ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

โรงเรียนหนองบัวพิทยาคมเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เดิมสังกัดกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ มีประวัติความเป็นมาดังนี้

พ.ศ.๒๕๓๓ นายเกียรติท้าวฮ้ายกำนันตำบลป่าคาและคณะได้เสนอขอให้นายกฤษณ์ สุวรรณประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าวังผาพิทยาคมเปิดสาขาโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ตำบลป่าคา ซึ่งกรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้เปิดเป็นโรงเรียนสาขา ในปีการศึกษา๒๕๓๖ ได้ขอใช้สถานที่และอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านหนองบัวทำการเรียนการสอนชั่วคราวโดยมีนายบุญช่วย เชียงหนุ้น ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนท่าวังผาพิทยาคมเป็นหัวหน้าสาขา

ในปีการศึกษา ๒๕๓๗ สภาตำบลป่าคาและราษฎรในหมู่บ้านใกล้เคียง ได้ขอใช้ที่ดินสาธารณะของบ้านหนองบัว เพื่อเป็นที่ตั้งโรงเรียนมีเนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่ และได้สละทรัพย์และแรงงานสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๖๔ เมตร สร้างห้องน้ำห้องส้วม ประปา ไฟฟ้า สนามกีฬา และสิ่งจำเป็นอื่นๆคิดเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๐๐,๐๐๐บาท

วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๙ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะให้เป็นโรงเรียนมัธยมประจำตำบลป่าคาโดยให้ชื่อว่า “โรงเรียนหนองบัวพิทยาคม” และในปีการศึกษา ๒๕๔๑ ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ที่ตั้ง 221 หมู่ 5 ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

คติพจน์ อสาธุสาธุนาชิเน (พึงชนะความชั่วด้วยความดี)

คำขวัญ/ปรัชญา รักการเรียน เพียรทำดี มีวินัย

สีประจำโรงเรียน ชมพู–เขียว

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา สิ่งแวดล้อมเด่น เน้นวัฒนธรรม

อัตลักษณ์ของนักเรียน รักษ์สะอาด มารยาทงาม

วิสัยทัศน์

โรงเรียนหนองบัวพิทยาคม มุ่งพัฒนานักเรียนสู่มาตรฐาน สานคุณธรรม นำความรู้ มุ่งสู่ยุคเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วม ตามวิถีหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ

1. พัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานให้เป็นผู้มีความรู้ คู่คุณธรรม

2. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะทางด้านเทคโนโลยี

3. บูรณาการหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน

4. บริหารงานที่เน้นการมีส่วนร่วม

เป้าประสงค์

1. ผู้เรียนมีมาตรฐาน มีความรู้ คู่คุณธรรม

2. ผู้เรียนมีทักษะทางด้านเทคโนโลยี

3. สถานศึกษานำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน

4. มีการบริหารงานที่เน้นการมีส่วนร่วม

กลยุทธ์

1. พัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานให้เป็นผู้มีความรู้ คู่คุณธรรม

2. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะทางด้านเทคโนโลยี

3. บูรณาการหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน

4. บริหารงานที่เน้นการมีส่วนร่วม