หน่วยการเรียนรู้ที่10

การบำรุงรักษารถยนต์ 

เนื้อหาสาระ

10.1 การบำรุงรักษาประจำวัน

10.1..1 การตรวจเช็กและการเติมน้ำมันเครื่อง

ดึงเหล็กวัดน้ำมันเครื่องออกมาเช็ดด้วยผ้าสะอาดแล้วใส่เหล็กวัดกลับเข้าไปใหม่ให้สุดดึงเหล็กวัดขึ้นมาตรวจดูระดับน้ำมัน  ซึ่งควรจะอยู่ในระดับช่วงขีดของเหล็กวัด  หากพบว่าระดับน้ำมันเครื่องต่ำกว่าขีดที่กำหนดแล้ว  ให้เปิดฝาเติมน้ำมันเครื่องซึ่งอยู่บนฝาครอบวาล์ว  แล้วเติมน้ำมันเครื่องเข้าไปเพื่อให้ระดับน้ำมันขึ้นถึงช่วงขีดที่กำหนด  ควรใช้เฉพาะน้ำมันที่กำหนดไว้เท่านั้น  ไม่ควรใช้น้ำมันที่แตกต่างจากที่กำหนดให้และควรหลีกเลี่ยงการใช้นำมันต่างยี่ห้อผสมรวมกัน  หลังจากเติมน้ำมันแล้วให้ปิดฝาเติมน้ำมันให้แน่น

       10.1.2 การตรวจเช็กระดับน้ำหล่อเย็น 

โดยทั่วไปถังพักน้ำหล่อเย็นจะติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์เย็นระดับน้ำหล่อเย็นในถังพักควรอยู่ในระหว่าง “LOW”  และ “FULL” การเติมน้ำหม้อน้ำโดยปกติระบบน้ำหล่อเย็นเป็นระบบปิด  จะไม่มีการสูญเสียในส่วนของน้ำหม้อน้ำ  ถ้าน้ำหม้อน้ำลดลงนั้น  อาจเกิดจากการรั่วขึ้นที่ระบบต้องทำการตรวจเช็ก ถ้าระดับน้ำต่ำกว่า “LOW”  ในส่วนของถังพักหม้อน้ำให้ทำการเติมน้ำหม้อน้ำที่ถังพัก ดังนั้น  ถ้าถังพักน้ำระดับน้ำแห้งให้ทำการเปิดฝาหม้อน้ำ  และทำการเติมน้ำหม้อน้ำจนกระทั่งถึงคอหม้อน้ำ

10.1.3  น้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำ 

 ในน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์มีส่วนผสมของสารเอทีลีนไกลคอล และสารป้องกันการกัดกร่อน  ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันการกัดกร่อนชิ้นส่วนของระบบน้ำหล่อเย็น น้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำสามารถป้องกันการกัดกร่อนและการเกิดสนิมกับชิ้นส่วนที่เป็นโลหะและอลูมิเนียมผสม  เช่น  ฝาสูบ  ปั้มน้ำ  เป็นต้น  และป้องกันการเกิดตะกรันในหม้อน้ำอันเป็นสาเหตุให้มีการอุดตันในช่องทางน้ำหล่อเย็นและระบบหล่อเย็น  โดยใช้สัดส่วนความเข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำกับน้ำตามบริษัทผู้ผลิตกำหนด

10.1.4 น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ

น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานของเกียร์อัตโนมัติ  ถ้าน้ำมันเกียร์มีไม่เพียงพอหรือมีมากเกินไปจะเป็นเหตุผลหนึ่งทำให้เกียร์เกิดความเสียหายขึ้นได้  ดังนั้นควรทำการตรวจเช็กระดับน้ำมันเกียร์  โดยใช้เหล็กวัดที่อยู่ที่ฝาปิดที่เติมน้ำมันเกียร์

10.1.5 ระดับน้ำฉีดล้างกระจก  ทำการตรวจเช็กที่ลูกลอย (A)  ให้อยู่ระหว่าง “FULL”  และ “EMPTY”  ในท่อเติมน้ำ  ถ้าระดับน้ำอยู่ต่ำกว่าให้ทำการเติมน้ำให้อยู่ในระดับที่กำหนด

10.1.6 น้ำมันเบรกและน้ำมันคลัตช์ 

การตรวจเช็กระดับน้ำมันเบรกในกระปุกน้ำมันเบรก  ควรอยู่ระหว่างขีด “MAX”  และ “MIN”  บนกระปุกน้ำมันเบรก  ระดับน้ำมันเบรกจะลดลงที่ละน้อยๆ ตามสภาพการสึกของผ้าเบรก  ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการผิดปกติแต่ถ้าระดับน้ำมันเบรกลดลงอย่างรวดเร็วผิดปกติ  แสดงว่ามีการรั่วในอุปกรณ์ระบบเบรก  น้ำมันเบรกเป็นแบบไฮโกรสโคฟิค (Hygroscopic)  ถ้ามีความชื้นในน้ำมันเบรกมากเกินไปจะมีผลเสียต่ออุปกรณ์ของระบบเบรก  และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเบรกลดน้อยลง  กระปุกน้ำมันเบรกมีฝาปิดแบบพิเศษเพื่อป้องกันมิให้อากาศเข้า  จึงไม่ควรเปิดทิ้งไว้อย่างเด็ดขาดและภายในรถจะมีสัญญาณไฟเตือนน้ำมันเบรกพร่อง  โดยภายในกระปุกน้ำมันเบรกจะมีลูกลอยเมื่อน้ำมันเบรกลดลงถึงขีด  ไฟเตือนน้ำมันเบรกบกพร่องจะติดขึ้น

10.1.7  น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์  ควรตรวจเช็กระดับน้ำมันเพาเวอร์ในกระปุกน้ำมัน  ขณะที่เครื่องยนต์ติดอยู่ในรอบเดินเบา  โดยหมุนเปิดฝากระปุกน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์โดยเหล็กวัดระดับน้ำมันจะติดอยู่ด้านล่างของฝาปิด  ระดับน้ำมันจะต้องอยู่ระหว่างขีด  “MAX” และ “MIN”  ของเหล็กวัด

10.1.8   แบตเตอรี่ 

แบตเตอรี่มีความสำคัญมากในการช่วยให้การสตาร์ตเครื่อง  และเก็บกระแสไฟสำหรับใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในรถ  ตรวจเช็กระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่ให้อยู่พอดีระหว่างขีดบน (UPPER)  และขีดล่าง (LOWER) โดยบอกไว้ที่ด้านข้างแบตเตอรี่  หากพบว่าระดับน้ำกรดต่ำเกินไปให้เติมน้ำกลั่นจนได้ระดับพอดีและอย่าเติมน้ำกลั่นจนล้นหรือเกินขีดบน (UPPER)  เพราะในขณะใช้งานน้ำกลั่นอาจจะล้นออกมาได้  ควรตรวจเช็กระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่อย่างน้อยเดือนละครั้ง  ตามสภาพการใช้งาน  ส่วนแบตเตอรี่ที่ไม่ได้ใช้งาน  ควรตรวจเช็กระดับน้ำกลั่นและชาร์จไฟด้วย

10.2 การบำรุงรักษาตามระยะกำหนด

10.2.1 ไส้กรองอากาศ

การทำความสะอาดไส้กรองอากาศ โดยเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมดังต่อไปนี้

- เมื่อไส้กรองอากาศมีฝุ่นแห้งเกาะ  ทำความสะอาดไส้กรองอากาศโดยใช้ลม(ตัวอย่างความดันลม ไม่เกิน  7  กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ) เป่าจากด้านในไส้กรองออกมา  พร้อมทั้งหมุนไส้กรองไปด้วจนกว่าจะทำความสะอาดได้ทั่วทั้งลูก  อย่าใช้ลมเป่าที่ครีบด้านนอกของไส้กรอง  เพราะลมจะดันฝุ่นละอองเข้าไปอยู่ที่ผิวด้านในซึ่งต้องการความสะอาดอยู่เสมอ

การทำความสะอาดเสื้อหม้อกรองอากาศ เช็ดทำความสะอาดภายในเสื้อและบริเวณขอบหม้อกรองอากาศ

10.2.2 ไส้กรองน้ำมันเครื่อง  การเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องมีขั้นตอนดังนี้

       - ถ่ายน้ำมันเครื่องออกจากหม้อกรอง โดยการคลายสกรู  ถ่ายออกมาประมาณ  15 มม.  (1.5 ซม.)  เพื่อให้น้ำมันเครื่องภายในหม้อกรองไหลลงสู่อ่างน้ำมันเครื่อง

       - . ถอดไส้กรองน้ำมันเครื่อง  โดยการใช้ประแจหม้อกรองจับหมุนไปทางซ้ายมือ

       -  ใช้ผ้าสะอาดเช็ดหน้าสัมผัส เพื่อให้ไส้กรองน้ำมันเครื่องลูกใหม่สัมผัสได้สนิท

-  ทาน้ำมันเครื่องบาง ๆ ที่โอริง  แล้วใช้มือเปล่าหมุนไส้กรองน้ำมันเครื่องเข้าเกลียวจนกระทั่งแตะกับหน้าสำผัส  หลังจากนั้น ให้ใช้ประแจหม้อกรองจับขันเข้าไปอีก 1 รอบ

10.2.3 ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง การเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง(เครื่องยนต์ดีเซล)มีขั้นตอนดังนี้

       -   ถอดไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง  โดยการใช้ประแจหม้อกรองจับหมุนไปทางซ้ายมือ

       -  ใช้ผ้าสะอาดเช็ดหน้าสัมผัสที่ฝาหม้อกรอง  เพื่อให้ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงลูกใหม่สัมผัสได้สนิท

             -  เติมน้ำมันดีเซลที่สะอาดให้เต็มเสื้อไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง,  ทาน้ำมันเครื่องบาง ๆ ที่โอ-ริง  และใช้มือเปล่าหมุนไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าเกลียวจนกระทั่งโอ-ริง  สัมผัสกับฝาหม้อกรอง  หลังจากนั้นให้ใช้ประแจหม้อกรองจับขันเข้าไปอีก  - รอบ

10.2.4  ไล่ลมออกจากระบบน้ำมันเชื้อเพลิง(เครื่องยนต์ดีเซล)  โดยการขยับแกนปั้มมือ  (บนหม้อแยกน้ำ)  ขึ้น-ลงหลาย ๆ  ครั้ง

10.2.5 เปลี่ยนถ่ายน้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ถ่ายน้ำออกจากระบบหล่อเย็นโดยการเปิดก๊อกน้ำใต้หม้อน้ำและข้างเสื้อสูบ น้ำที่ใช้ในระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์ควรเป็นน้ำอ่อนที่สะอาด  เช่น  น้ำฝนหรือน้ำประปา

10.2.6 การตรวจเช็กระยะฟรีขาเหยียบคลัตช์โดยการกดขาเหยียบคลัตช์ด้วยมือจนกระทั่งรู้สึกมีแรงต้าน  จากนั้นให้ตรวจเช็กระยะด้วยค่ามาตรฐาน (เช่น  A.- ระยะฟรีขาคลัตช์  4-13 มม.) ถ้าระยะฟรีขาเหยียบคลัตช์ไม่อยู่ในค่ามาตรฐาน  ให้ทำการปรับตั้งใหม่ก่อนการใช้งาน

10.2.7 การตรวจสภาพยางและการสลับยาง

ตรวจเช็กการแตกร้าวและการฉีกขาดหรือ อื่นๆ ถ้ามีการตรวจพบปัญหาดังกล่าว  ให้ทำการเปลี่ยนยางใหม่พร้อมกับตรวจเช็กการทิ่มตำของวัตถุที่ยางเส้นอื่นด้วย ในการใช้ยางที่สึกนั้น  สามารถทำให้เกิดอันตรายได้ทุกเวลา เพราะโอกาสลื่นไถลบนพื้นถนนที่แห้งและเปียกได้ในขณะขับ  หรือเบรกควรเช็กความหน้า  ของดอกยางไม่ควรต่ำกว่า 1.6  มม.  ทุกๆ ส่วนของดอกยาง  จุดในการตรวจเช็กการสึกหรอของดอกยางนั้นอยู่ 6  จุด  ซึ่งหากพบว่า  ค่าของการสึกหรอของดอกยางน้อยกว่าที่กำหนดไว้  ควรเปลี่ยนยางใหม่ตรวจเช็กการขันของน็อตล้อตามค่าแรงขันทุกตัวของทุกล้อ 

10.2.8  การตรวจเช็กระยะดึงของเบรกมือ  ดึงเบรกมือขึ้นให้สุดขณะดึงจะได้ยินเสียงดัง “คลิ๊ก”  ซึ่งจำนวนฟันของคันเบรกมือสามารถเช็กได้จากเสียงของร่องฟันนี้ เสียงดังหนึ่งครั้งเท่ากับหนึ่งฟัน ดึงคันเบรกมือขึ้นให้สุด  เพื่อเช็กจำนวนฟันที่ตัวเลือก  ของคันเบรกมือร่องของมือจะต้องให้ได้ตามที่กำหนดไว้   ตัวอย่าง  A.-  ระยะดึงคันเบรกมือ  =  5-7  คลิ๊ก (ใช้แรงดึงประมาณ 200  นิวตัน)  หากระยะดึงของคันเบรกมือไม่อยู่ในค่ามาตรฐานที่กำหนดควรนำเข้ารับบริการปรับตั้ง  รถที่ไม่ได้รับการปรับตั้งระยะเบรกมือ  อาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ในขณะขับขี่

10.2.9 ใบปัดน้ำฝน  ถ้าพบว่ากระจกหน้ามีฝุ่นละออกจับอยู่มาก  ควรฉีดน้ำล้างกระจกก่นที่จะใช้งานปัดน้ำฝน  เพราะมิฉะนั้นแจทำให้กระจกหน้าเป็นรอยได้ 

10.2.10  ความถ่างจำเพาะของน้ำกรดแบตเตอรี่  ถ้าไฮโดรมิเตอร์อ่านค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำกรดแบตเตอรี่ได้เท่ากับ 1.28  ที่อุณหภูมิมาตรฐาน  20 OC (68 OF)  แสดงว่าแบตเตอรี่ได้รับไฟชาร์จเต็มที่ 

            10.2.11  การทำความสะอาดแบตเตอรี่  ถ้าขั้วแบตเตอรี่สกปรกหรือเป็นขี้เกลือ  ให้ถอดหัววายแบตเตอรี่ออกแล้วล้างนัวสายและขั้วแบตเตอรี่ด้วยน้ำอุ่นเช็ดให้แห้ง  ทางหัวสายและขั้วแบตเตอรี่ด้วยจารบีหรือน้ำมันวาสลินแล้วขันน๊อตหัวสายแบตเตอรี่ให้แน่น  ควรรักษาส่วนบนของแบตเตอรี่ให้สะอาดและตรวจดูว่าระบายที่ฝาจุกต้องไม่มีการอุดตัน

10.3       การบำรุงรักษาทั่วไป

                   10.3.1 การตรวจเช็กการรั่วของเชื้อเพลิง  น้ำหม้อน้ำ  น้ำมันเครื่องและแก๊สไอเสีย ให้ตรวจดูใต้ท้องรถ  เพื่อตรวจเช็กการรั่วหยดของน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำหม้อน้ำ  น้ำมันเครื่องและแก๊สไอเสีย ถ้าตรวจพบรอยรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิงห้ามติดเครื่องยนต์และรีบทำการซ่อมแซม

       10.3.2 การตรวจเช็กการทำงานของหลอดไฟภายนอกและภายในรถ ให้ตรวจเช็กโดยเปิดสวิตช์ไฟใหญ่และสวิตช์ไฟต่างไฟๆ ว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่  หากพบว่าเมื่อเปิดสวิตช์ไฟแล้ว  ไฟไม่ติดอาจมีสาเหตุมาจากฟิวส์ขาด  หลอดไฟขาด  ดังนั้น  ควรตรวจเช็กฟิวส์เป็นอันดับแรก ว่าขาดหรือไม่  จากนั้นให้ตรวจเช็กหลอดไฟ  และถ้าหากตรวจดูแล้วว่าฟิวส์และหลอดไฟเป็นปกติแต่ไฟไม่ติดต้องนำรถเข้าตรวจเช็ก

            10.3.3  การตรวจเช็กการทำงานมาตรวัด  เกจวัด  และไฟเตือนต่างๆ ติดเครื่องยนต์เพื่อตรวจเช็กการทำงานของมาตรวัด  เกจวัด และไฟเตือนต่างๆ ว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่  หากพบว่ามีสิ่งผิดปกติต้องทำการซ่อมแซม

       10.3.4  การหล่อลื่นบานพับและสลักกลอนประตู ให้ตรวจเช็กบานพับและสลักกลอนประตูทั้งหมด  หากจำเป็นต้องการทำการหล่อลื่น  ควารทำความสะอาดเสียก่อน  แล้วจึงใช้จารบีชนิดเอนกประสงค์ทาในส่วนที่ต้องการพอประมาณ

10.3.5 การเปลี่ยนฟิวส์  ตัวอย่างขั้นตอนการเปลี่ยนฟิวส์ มีดังนี้

10.3.5.1      ก่อนการเปลี่ยนฟิวส์ทุกครั้ง  ควรบิดสวิทช์กุญแจในตำแหน่ง “LOCK”

10.3.5.2      เปิดกล่องฟิวส์

10.3.5.3      ดึงกล่องฟิวส์เข้าหาตัวและยกขึ้น  เมื่อทำการถอด

10.3.5.4      ถอดตัวดึงฟิวส์ (B)  จากฝากล่อง (A)

10.3.5.5      ทำการเช็กฟิวส์  แล้วทดสอบใช้งานได้หรือไม่ ถ้าระบบใดไม่ทำงานแต่ฟิวส์ปกตินั้นแสดงว่า อาจเกิดจากอุปกรณ์หรือสิ่งอื่นที่เสียหาย  ควรนำรถเข้าตรวจเช็ก

10.3.5.6    สอดฟิวส์ตัวใหม่ที่มีค่าความจุของฟิวส์ที่เหมือนกันเข้าในช่องใส่ฟิวส์  หากฟิวส์ใหม่ที่เปลี่ยนไปใช้ได้ไม่นานแล้ว  ขาดอีกควรรีบนำรถตรวจเช็กหาสาเหตุ  ซึ่งอาจเกิดการลัดวงจรในระบบ และไม่ควรใช้ฟิวส์ที่มีขนาดค่าความจุมากกว่าที่กำหนดให้  เพราะอาจทำให้สายไฟร้อนจัดและเกิดไฟไหม้ได้

10.3.6  การเปลี่ยนหลอดไฟ ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนหลอดไฟ ควรปิดไฟก่อน  เพื่อความปลดภัยไม่สควรใช้มือเปล่าจับที่ตัวหลอด  เพราะคราบเหงื่อหรือคราบน้ำมันที่มือจะติดที่ตัวหลอดไฟ  ดังนั้น เมื่อหลอดไฟร้อนก็จะระเหยเป็นไอ  ทำให้เกิดเงาโคมไฟและทำให้กระจกโคมไฟพล่ามันไม่สว่าง

10.3.7 ตัวอย่างสัญลักษณ์ของระบบไฟฟ้ารถยนต์