ข้อมูลทั่วไปอำเภอนาบอน

ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา

@ สภาพทั่วไปของสถานศึกษา

ชื่อสถานศึกษา : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาบอน

ที่อยู่ : 78 หมู่ที่ 2 ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน

จังหวัด : นครศรีธรรมราช

เบอร์โทรศัพท์ : 075-491301 เบอร์โทรสาร : 075-491455

E-mail ติดต่อ : Email: Naborn@nfe.go.th

สังกัด : สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

@ ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่เลขที่ ๗๘ หมู่ที่ ๒ ตำบลนาบอน บริเวณศูนย์ราชการอำเภอนาบอน โดยใช้อาคาร ๒ ชั้น ซึ่งเดิมเป็นอาคารสำนักงานกาประถมศึกษาอำเภอนาบอน ซึ่งได้ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษา เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ภายใต้ชื่อศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนาบอน สังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๖ กรมการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งได้ยุบเปลี่ยนเป็น สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ และเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้มีกฤษฎีกา ประกาศใช้พระราช บัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช ๒๕๕๑ และได้เปลี่ยนชื่อสถานศึกษา จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนาบอน เป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาบอน เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ มีชื่อย่อว่า “กศน.อำเภอนาบอน” ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง บัญชีรายชื่อสถานศึกษาฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๖๐ ง หน้า ๑ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑ และแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ที่๒๓๔ หน้าที่ ๘ และมีอำนาจและหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.๒๕๕๑และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๖๐ ง หน้า ๒ และหน้า ๓ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑ ปัจจุบัน มีนายบุญเลิศ เกตุกษัตริย์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาบอน

แผนที่อำเภอนาบอน

อาณาเขตที่ตั้งสถานศึกษา : อาณาเขตและการคมนาคม

อำเภอนาบอน ตั้งอยู่พื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลนาบอน อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวเมืองประมาณ 77 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอฉวางและอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ลักษณะภูมิประเทศ

อำเภอนาบอนมีพื้นที่ทั้งหมด 192,899 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 120,561.80 ไร่ สภาพพื้นที่สูง หรือที่ลาดเชิงเขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 40 – 50 เมตร เหมาะกับการทำสวนยางพารา สวนกาแฟ สวนโกโก้

ลักษะภูมิอากาศ

อำเภอนาบอน ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดผ่านอ่าวไทยและมรสุม –ตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย มี 2 ฤดู คือ

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคม ถึง กลางเดือนธันวาคม และมีฝนตกมากที่สุดช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 1,200 มิลลิลิตร

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนธันวาคม ถึง กลางเดือนพฤษภาคม อากาศจะเริ่มร้อนมากที่สุดในเดือนเมษายนของทุกปี อุณหภูมิเฉลี่ย 32 องศาเซลเซียส

ทรัพยากรธรรมชาติ

ดิน

1.1 ดินในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดจากตะกอนที่มาจากแม่น้ำลำคลอง ค่อย ๆ สูงขึ้น เหมาะแก่ การทำเกษตร

1.2 ดินบริเวณที่ราบสูงเชิงเขา ในอำเภอนาบอน สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และทำนา

น้ำ

อำเภอนาบอน มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร คือ ลำคลอง จำนวน 6 สาย มีห้วย หนองบึง ประมาณ 18 แห่ง มีน้ำเฉพาะฤดูฝน สระน้ำ จำนวน 9 แห่ง มีน้ำเก็บกักใช้ได้ตลอดปี ส่วนแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีน้ำใช้ตลอดปีมีจำนวน 3 สาย คือ

2.1 คลองจัง มีน้ำตลอดปี การทำเกษตรค่อนข้างได้ผลดี โดยน้ำไหลผ่านท้องที่ หมู่ที่ 4,5,6,7 ตำบล นาบอน

2.2 คลองมิน เป็นสายน้ำสำคัญต่อการทำเกษตรของอำเภอนาบอน ไหลผ่านท้องที่หมู่ที่

3,4,5,7 ตำบลแก้วแสน และหมู่ที่ 2 ตำบลนาบอน ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำตาปี อำเภอฉวาง

2.3 คลองลำปะ ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาคลองวังหีบซึ่งเป็นเทือกเขาเดียวกับเขาเหมนน้ำไหลผ่านท้องที่หมู่ที่ 1,4 ตำบลนาบอน

ป่าไม้

อำเภอนาบอนมีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 16,867 ไร่ ในพื้นที่บางส่วนเป็นป่าสงวน มีการบุกรุกเพื่อทำสวนการเกษตร และเป็นป่าโบราณในส่วนที่เป็นเทือกเขาพระสุเมรุ มีพันธุ์ไม้นานาชนิด