ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ Inquiry ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์

                1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 – 3/8  เป็นนักเรียนที่ไม่เน้นทางด้านคณิตศาสตร์ ส่วนใหญ่ไม่มีพื้นฐานการคิดวิเคราะห์ Inquiry  และนักเรียนห้องดังกล่าวไม่ได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติมซึ่งเป็นวิชาเสริมด้วย จึงเป็นเรื่องยากสำหรับนักเรียนในการทำความเข้าใจในเนื้อหา สูตร การวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์

                2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                วิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตามหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551         (ฉบับปรับปรุง 2561) นำมาพัฒนา พัฒนาชุดการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย บทเรียน Online แบบฝึกทักษะ เกมเพื่อการตรวจสอบความรู้ ทางคณิตศาสตร์   

                3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

                     การจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ Inquiry ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ถือว่าเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดด้านอื่น ๆ ที่สูงขึ้น การคิดวิเคราะห์จะช่วยให้รู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องต้นของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ รู้ว่าเรื่องนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง                  รู้รายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ทำให้ได้ข้อเท็จจริงที่เป็นพื้นฐานความรู้ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยอาศัยกระบวนการคิดวิเคราะห์ แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดประเด็นปัญหา 2) การวิเคราะห์หาคำตอบหรือทางออกของปัญหา 3) การสรุปคำตอบและกำหนดกรอบแนวคิด 4) การเชื่อมโยงความรู้ที่ได้  5) การขยายผลสู่การปฏิบัติหรือสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ผ่านการคิดวิเคราะห์ทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ ทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติ ก่อเกิดผลงานที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชน ทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจจากผลงานของตนเอง กระบวนการคิดวิเคราะห์ที่นักเรียนได้ปฏิบัติผ่านกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน หรือ 5 STEPs สามารถประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากผลงานนั้น ๆ และทักษะที่เกิดขึ้นกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

                3.1 เชิงปริมาณ  ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ การพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ Inquiry ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยแบบการเรียนรู้  มีผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80  และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ได้รับการแก้ปัญหาการด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ 

             3.2 เชิงคุณภาพ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ Inquiry ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์    และสามารถนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ตามกระบวนการเรียนรู้