คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี เป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๙ (3) แห่งพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ ๒๕๔๘ และประกาศสถาบันการพลศึกษา เรื่องการแบ่งส่วนราชการในสถาบันการพลศึกษา พ.ศ ๒๕๔๙ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ ๒๕๔๙ ข้อ ๕ (๓) และข้อ ๑๔ (๑),(๒),(๓)และ (๔) ดังนั้น คณะศิลปศาสตร์จึงเป็นคณะวิชาที่มีการจัดตั้งและรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2548 โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โปรแกรมวิชาสื่อสารการกีฬา จำนวน 4 คน และนักศึกษาต่อเนื่อง 2 ปี โปรแกรมวิชาสื่อสารการกีฬา จำนวน 15 คน แต่เนื่องจากสถานภาพการเป็นวิทยาลัยพลศึกษาและวิทยาลัยชุมชนมาแต่เดิม ทำให้มีนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส.)ที่เข้าเรียนในปีการศึกษา 2547 ยังคงศึกษาอยู่ชั้นปีสุดท้าย และถูกจัดให้สังกัดคณะศิลปศาสตร์ ดังนี้ ระดับ ปวส.สาขาวิชาธุรกิจการท่องเที่ยวการโรงแรม จำนวน 16 คน, ปวส.สาขาวิชาการบัญชี จำนวน 14 คน , ปวส.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 30 คน,ปวส. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ จำนวน 4 คน ,ปวส.สาขาวิชาการตลาด จำนวน 4คน และ ปวส.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์จำนวน 25 คน จึงทำให้มีนักศึกษาสังกัดคณะศิลปศาสตร์ ในปีการศึกษา2548 จำนวนทั้งสิ้น 112 คน

ต่อมาในปีการศึกษา ๒๕๕๐มีการจัดการเรียนการสอนเพียงหลักสูตรเดียว คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต(หลักสูตร ๔ ปี) สาขาวิชาสื่อสารการกีฬา คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยกำหนดให้จำนวนหน่วยกิตที่ต้องเรียนตลอดหลักสูตร คือ ไม่น้อยกว่า ๑๓๐ หน่วยกิต การจัดการศึกษาเป็นแบบทวิภาค ซึ่งเป็นไปตามระเบียบสถาบันการพลศึกษา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.๒๕๔๘

ในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตร ก่อนจะมีการพัฒนาปรับปรุงอีกในปี พ.ศ.๒๕๕๖ ทั้งด้านการพัฒนาการเรียนการสอน ปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน และการเพิ่มเนื้อหาใหม่ๆ ที่สำคัญ ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๖๐ จะมีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรตามรอบเกณฑ์ที่ สกอ.กำหนดและจะมีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรใหม่ในทุก ๕ ปี ต่อไป

ปัจจุบัน คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี เปิดรับสมัครนักศึกษาใน ๓ ระบบ คือ ระบบโควตา ระบบทั่วไป และระบบแอดมิดชั่น โดยคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษานั้น จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.๖) หรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามระเบียบสถาบันการพลศึกษา ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ.๒๕๕๖ ซึ่งอาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ ผู้ประกาศข่าว ช่างภาพ ผู้สื่อข่าว นักวิทยุกระจายเสียงและนักวิทยุโทรทัศน์ และนักประชาสัมพันธ์