และสารปรุงแต่ง ได้แก่ สารขจัดคราบ สารให้กลิ่นหอม และ สี เป็นต้น เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพดีและน่าใช้มากยิ่งขึ้น

2.พืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาด

2.1ตะไคร้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cymbopogon citratus); ชื่อท้องถิ่น: จะไคร (ภาคเหนือ), หัวซิงไค (ภาคอีสาน), ไคร (ภาคใต้), คาหอม (แม่ฮ่องสอน), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย

2.2มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี)

3พืชสมุนไพรที่ไม่ทำอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

3.1ตะไคร้ เป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียเขตร้อน มีลักษณะคล้ายหญ้าและมีใบสูงยาวส่งกลิ่นเฉพาะตัว นอกจากนำมาใช้ประกอบอาหาร ปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร และทำเครื่องดื่มแล้ว ตะไคร้ยังถูกนำไปใช้ในหลากสาขา เช่น อุตสาหกรรมสบู่ เครื่องสำอาง การบำบัดด้วยกลิ่น หรือการสกัดเป็นยารักษา โดยมีความเชื่อว่าสารเคมีในตะไคร้ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อาจสามารถช่วยป้องกันการเติบโตของแบคทีเรียกับยีสต์ได้ ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดและลดไข้ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในระหว่างมีประจำเดือน และเป็นส่วนผสมในสารที่ช่วยไล่ยุงได้ เป็นต้น

การปลูกและขยายพันธุ์

ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วิธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก ถ้าปลูกในกระถางใช้วิธีปักโคนลงในกระถาง ๆ ละ 2-3 ต้นก็ได้ แล้วหมั่นรดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้เร็ว ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำเสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด เวลาจะใช้ก็ให้ตัดที่โคนสุดส่วนรากเลย แล้วถอนออกมาทั้งต้นตามต้องการ ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้างหรือเอาไปใช้บ้าง จะนำมาหั่นเป็นฝอย ๆ ตากลมไว้ให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นาน ๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อย ๆ และบางที่ก็แคระแกร็น ต้นและกอก็จะโทรม ต้องล้างและปลูกใหม่ทั้งหมดเปลี่ยนเป็นการแตกหน่อทำให้การปลูกและการขยายพันธ์ได้ง่าย

ประโยชน์

ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามาก ๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่น ๆ จะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมาก ๆ

สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ และมีกลิ่นฉุนสามารถไล่แมลงได้

หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้

ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย

ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรค

3.2มะกรูด เป็นผลไม้ที่มากไปด้วยคุณประโยชน์ นอกจากจะมีรสชาติอร่อย สามารถทานสดๆ หรือนำมาทำอาหารได้แล้ว มะกรูดก็สามารถนำมาใช้ในการบำรุงความงาม รักษาโรคและปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านได้อีกด้วย ซึ่งก็ได้รับความนิยมมาตั้งแต่โบราณกันเลยทีเดียว โดยต้นมะกรูดจะมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบสีเขียวแก่เป็นมัน ค่อนข้างหนาและมีกลิ่นหอม ส่วนผลจะมีสีเขียวคล้ายมะนาวแต่ผิวเปลือกนอกขรุขระ ซึ่งก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน สำหรับสรรพคุณและการนำมาใช้ประโยชน์ก็มีดังนี้

การนำส่วนต่างๆ ของมะกรูดมาใช้ประโยชน์

ส่วนต่างๆ ของต้นมะกรูดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่รากจนถึงผล โดยมีวิธีการนำมาใช้ คือ

ราก รากมะกรูดนิยมนำมาใช้ต้มน้ำดื่มเพื่อบรรเทาอาการไข้ ลดอาการเสมหะเป็นพิษและบรรเทาอาการแน่นท้องจุกเสียด แก้พิษฝีภายใน

ใบมะกรูด ใบมะกรูดอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนและสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย จึงนิยมนำมาทานเพื่อแก้อาการช้ำใน บรรเทาอาการไอและป้องกันการเกิดมะเร็ง รวมถึงช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยมะเร็งอีกด้วย

ผิวมะกรูด ผิวของผลมะกรูดที่ขรุขระสามารถนำมาใช้เป็นยาแก้อาการนอนไม่หลับ บำรุงหัวใจให้แข็งแรง ขับพิษ ขับลมและแก้อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะได้

ผลมะกรูด ผลของมะกรูด นิยมนำมาทานเพื่อแก้ไอ ขับเสมหะ บรรเทาอาการปวดท้อง ฟอกโลหิต ขับระดูและช่วยขับลมในลำไส้ได้ดี

ประโยชน์และสรรพคุณของมะกรูด

มะกรูดมีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย โดยเฉพาะการนำมาทำอาหาร และด้วยรสชาติเปรี้ยวกลมกล่อมจึงสามารถใช้แทนมะนาวได้ดี แถมมีกลิ่นหอมสดชื่นที่จะทำให้เกิดอาการผ่อนคลายอีกด้วย โดยประโยชน์ขอมะกรูดก็มีดังนี้

1.ผ่อนคลายความเครียด

มะกรูดมีกลิ่นหอมซึ่งจะช่วยสร้างความผ่อนคลายได้ดี โดยเฉพาะน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด แต่ควรเลือกที่มีความเข้มข้นไม่เกิน 1% เพราะนั่นอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ หรือจะสูดดมจากผิวมะกรูดเลยก็ได้เหมือนกัน สำหรับใครที่มักจะมีเรื่องให้ต้องกังวลหรือเคร่งเครียดบ่อยๆ ลองสูดดมกลิ่นหอมของมะกรูดแล้วจะพบว่ามันช่วยได้มากจริงๆ

2.ไล่ยุง ไล่แมลง

กลิ่นของมะกรูด เป็นกลิ่นที่ยุงและแมลงส่วนใหญ่ไม่ชอบ จึงสามารถนำมาใช้เพื่อไล่ยุงและแมลงได้ โดยมีตัวอย่างการนำมาใช้ดังนี้

  • ไล่ยุง ให้นำเปลือกของมะกรูดมาตากจนแห้ง จากนั้นนำไปเผาไฟ กลิ่นของมะกรูดจะทำให้ยุงหนีไปและสามารถกำจัดลูกน้ำได้ดี
  • ไล่มอดและมดในข้าวสาร นำใบมะกรูดสดมาฉีกเป็น 2-3 ส่วนเพื่อให้มีกลิ่นออกมา จากนั้นนำไปใส่ไว้ในถังข้าวสาร
  • เมื่อปลิงกัด ให้นำมะกรูดมาถูบริเวณรอบๆ ที่ปลิงเกาะอยู่ กลิ่นของมะกรูดจะทำให้ปลิงหลุดออกไปในที่สุด

3.แก้อาการช้ำใน

ไม่ได้มีแต่ใบบัวบกเท่านั้นที่สามารถแก้อาการช้ำในได้ มะกรูดก็สามารถรักษาอาการช้ำในและฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงขึ้นได้เหมือนกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือด มะกรูดจะสามารถบรรเทาอาการให้ดีขึ้นภายในเวลาสั้นๆ

4.กำจัดกลิ่นเท้า

เมื่อต้องทำงานโดยใส่รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหนังที่มีความอับตลอดวัน มักจะทำให้เท้ามีกลิ่นเหม็นจนน่าปวดหัวได้ แต่ก็แก้ปัญหานี้ได้ไม่ยาก เพียงแค่นำมะกรูดมาฝานเป็นซีกๆ จากนั้นนำมาขัดถูให้ทั่วบริเวณเท้าและซอกเท้า เน้นบริเวณที่กลิ่นแรงมากเป็นพิเศษ สังเกตได้ว่ากลิ่นเหม็นจะค่อยๆ จางลงและหายไปในที่สุด แถมยังทำให้เท้ามีความขาวสะอาดมากขึ้นอีกด้วย

5.บำรุงเส้นผม

มะกรูดสามารถนำมาใช้ในการบำรุงเส้นผมให้นุ่มสลวยและเงางามมากขึ้น รวมถึงแก้ปัญหาผมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการนำมะกรูดมาใช้เพื่อบำรุงผมก็มีหลายสูตรด้วยกัน โดยเราจะขอแนะนำ 3 สูตรดังนี้

สูตรผมนุ่มลื่นสลวย

สูตรนี้จะช่วยให้เส้นผมมีความนุ่มลื่น และสามารถจัดทรงได้ง่ายกว่าเดิม แถมลดปัญหาเส้นผมพันกันได้ดีอีกด้วย โดยให้นำมะกรูดมาผ่าครึ่ง ต้มกับน้ำเล็กน้อย จากนั้นคั้นกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อให้ได้น้ำมะกรูดที่เข้มข้น นำน้ำมะกรูดที่คั้นได้มาชโลมให้ทั่วเส้นผมและหนังศีรษะ นวดเบาๆ จากนั้นล้างออกให้สะอาด ทำบ่อยๆ จะเห็นผลลัพธ์ที่โดนใจ

สูตรแชมพูมะกรูด

เป็นสูตรที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้แทนยาสระผม ซึ่งจะช่วยทำความสะอาดเส้นผมได้อย่างหมดจดและบำรุงผมอย่างล้ำลึก ให้ผมสวยได้ตลอดวัน สำหรับสูตรนี้จะใช้มะกรูดประมาณ 3-5 ผลและหญ้ามะกรูด 1 ถ้วย โดยเริ่มจากนำมะกรูดมาผ่าตามขวางเป็นสองซีก ล้างหญ้าปักกิ่งให้สะอาด จากนั้นนำมาใส่หม้อ ผสมกับน้ำซาวข้าวตั้งไฟประมาณ 20 นาที รอจนเย็นแล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองด้วยผ้าขาวบาง ส่วนผสมที่ได้สามารถนำมาใช้สระผมแทนแชมพูได้ทันที

สูตรขจัดรังแค

สูตรหมักผมนี้สำหรับคนที่เป็นรังแคโดยเฉพาะ โดยสูตรนี้จะนำมะกรูดมาเผาไฟจนมีน้ำซึมออกมาจากผิว จากนั้นนำมาผ่าครึ่งและบีบเอาน้ำมะกรูดออกมา นำน้ำมะกรูดที่ได้มาชโลมให้ทั่วศีรษะและเส้นผม หมักทิ้งไว้ประมาณ 15-30 นาทีแล้วล้างออกให้สะอาด ทำบ่อยๆ จะช่วยให้รังแคลดลงได้ดีและสามารถขจัดอาการคันบนหนังศีรษะได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย เพราะมะกรูดมีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียบนหนังศีรษะและทำความสะอาดหนังศีรษะได้เป็นอย่างดี นอกจากรังแคลดลงแล้ว อาการคันก็ยังลดลงตามและช่วยลดปัญหาความมันบนหนังศีรษะรวมถึงเส้นผมลงได้อีกด้วย

6.สูตรขัดผิวขาวด้วยมะกรูด

มะกรูดเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาปรนนิบัติผิวพรรณ ทำให้ผิวขาวกระจ่างใสได้อย่างเป็นธรรมชาติเช่นกัน วิธีทำ ให้นำมะกรูด 1 ลูกมาผ่าครึ่ง จากนั้นคั้นเอาแต่น้ำ มาผสมกับนมสด 1 ถ้วย ข้าวโอ๊ต 1 ถ้วย และน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี แล้วนำมาขัดลงบนผิวจนทั่ว เน้นจุดที่หยาบกร้านอย่างเช่น ข้อศอก หัวเข่าและข้อพับ เสร็จแล้วปล่อยไว้ประมาณ 15-20 นาที แล้วนำใยบวบชุบน้ำมาขัดผิวอีกครั้งจนทั่วอย่างเบามือ เพื่อกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวเก่าที่เสื่อมสภาพแล้วให้หลุดออกไปมากขึ้น จากนั้นล้างออกให้สะอาด ทำเป็นประจำ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งควบคู่กับการทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน ก็จะเผยให้เห็นถึงผิวพรรณที่ขาวกระจ่างใส ไร้ความหมองคล้ำอีกต่อไป แถมผิวสาวยังเนียนนุ่มชุ่มชื้นจนคุณสัมผัสได้อีกด้วย

7.แก้อาการปวดท้องในเด็ก

มะกรูดสามารถนำมาใช้แก้อาการปวดท้องในเด็กได้ โดยให้นำมะกรูดมาคว้านไส้กลางออกให้หมด จากนั้นใส่มหาหิงค์ลงไป ปิดจุดแล้วนำไปเผาจนไหม้เกรียม นำมะกรูดที่เผาแล้วมาบดให้เป็นผงละลายกับน้ำผึ้งให้เด็กดื่ม จะทำให้อาการปวดท้องทุเลาลงและหายไปในที่สุด

จะเห็นได้ว่ามะกรูดเต็มไปด้วยสรรพคุณที่มากไปด้วยประโยชน์จริงๆ และสามารถนำมาใช้ได้หลากหลายส่วนอีกด้วย นอกจากนี้การนำมะกรูดหรือใบมะกรูดมาประกอบอาหารก็ได้รับประโยชน์และสรรพคุณจากมะกรูดไม่น้อยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นอย่ามองข้ามมะกรูดเลยเชียว

4ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำน้ำยาถุพื้นจากตะไคร้และมะกรูด

4.1ได้น้ำยาถูพื้นที่มีประสิทธิภาพ

4.2สามารถลดค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้

4.3สามารถเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง