หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์

เครื่องพิมพ์

เครื่องพิมพ์ที่ใช้งานมีหลายชนิด เป็นชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมกับที่ใช้ตามบ้าน ซึ่งที่ใช้ในอุตสาหกรรมนั้นผู้จัดทำไม่สามารถนำเอกสารมาได้เนื่องจากเป็นลิขสิทธิ์แต่สามารถถ่ายทอดเป็นความรู้ให้ได้ซึ่งแยกเป็นยี่ห้อต่างๆ เป็นความลับของบริษัท

1. ทอมโก้ จะเป็นของ videojet มีหลายรุ่น

2. imagsiam จะเป็นพวก jame 1000

3.domino และอีกมากมายการใช้ไม่เหมือนกันเป็นความรู้ที่ไม่มีการถ่ายทอดทางสถาบันการศึกษา ซึ่งผู้จัดทำจะรวบรวมจัดทำต่อไป

ส่วนเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานทั่วไปมีการทำงานดังนี้

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer)

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) ใช้หลักการเปลี่ยนตัวอักษร และภาพ ให้เป็นสัญญาณภาพ ที่มีความละเอียดตั้งแต่ 200 จุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว หลักการทำงานโดยทั่วๆ ไป จะใช้แสงเลเซอร์ วาดภาพที่จะพิมพ์ลงบนกระบอกรับภาพ (เช่นเดียวกับ เครื่องถ่ายเอกสาร) โดยกระบอกรับภาพ จะมีประจุไฟฟ้า ตามรูปร่างของภาพ เมื่อกระบอกรับภาพ หมุนมาถึงตัวปล่อยผงหมึก ผงหมึกจะเกาะ เฉพาะบริเวณที่ไม่มีประจุไฟฟ้า แล้วกระบอกรับภาพ จะอัดผงหมึกลงบนกระดาษ แล้วอบด้วยความร้อน ภาพพิมพ์ก็จะติดบนกระดาษ มีทั้งเครื่องพิมพ์ขาวดำ และเครื่องพิมพ์สี ซึ่งราคาจะแพงมาก ส่วนตลับหมึกของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์จะบรรจุในตลับที่เรียกว่า โทนเนอร์ (toner) ไม่สามารถเติมหมึกได้ ต้องเปลี่ยนเลย เวลาเปลี่ยนต้องเปลี่ยนทั้งชุด

ปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ มีการพัฒนาไปหลายรูปแบบ โดยมีรูปหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์ พร้อมอุปกรณ์สแกนเนอร์ และเครื่องโทรสารในเครื่องเดียว

หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบขาวดำ

ระบบจะส่ง ASCII code หรือ PDL ไปยังโปรเซสเซอร์ของเครื่องพิมพ์ โปรเซสเซอร์จะทำหน้าที่สั่งให้เลเซอร์เปิดและปิดอย่างรวดเร็ว กระจกที่หมุนอยู่ตลอดเวลาจะตรวจจับลำแสงเลเซอร์ทำให้ลำแสงเป็นลำแสงในแนวขวางผ่านพื้นผิวของวัตถุทรงกระบอกที่เรียกว่า ดรัม หรือ OPC ย่อมาจาก Organic Photoconducting Cartridge ลำแสงเลเซอร์ที่เปิดปิดอย่างรวดเร็วผ่านกระจกหมุนไปยังดรัมทำให้เกิดจุดสว่างเล็กๆเมื่อลำแสงเลเซอร์ตกกระทบที่พื้นผิวของดรัมในทางกว้างหมดแล้ว ดรัมจะหมุนด้วยระยะ 1/300 หรือ 1/600 นิ้ว จากค่าที่กำหนด แสงเลเซอร์ก็จะยิงไปที่ดรัมที่บรรทัดหรือแนวต่อไป ในเครื่องพิมพ์บางประเภทใช้ หลอดไฟ ที่เรียกว่า LED ย่อมาจาก Small Light-Emitting Diodes) ทำหน้าที่ตรงส่วนนี้แทนแสงเลเซอร์ แต่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกลไกน้อยกว่า

จุดต่างๆ ที่แสงเลเซอร์ตกกระทบบนดรัมจะสภาพประจุไฟฟ้าที่แผ่นฟิล์มซึ่งทำจากซิงค์ออกไซด์ และวัสดุอื่นๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้จุดแสงนั้นมีสภาพทางประจุไฟฟ้าเหมือนกับกระดาษ แสงได้เปลี่ยนสภาพประจุไฟฟ้าตัวอย่างเช่นเปลี่ยนจากลบเป็นบวก ซึ่งจุดใดที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกจะเป็นจุดที่ต้องติดผงหมึกซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นลบเนื่องจากประจุตรงข้างกันจะดูดกันเสมอ ส่วนของดรัมที่ไม่โดนแสงจะไม่เปลี่ยนสภาพประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีประจุเป็นลบ จะไม่ติดผงหมึก ทำให้เป็นส่วนของกระดาษเหมือนเดิมไม่มีการติดผงหมึก ระหว่างที่ดรัมหมุนก็จะสัมผ้สกับผงหมึก ซึ่งมักเรียกว่าโทนเนอร์ และผงหมึกจะติดเฉพาะส่วนที่มีประจุเปลี่ยนไป

เมื่อดรัมหมุนไป ระบบเกียร์และตัวหมุนดึงกระดาษจะดึงกระดาษเข้าไปในเครื่องพิมพ์ ทำให้เมื่อดรัมหมุนไป ดรัมจะไปกดทับกระดาษที่ผ่านกระบวนการทำให้กระดาษมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเพื่อทำปฏิกริยากับผงหมึกทำให้ผงหมึกที่ติดอยู่บนดรัมไปติดอยู่บนกระดาษ ขั้นต่อไปดรัมจะหมุนต่อไปสัมผัสกับ corona wire ซึ่งจะทำให้พื้นผิวของดรัมมีสภาพประจุไฟฟ้ากลับเหมือนสถานะตั้งต้นอีกครั้ง จากตัวอย่างข้างต้นคือสถานะประจุลบ เพื่อเตรียมพร้อมกับการสร้างภาพในกระดาษแผ่นต่อไป

เครื่องพิมพ์เลเซอร์สี

การทำงานจะคล้ายกับ เลเซอร์ขาวดำ เครื่องพิมพ์จะเริ่มสร้างภาพที่ต้องการพิมพ์โดยการหมุนของสายพาน และฉายลำแสงเลเซอร์ไปยังบริเวณต่างๆ เมื่อแสงตกกระทบที่ดรัมจะทำให้เกิดประจุไฟฟ้า ดรัมจะหมุนสี่รอบ แต่ละรอบจะสร้างภาพของแต่ละสีที่ใช้ในการพิมพ์ ได้แก่ ดำ ม่วงแดง น้ำเงินเขียว และเหลือง ในระหว่างที่ดรัมหมุนจะไปสัมผัสกับโทนเนอร์ซึ่งเป็นที่สำหรับเก็บหมึก ที่ถูกแบ่งออกเป็นสี่ส่วนของแต่ละสี

ดรัมจะหมุนเพื่อสร้างภาพสีของแต่ละสีจะเกิดการผสมกันจนได้ภาพจริงแล้วส่งไปยังสายพานลำดับที่สอง(secondary transfer belt) ต่อจากนั้นกระดาษจะถูกดูดเข้าไปผ่านสายพานลำดับที่สองที่มีภาพอยู่ แล้วลูกกลิ้งจะกดทับสายพานให้ติดกับกระดาษเพื่อทำให้ผงหมึกบนสายพานไปติดบนกระดาษทำให้เกิดภาพสีที่ต้องการบนกระดาษในที่สุด

เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (ink jet printer)

เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (ink jet printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีราคาถูกว่า เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ตลับหมึกบางรุ่นสามารถเติมหมึกได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเครื่องพิมพ์ในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาให้มีความละเอียด หรือความคมชัดสูงมากขึ้น จนได้เทียบเท่ากับภาพถ่ายเลยทีเดียว

การทำงานของเครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก

ตลับหมึกของเครื่องพิมพ์จะเชื่อมต่อกับหัวพิมพ์และสามารถเคลื่อนที่ไปมาใน

แนวขวางของกระดาษที่ถูกดึงเข้ามาทางด้านล่างของหัวพิมพ์ หัวพิมพ์จะมีหมึกสี่สี

ประกอบด้วย สีน้ำเงินเขียว สีเหลือง สีม่วงแดง และสีดำ (ระบบสี) ซึ่งแต่ละตลับจะมีช่องหัวฉีด

ซึ่งต่อเชื่อมกับท่อขนาดเล็กสำหรับให้น้ำหมึกผ่าน

กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวต้านทานบางที่อยู่ด้านล่างของหัวฉีดทุกสีของเครื่องพิมพ์ จะทำให้เกิดความร้อนที่ส่วนล่างของหัวฉีด ซึ่งมีอุณหภูมิสูงมาก ในระยะเวลาสั้นๆหมึกจะเดือดก่อตัวเป็นไอ จากนั้นก็จะเป็นฟองอากาศลอยขึ้นมาจากด้านล่างไอจะลอยขึ้นมาดันน้ำหมึกผ่านท่อขนาดเล็ก ทำให้น้ำหมึกพ่นออกมาไปยังกระดาษ ปริมาณน้ำหมึกที่พ่นออกมาจะน้อยมากประมาณหนึ่งในล้านของหยดน้ำปกติ การทำให้เกิดตัวอักษรหนึ่งตัวต้องใช้จุดหมึกมากกว่าหนึ่งจุดแล้วแต่ข้อมูลที่มีอยู่ในตาราง เมื่อตัวต้านทานเย็นตัวลงฟองอากาศที่ขยายตัวก็จะหายไปพร้อมกับดูดน้ำหมึกเข้ามาในหัวฉีดใหม่เตรียมพร้อมสำหรับการพ่นครั้งต่อไป อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีให้การพ่นหมึกมีมากมาย ต่อไปเป็นภาพตัวอย่าง การพ่นหมึกของตลับหมึก

เครื่องพิมพ์แบบหมึกแข็ง

เครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีการทำงานคล้ายกับเครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก แต่หมึกที่ใช้ จะอยู่ในสถานะของแข็งที่อุณหภูมิห้อง ซึ่งจะถูกใส่เข้าไปในเครื่องพิมพ์เป็นก้อนซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละสี และที่เครื่องพิมพ์จะมีช่อง 4 ช่อง สำหรับสีที่แตกต่างกัน 4 สี เพื่อไม่ให้เกิดการใส่สีผิด หลักการทำงานคือ ก้อนสีแต่ละก้อนจะถูกใส่ลงไปในช่องตามสีของตัวเอง

ต่อมาเครื่องพิมพ์จะสร้างความร้อนเพื่อหลอมละลายก้อนหมึกให้เป็นของเหลวและจะอยู่ในที่เก็บที่หัวพิมพ์โดยแยกสีตามช่อง ที่หัวพิมพ์จะประกอบด้วยท่อที่เรียงในแนวตั้ง และมีแนวคอลัมภ์ 4 คอลัมภ์ สำหรับแต่ละสี ความยาวของหัวพิมพ์อาจเท่ากับความกว้างของกระดาษ ทำให้สามารถสร้างภาพด้วยการผ่านเพียงครั้งเดียวได้ แต่ละท่อจะควบคุมด้วย Piezo Controller ซึ่งจะปล่อยกระแสไฟฟ้าไหลเข้าไปที่ผนังด้านหลังท่อสีแต่ละสีด้วยปริมาณที่แตกต่างกัน ผนัง Piezo คือ ผนังที่ทำจากสารคริสตัลที่ความอ่อนตัวต่อปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าไป ในสภาวะปกติผนังจะโค้งไปทางด้านหลัง ทำให้หมึกถูกดูดเข้าไปตามปริมาตรที่พองออก

เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปผนังจะโค้งเข้า หาหัวฉีดทำให้หมึกถูกดันออกมากระทบดรัมที่ฉาบด้วยน้ำมันซิลิโคน ดรัมจะมีอุณหภูมิสูงเล็กน้อยเพื่อให้หมึกไม่กลับมาแข็งตัวอีก กระดาษจะถูกดูดเข้าไปในเครื่องพิมพ์ผ่านดรัมโดยมีแรงกดจากลูกลิ้งที่อยู่ด้านบนหมึกที่ติดอยู่ที่ดรัมจะติดกระดาษโดยมีลูกลิ้งที่อยู่ด้านบนเป็นตัวช่วย หมึกจะแห้งและแข็งตัวเมื่อผ่านลูกกลิ้งอุณหภูมิปกติ สองอัน ดรัมจะหมุน 28 รอบเพื่อส่งหมึกไปยังกระดาษจนทั่วทั้งแผ่น

การพิจารณาซื้อเครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก

1. คุณภาพของงาน เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะวัดคุณภาพ กันที่ความสามารถในการพิมพ์จุดต่อตารางนิ้ว (Dots Per Inch : DPI) โดยตัวเลขจะเป็นจำนวนจุดทางแนวนอน X จุดทางแนวตั้ง เช่น 300 X 300 Dpi เป็นต้น ซึ่งค่าจำนวนตัวเลขนี้ยิ่งมากก็ยิ่งดี เพราะจะสามารถพิมพ์ได้ละเอียดมากขึ้น

2. ความเร็วในการพิมพ์งาน โดยปรกติแล้วจะวัดเป็นจำนวนแผ่นต่อนาที โดยจะแบ่งเป็น 2 แบบคือ การพิมพ์แบบร่าง และการพิมพ์แบบมาตรฐาน ซึ่งถ้าได้จำนวนแผ่นต่อนาที มาก นั่นหมายความว่า สามารถพิมพ์งานได้รวดเร็ว

3. จำนวนหน้าที่สามารถพิพม์ได้ ต่อการเปลี่ยนหมึกหนึ่งครั้ง เครื่องพิมพ์ แบบพ่นหมึกนี้โดยมากแล้วราคามักจะไม่แพงมาก อยู่ทีประมาณ 3400 บาท - 6000 บาท แต่ราคาหมึกพิมพ์นั้นค่อยข้างแพงมาก เมื่อเทียบราคาต่อแผ่น กับเครื่องพิมพ์แบบอื่นๆ ดังนี้นจำนวนหน้าที่สามารถพิมพ์ได้ ต่อการเปลี่ยนหมึกหนึ่งครั้ง จึงถือว่าจำเป็นมากในการตัดสินใจเลือกใช้งาน

4. ราคาของเครื่องพิมพ์ และราคาของหมึก เครื่องพิมพ์บางรุ่นราคาถูก แต่ หมึกพิมพ์มีราคาแพง เครื่องพิมพ์บางรุ่นมีราคาแพง แต่ราคาของหมึกพิมพ์ถูก ดังนั้นในการเลือกใช้งานต้องคำนึงถึงราคา ด้วย ถ้าซื้อเครื่องพิมพ์ที่มีราคาถูกมา แต่ต้องการพิมพ์งานที่มีจำนวนมาก ก็ต้องสิ้นเปลือง กับรายจ่ายที่ต้องเสียไปกับค่าหมึกเป็นจำนวนมาก

กระดาษที่ใช้พิมพ์

คุณภาพของกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ก็มีผลต่อคุณภาพงานที่ได้อย่างมาก ถ้าใช้กระดาษธรรมดาที่ไม่เคลือบแว็กซ์ กระดาษเนื้อหยาบจะทำให้เกิดการสะท้อนแสงแบบไม่เป็นระเบียบทำให้ความสว่างของภาพลดลง และจะดูดซับสีในปริมาณากทำให้สิ้นเปลืองสี และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาพมัว แต่ถ้าเป็นกระดาษเคลือบแว็กซ์ จะเป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับการพิมพ์สีอย่างมาก เนื่องจากสีจะแห้งอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการดูดซับสีมากเกินไป อีกทั้งด้วยเนื้อกระดาษที่ละเอียดและฉาบด้วยแว็กซ์ทำให้การสะท้อนแสงเป็นไปอย่างเป็นระเบียบ ภาพที่ได้จึงสว่างมากขึ้น และคมชัดมากขึ้น

ภาพบิตแมบและเอาต์ไลน์ต่างกันอย่างไร

ภาพบิตแมบ ในคอมพิวเตอร์เป็นไปตามแนวคิดของ Getenberg ซึ่งจะกำหนดรูปแบบของตัวอักษรไว้หมดแล้ว ข้อดีในการใช้งานคือ สามารถพิมพ์งานได้อย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสีย คือ มีฟอนต์ให้จำกัด ถ้าฮาร์ดก๊อปปี้จำเป็นต้องมีภาพกราฟฟิก ซอฟท์แวร์ของคุณต้องสามารถส่งคำสั่งที่เครื่องพิมพ์เข้าใจไปที่เครื่องพิมพ์ด้วย เมื่อคุณสั่งให้พิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์จะส่งคำสั่งไปบอกเครื่องพิมพ์ก่อนว่าหน่วยความจำตรงตำแหน่งไหนในเครื่องพิมพ์จะถูกใช้งาน จากนั้นตัวอักษรแต่ละตัว หรือตัวอักขระต่างๆ จะถูกส่งไปยังเครื่องในรูปแบบของ ASCII code เท่านั้น จากนั้นโปรเซสเซอร์บนเครื่องพิมพ์จะทำการเทียบรหัส ASCII code กับตารางแพทเทินของจุดของตัวอักษร และเอาแพทเทินนั้นมาพิมพ์ กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นเรื่อยๆจนกว่าจะพิมพ์ครบตามที่กำหนด

เอาต์ไลน์ หรือเว็กเตอร์ฟอนต์จะทำงานร่วมกับ PDL (Page Description Language) หรือ Adobe Postscript หรือ Microsoft TrueType ด้วยวิธีนี้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นอักษรหรือภาพกราฟฟิกจะถูกมองเป็นกราฟฟิกทั้งหมด เท็กซ์และกราฟฟิกที่ใช้งานจะถูกแปลงเป็นชุดคำสั่งที่เครื่องพิมพ์สามารถเข้าใจได้ ซึ่งเป็นคำสั่ง PDL ที่ระบุตำแหน่งของจุดบนหน้ากระดาษ PDL สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วใกล้เคียงกับเครื่องพิมพ์เมตริกซ์ เอาต์ไลน์ฟอนต์มีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่า สามารถปรับขนาด และคุณสมบัติพิเศษอื่นๆได้ หลักการทำงานของเอาต์ไลน์ฟอนต์ คือ อาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ อธิบายลักษณะของตัวอักขระต่างๆ เครื่องพิมพ์บางรุ่นจะมี PDL มาด้วยซึ่งจะเป็นตัวบอกเครื่องพิมพ์ว่าจะวางจุดบนตำแหน่งใดบนกระดาษสำหรับตัวอักษรแต่ละตัว สำหรับเครื่องพิมพ์ที่ไม่มี PDL มาด้วย ตัวไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์จะเป็นตัวเปลี่ยนคำสั่งให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องพิมพ์ต้องการ

เมื่อคุณสั่งพิมพ์งาน โปรแกรมจะส่งชุดคำสั่ง PDL ที่เปลี่ยนไปเป็นอัลกอลิธึม หรือสูตรทางคณิตศาสตร์ โดยอัลกอลิธึมจะอธิบายว่าตัวอักษรประกอบด้วยเส้นตรงหรือเส้นโค้งใดบ้าง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยข้อมูลสำหรับปรับปรุงราบละเอียดของอักษรในกรณีที่อักษรนั้นมีขนาดใหญ่หรือเล็กมาก คำสั่งจะส่งค่าตัวแปรไปที่สูตรเพื่อเปลี่ยนขนาดหรือคุณสมบัติบางประการของเอาต์ไลน์ฟอนต์

ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นคำสั่งที่บอกให้เครื่องพิมพ์ทำงานง่ายๆ ดังนี้ ให้สร้างเส้นแนวนอนกว้าง 10 พอยน์ เป็นต้น การพิมพ์แต่ละครั้งจะส่งตัวอักษรไปทั้งหน้าโดยอยู่ในรูปแบบกราฟิกทั้งหมดทำให้การประมวลผลช้ากว่าการพิมพ์ด้วยบิตแมปฟอนต์

INK TANK

ink-Tank ใช้เทคนิกแรงดันอากาศเหมือนกันหมดครับ

เป็นหลักวิทยาศาสตร์พื้นฐานน่าจะเรียนกันแล้วทุกคนถ้าจำได้ ตอนเด็กๆ หรือแม้แต่การใช้งานในชีวิตประจำวันของเรา เช่นการล้างตู้ปลา การดูดน้ำออกจากถัง โดยการใช้หลักการ กาลักน้ำ

บนโลกของเราในชั้นบรรยากาศจะมีอากาศอยู่ ถึงเราจะมองไม่เห็นก็ตาม ซึ่งในระดับน้ำทะเล จะมีแรงดันอากาศที่กดทับกันอยู่สูงมาก ตามที่เราได้ยินกันบ่อยๆคือ 76มิลลิเมตรปรอด ก็คือ แรงดันอากาศนี้สามารถดันปรอดให้สูง 76มิลลิเมตร และ ดันน้ำให้สูงถึง 10เมตรกว่าๆ

ink-Tank ก็ใช้หลักการเดียวกันครับใช้อากาศดันน้ำหมึกเข้าไปยังสายส่งขึ้นไปที่ตลับหมึก

ซึ่งระบบจำเป็นต้องเป็นระบบปิดไม่มีอากาศรั่วซึมเข้าไปได้ เพราะไม่อย่างนั้นอากาศที่เข้าไปจะมีแรงดันและไปหลักล้างกับอากาศที่ใช้ดัน ส่งน้ำหมึกขึ้นไปยังตลับ ซึ่งถ้าหลักล้างกันแล้วจะทำให้ น้ำหมึกซึ่งมีน้ำหนักตามแรงดึงดูดของโลกดึงให้ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ

มันก็คล้ายกับที่เราใช้หลอดกาแฟยาวๆดูดน้ำอัดลม ซึ่งถ้าเราใช้นิ้วอุดปลายหลอดด้านบนไว้ แล้วยกขึ้นจากขวดน้ำอัดลม น้ำที่อยู่ในหลอดก็จะคงอยู่ เพราะว่ามีแรงดันบรรยากาศดันไว้อยู่ คือแรงดันอากาศชนะแรงโน้มถ่วงของโลกน้ำอัดลมจึงไม่ไหลทิ้ง แต่ถ้าเราปล่อยนิ้วจาปลายหลอด อากาศก็จะไหลเข้าปากหลอดด้านบนทำให้แรงดันอากาศ 2 ด้านเท่ากัน หักล้างกัน น้ำก็เลยไหลทิ้งเพราะตามแรงดึงดูดของโลก

Tank ปรับแรงดัน คืออะไร ลองนึกถึงตอนเด็กๆที่เราเคยทดลองใส่น้ำเต็มแก้วแล้วเอาจานปิดไว้แล้วก็คว่ำ แก้วน้ำ ซึ่งน้ำยังสามารถคงค้างอยู่ในแก้วได้ เพราะมีแรงดันบรรยากาศดันไว้อยู่ หรือ ใครเคยเลี้ยงไก่จะเคยเห็นกระติกให้น้ำไก่ หรือ ตู้น้ำเย็นก็ได้ครับที่มีขวดใหญ่ๆ 20 ลิตรคว่ำไว้อยู่ เวลาเรากินน้ำน้ำก็ไหลออกมาก็มีอากาศเข้ไปแทนที โดยที่น้ำไม่หกหลกการเดียวกัน

ต่างกันอย่างไร???

Tank ที่ปรับแรงดัน จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำหมึกโดยที่ประหยัดเนื้อที่ คือสามารถเพิ่มความสูงได้แทน และแรงดันคงที่ด้วย ซึ่งระดับน้ำหมึกในช่องที่สัมผัสกับอากาศภายนอกจะเป็นระดับแรงดันที่แท้จริง ของน้ำหมึก ในช่องTankใหญ่ที่ไม่สัมผัสกับอากาศจะเป็นช่องสูญญากาศไม่มีผลกับแรงดัน

Tank ที่ไม่ได้ปรับแรงดันหรือขวดภาชนะเปิดธรรมดา ซึ่งตามหลักต้องคอยควบคุมระดับน้ำหมึกไม่ให้อยู่สูงกว่าหัวพิมพ์หรือตลับ หมึกภายในเครื่องปริ๊น ก็เพราะว่า ตามกฎธรรมชาติของแรงดึงดูดของโลก น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ ถ้าระดับน้ำหมึกอยู่สูงกว่าหัวพิมพ์จะทำให้แรงดันมากเกินไปหมึกทะลักหรือไหล ทิ้งได้ ดังนั้นต้องรักษาระดับน้ำหมึกไว้ ทำให้ไม่สามารถเติมหมึกได้สูงถ้าหากภาชนะเล็กก็ทำให้เติมหมึกได้น้อย หรือถ้าจะภาชนะใหญ่ก็จะเปลืองเนื้อที่ และระดับแรงดันไม่คงที่ด้วยเพราะระดับน้ำหมึกจะลดลงแต่จริงๆแล้วไม่ค่อยมีผล เท่าไรถ้าระบบดี ไม่มีรั่วซึมและไม่มีฟองอากาศในระบบ

สรุป TanK ปรับแรงดัน เพิ่มความสะดวก เพราะว่าในเครื่องปริ๊นบางรุ่นระดับแรงดันมีผลมากถ้าหากเติมสูงเกินไปมันก็ จะล้นเย้ม ต้องให้ระดับต่ำๆไว้ซึ่งมันก็ไม่สะดวกในการจัดวาง ใช้ Tankปรับแรงดันสะดวกสุดเติมเท่าไรก็ได้ แค่รักษาระดับความสูงของน้ำหมึกในท่ออากาศให้อยู่ในระดับที่เ***ะสมก็พอ

แต่.... ผมว่ามันก็มีข้อเสียถ้าหากใครใช้ไม่ค่อยเป็นเวลาเติมหมึก เปิดจุกปิดจุกไม่ถูก น้ำหมึกมันก็จะไหลไปอีกช่องพอเวลาใช้งานกลับกลายเป็นว่าระดับน้ำหมึกอยู่สูง เกินไป อะไรประมาณนี้อ่ะ คือบางคนไม่ค่อยสนใจไงอาจทำให้เกิดปัญหาต่อการใช้งานได้