4) ข้อมูลเพิ่มเติม | resources
ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (ชุมชนรับรอง) คืออะไร?
เป็นระบบในการยืนยัน คุณภาพความเป็นเกษตรอินทรีย์ของผลผลิต ที่ตั้งอยู่บนการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังของเกษตรกร ผู้บริโภค นักส่งเสริม และหน่วยงานในท้องถิ่น ซึ่งต่างก็มีส่วนในการตัดสินใจ การตรวจเยี่ยมฟาร์ม การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และการร่วมกันตรวจสอบเกษตรกรว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์หรือไม่ ในระบบนี้ ผู้บริโภคจะได้เรียนรู้และเข้าใจถึงคุณค่าของผลผลิตเกษตรอินทรีย์ และเลือกที่จะบริโภคอาหารออร์แกนิค ในขณะเดียวกันเกษตรกรก็จะสามารถทำเกษตรอินทรีย์ได้ดีขึ้น
What is participatory guarantee system (PGS)?
PGS is a verification system to ensure the quality of organic products. This system is based on the active participation of farmers, consumers, rural advisors, local authorities: they all join to make decisions, to visit farms, to support each other and to check that farmers are producing according to an Organic Standard. Consumers can better understand, value and demand organic products, while farmers are in a better position to meet this increasing demand.
ข้อดีของระบบ PGS
ก) ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถมีส่วนร่วมได้ (เกษตรกร ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ) โดยสามารถบริหารจัดการและปรับปรุงแก้ไขระบบได้ด้วยตนเอง ทำให้ได้แบ่งปันความรับผิดชอบ และมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในระบบการตรวจรับรอง
ข) สามารถออกแบบกลไลในการตรวจรับรองที่เหมาะสม ช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรองลดลง
ค) เอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ที่เกี่ยวข้อง ช่วยทุกฝ่ายเข้าใจเกษตรอินทรีย์มากขึ้น
ง) ช่วยเกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงตลาดเกษตรอินทรีย์ได้มากขึ้น (จากการมีระบบการรับรอง) และช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอาหาร/ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคที่เป็นผลผลิตจากท้องถิ่นได้ในราคาที่เหมาะสม
PGS's Strengths
a) all stakeholders can get involved (farmers, consumers, business) and able to manage and change their own system. This leads to shared responsibilities and active participations in the guarantee system;
b) may innovate an appropriate guarantee mechanism, helping to reduce guarantee costs;
c) facilitate knowledge exchanges among producers and stakeholders, contributing to a better understanding and appreciation of organic agriculture;
e) enable small-scale producer to access organic markets (through being certified) and enable consumers to access local food/organic products at reasonable prices.
ข้อจำกัดของระบบ PGS
ก) เนื่องจากระบบนี้เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ผลิตและผู้สนับสนุนในระดับท้องถิ่น ที่ส่วนใหญ่เป็นการทำงานแบบอาสาสมัคร จึงทำให้การดำเนินการล่าช้าและอาจมีค่าใช้จ่ายแฝง (บางครั้งไม่ได้เป็นตัวเงิน) ที่ค่อนข้างสูง
ข) เป็นระบบที่รับรองกันเองของผู้ผลิตและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (first หรือ second party) จึงได้รับการยอมรับน้อย/ต่ำกว่าการตรวจรับรองโดยหน่วยงานอิสระ (third party) ผลผลิตภัณฑ์จึงสามารถขายได้ในตลาดท้องถิ่นหรือระดับประเทศเท่านั้น ไม่สามารถส่งออกไปขายในตลาดระหว่างประเทศได้
ค) แต่ละกลุ่มผู้ผลิตอาจมีมาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรย์ที่แตกต่างกัน รวมทั้งการใช้ตรารับรองที่ต่างกัน ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนได้
ง) ระบบนี้เน้นการมีส่วนร่วมที่ตั้งอยู่บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจของผู้มีส่วนร่วมหลายภาคส่วน ถ้าความไว้วางใจเกิดสั่นคลอน (จากปัญหาความสัมพันธ์) ก็อาจส่งผลกระทบกับการดำเนินการได้
PGS's Limitations
a) as it relies on participations of local produces and supporters, most of whom doing the works as volunteers, it thus takes a longer time and may have high hidden costs (non-monetary);
b) it is a self-guarantee (by either first or second party), recognitions is low compared with third party certification system. Products can be marketed locally or at the most within the country, not acceptable for exports;
c) each groups may have different standards, as well as their own PGS seals, causing confusion among consumers;
e) the system is based on trust among different stakeholders, if trust is undermined (e,g, poor relationship), it could also affect the PGS.
เอกสารอ่านเพิ่มเติม
21 ก.ค. 58 เอกสารแนะนำระบบ PGS และเครือข่ายไทยพีจีเอสออร์แกนิคพลัส ในงาน ONES 2015
1 ก.ค. 59 แผ่น พับแนะนำระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (ภาษาไทย) ของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank - ADB) และ IFOAM Organic International
1 ส.ค. 60 สไลด์นำเสนอ "ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม - ชุมชนรับรอง"
5 ส.ค. 60 แบบฟอร์มการบันทึกการใช้ปัจจัยการผลิต-การผลิตและเก็บเกี่ยว
21 ธ.ค. 60 เว็บไซต์รายชื่อปัจจัยการผลิต (สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ย) ที่อนุญาตให้ใช้ในระบบ PGS
3 ก.ค. 61 แบบฟอร์มการประเมินระบบ PGS
IFOAM Organic Internationl (2016), PGS Handbook for the Greater Mekong Subregion: How Participatory Guarantee Systems Can Develop and Function, IFOAM, Asina Development Bank, Food and Agriculture Organization of the United Nations