ข้อมูลพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี แห่งที่ 2

       การจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี แห่งที่ 2 เป็นความประสงค์ของกรมอาชีวศึกษาที่ต้องการขยายสถานศึกษาและพัฒนาการศึกษาในระบบอาชีวศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการขยายโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพไปสู่ท้องถิ่นและให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคน  อีกทั้งจะเป็นการเสริมสร้างและพัฒนากำลังคนของประเทศให้มีคุณภาพในการประกอบอาชีพตามนโยบายของรัฐบาล สนับสนุนการพัฒนาชนบท รวมทั้งการผลิตกำลังคนในระดับช่างกึ่งฝีมือ ช่างฝีมือ และช่างเทคนิค ที่มีคุณภาพในรูปแบบที่ประหยัด เพื่อให้ประชาชนยากจนในชนบทมีโอกาสเข้าศึกษาต่อการดำเนินการจัดตั้งดังกล่าวสืบเนื่องมาจากพระครูวิจิตรสุธาการ เจ้าอาวาสวัดธรรมมิการาม และท่านผู้อำนวยการ ชลินทร์ ปิ่นทอง  ทำหน้าที่ประสานงานจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี  แห่งที่  2 ณ ตำบล   บ้านชี  อำเภอบ้านหมี่  จังหวัดลพบุรี แต่ประสบปัญหาในเรื่องที่ดินที่จะดำเนินการเพื่อการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี แห่งที่  2  

ต่อมา  นายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี ได้เป็นผู้ประสานในการจัดหาที่ดินเพื่อการจัดตั้งวิทยาลัยฯ  และได้รับบริจาคที่ดินเพื่อทำการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี แห่งที่ 2  จำนวน 107  ไร่ ที่หมู่ 5 ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี จากนายอภิรักษ์  วิชินโรจน์จรัล  ประธานกรรมการบริษัท นารายฮิลล์  กอล์ฟ  รีสอร์ทแอนด์คันทรีคลับ  จำกัด

วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี แห่งที่ 2 ได้รับการประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2539 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม  พ.ศ. 2534 กระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามประกาศจัดตั้งโดยใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี แห่งที่ 2” เป็นสถานศึกษาสังกัดส่วนกลาง กรมอาชีวศึกษา (ปัจจุบันคือสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) กระทรวงศึกษาธิการเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2540 บนเนื้อที่ประมาณ 107 ไร่ และเปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2541

วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี แห่งที่ 2 ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 205 หมู่ 5 ถนนดีลัง–วังเพลิง ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี 15120 หมายเลขโทรศัพท์ 036680391
ปี พ.ศ. 2541 ได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบ 12 รายการ
ปี พ.ศ. 2541 ได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบ 3 รายการเป็นงบผูกพันปี 2542 และปี 2543 ได้แก่
- อาคารเรียนและปฏิบัติการ 4 ชั้น พื้นที่ประมาณ 2,400 ตารางเมตร 1 หลัง
- อาคารโรงฝึกงาน 4 ชั้น พื้นที่ประมาณ 4,000 ตารางเมตร 1 หลัง
- อาคารอํานวยการ พื้นที่ประมาณ 2,000 ตารางเมตร 1 หลัง
ปี พ.ศ. 2541 เปิดทําการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาช่างก่อสร้าง แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากําลัง
ปี พ.ศ. 2544 เปิดทําการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาช่างยนต์
ปี พ.ศ. 2545 เปิดทําการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ แผนกวิชาการบัญชี
ปี พ.ศ. 2546 เปิดทําการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ปี
พ.ศ. 2548 เปิดทําการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างยนต์ สาขางานเทคนิคยานยนต์
ปี พ.ศ. 2549
- เปิดทําการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างก่อสร้าง สาขางาน เทคนิคการก่อสร้าง แผนกวิชาช่างไฟฟ้า
สาขางานเครื่องกลไฟฟ้า แผนกวิชาการบัญชี สาขางานการบัญชี
- เปิดทําการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เทียบโอนประสบการณ์วิชาชีพ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง สาขางานเทคนิคการก่อสร้าง แผนกวิชาช่างยนต์ สาขางานเทคนิคยานยนต์ แผนก วิชาช่างไฟฟ้า สาขางานเครื่องกลไฟฟ้า
ปี พ.ศ. 2550 เปิดทําการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เทียบโอนประสบการณ์ วิชาชีพ แผนกวิชาการบัญชี สาขางานการบัญชี
ปี พ.ศ. 2557 เปิดทําการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างยนต์ สาขางานเทคนิคยานยนต์
แผนกวิชาช่างไฟฟ้าสาขางานเครื่องกลไฟฟ้า แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ปี พ.ศ. 2560 เปิดทําการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ สาขา งานโครงสร้าง
ปี พ.ศ. 2561 เปิดทําการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ สาขาวิชาเทคนิคโลหะ สาขางานเทคนิคการเชื่อมโครงสร้างโลหะ
ปี พ.ศ. 2561 เปิดทําการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาการโรงแรมและการ บริการ
ปี พ.ศ. 2562 ได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคารหอพักพร้อมครุภัณฑ์ จํานวน 1 หลัง และอาคาร อเนกประสงค์ 1 ชั้น จํานวน 1 หลัง

ขนาดและที่ตั้ง
วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี แห่งที่ 2 ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 107 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับสนามกอล์ฟนารายฮิลล์รีสอร์ทแอนด์คันทรี่คลับ
ทิศใต้ ติดกับหมู่บ้านทุ่งโป่ง
ทิศตะวันออก ติดกับถนนดีลัง – วังเพลิง
ทิศตะวันตก ติดกับภูเขาตะเภา

สภาพชุมชน เศรษฐกิจ สังคม
วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี แห่งที่ 2 เป็นวิทยาลัยเทคนิคระดับอำเภอ ซึ่งจัดการเรียนการสอนและบริการวิชาชีพแก่ชุมชน โดยมีพื้นที่ให้บริการในอำเภอต่างๆ ของจังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียงบางส่วน ดังนี้
  1. อำเภอโคกสำโรง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอหนองม่วง อำเภอบ้านหมี่ อำเภอชัยบาดาลจังหวัดลพบุรี
  2. อำเภอตากฟ้า อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

  3. อำเภอหนองไผ่ อำเภอศรีเทพ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์


แผนภูมิบริหารสถานศึกษา

ปรัชญา อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ของสถานศึกษา

ปรัชญา

ความรู้ดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม 

อัตลักษณ์

จิตอาสาบริการ นำพาสุขเพื่ิอปวงประชา

เอกลักษณ์

มีคุณธรรม รักษ์วัตนธรรม นำความรู้สู่สังคม 

วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ และกลยุทธการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

วิสัยทัศน์ 

“ผลิตและพัฒนากําลังคนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสู่ตลาดแรงงานด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน
โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย”

พันธกิจ 

พันธกิจที่ 1 พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะและบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับสถานประกอบการ
พันธกิจที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษามีสมรรถนะในศตวรรษที่ 21
และมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล
พันธกิจที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุน ยกระดับสมรรถนะของผู้เรียนด้านภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีดิจิทัล
พันธกิจที่ 4 ส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะสูง อย่างต่อเนื่อง
พันธกิจที่ 5 การสงเสริม สนับสนุน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน ให้มีทักษะในการพัฒนา นวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์ งานสรางสรรค และงานวิจัยโดยการมีสวนรวม 

พันธกิจที่ 6 จัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาการติดตั้งไฟฟ้าในอาคาร และสาขาเครื่องปรับอากาศ และศูนย์ทดสอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพอาชีวศึกษา ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือ
พันธกิจที่ 7 เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงระบบการเรียนรู้วิชาชีพ ด้วยรูปแบบวิธีการที่ยืดหยุ่น หลากหลาย
ตอบสนองต่อความต้องการในการเรียนรู้ และพัฒนาอาชีพของชุมชนสังคมในพื้นที่ ทุกช่วงวัย
พันธกิจที่ 8 เสริมสร้างและขยายภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการระดมทรัพยากร และยกระดับคุณภาพการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
พันธกิจที่ 9 พัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และระบบความปลอดภัย เพื่อการบริหารจัดการ
และการจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
พันธกิจที่ 10 พัฒนาระบบสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยสูง และน้ำเพื่อการบริโภคสะอาดถูกสุขอนามัย

เป้าประสงค์ 

1. ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานวิชาชีพ

2. ชุมชน ท้องถิ่น และสถานประกอบการได้รับองค์ความรู้ บริการวิชาการ วิชาชีพตรงตามความต้องการ

3. ผู้เรียนเป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงาน

4. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความเป็นมืออาชีพ

5. สถานศึกษาได้รับการสนับสนุนทรัพยากรในการจัดการอาชีวศึกษา

6. สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับของชุมชน และสถานประกอบการ

7. ผลงานวิจัยของครูมีการเผยแพร่สู่สาธารณะ

8. นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

ยุทธศาสตร์ 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะและบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครบทุกหลักสูตรและสาขาวิชา ทั้งในระบบ และระบบทวิภาคี สอดคล้องตามความต้องการของตลาดแรงงาน โดยความร่วมมือกับสถานประกอบการ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษามีสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 

และมีคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริม สนับสนุน ยกระดับสมรรถนะของผู้เรียนด้านภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีดิจิทัล

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะสูง อย่างต่อเนื่อง

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสงเสริม สนับสนุน ผู้เรียน และครู ให้มีทักษะในการพัฒนา นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ งานสรางสรรค์ แลงานวิจัยโดยการมีสวนรวม

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และศูนย์ทดสอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพอาชีวศึกษา ร่วมกับภาคีเครือข่ายความร่วมมือ

ยุทธศาสตร์ที่ 7 การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงระบบการเรียนรู้วิชาชีพ โดยการจัดการเรียนร่วมกับโรงเรียนมัธยมศึกษาหรือทวิศึกษา แนวใหม่ 

และจัดการเรียนการสอนภาคสมทบที่มีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียน

ยุทธศาสตร์ที่ 8 การส่งเสริม สนับ และพัฒนาอาชีพของชุมชน สังคมในพื้นที่บริการ

ยุทธศาสตร์ที่ 9 การเสริมสร้างและขยายภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการระดมทรัพยากร และยกระดับคุณภาพในจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

ยุทธศาสตร์ที่ 10 การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และระบบความปลอดภัยภายในสถานศึกษา 

เพื่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่ 11 การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยสูง และน้ำเพื่อการบริโภคสะอาดถูกสุขอนามัย

กลยุทธ์ 

1. จัดการศึกษาปละฝึกอบรมทางวิชาชีพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน ท้องถิ่น และสถานประกอบการ

2. เสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญโดยบูรณาการวิชาการและวิชาชีพ

4. ส่งเสริมภาคีเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางอาชีวศึกษา

5. พัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้โดยยึดหลักธรรมาภิบาล

6. สนับสนุนการทำวิจัย นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์

ข้อมูลด้านผู้เรียน 

ข้อมูลนักเรียน นักศึกษา

ข้อมูลผู้เรียน ปีการศึกษา 2562

ข้อมูลผู้เรียน ปีการศึกษา 2562

ข้อมูลผู้เรียน ปีการศึกษา 2563

ข้อมูลผู้เรียน ปีการศึกษา 2563

ข้อมูลผู้เรียน ปีการศึกษา 2564

ข้อมูลผู้เรียน ปีการศึกษา 2564

ข้อมูลผู้เรียน ปีการศึกษา 2565

ข้อมูลผู้เรียน ปีการศึกษา 2565

ข้อมูลผู้เรียน ปีการศึกษา 2566

ข้อมูลผู้เรียน ปีการศึกษา 2566

ข้อมูลด้านบุคลากร

ข้อมูลด้านหลักสูตร

ข้อมูลด้านงบประมาณ