Download program>>>
Download Library sensor DHT11 วัดอุณหภูมิ
Arduino Uno เป็นบอร์ดวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้ชิปประมวลผล ATmega328
มีขาสัญญาณอินพุตเอาต์พุตแบบดิจิตอลจำนวน 14 ขา ในจำนวนนี้ยังสามารถส่งสัญญาณเอาต์พุตแบบ PWM ได้จำนวน 6 ขา ขาสัญญาณอินพุตแบบอนาล็อกจำนวน 6 ขา คริสตัลกำเนิดความถี่สัญญาณนาฬิกา16 MHz พอร์ตเชื่อมต่อ USB, ขั้วต่อสัญญาณแบบICSP และปุ่มรีเซ็ต Arduino Uno มีทุกสิ่งที่จำเป็นในการสนับสนุนระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ เพียงแค่เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยสาย USB หรือจ่ายไฟด้วย AC-DC อะแดปเตอร์หรือแบตเตอรี่
ภาพจาก http://digital.csic.es/bitstream/10261/127788/7/D-c- Arduino uno.pdf
ข้อมูลทางเทคนิค
ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ : ATmega328
แรงดันไฟฟ้าที่ต้องการในการทำงาน : 5 โวลต์
ย่านแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟที่เหมาะสม : 7-12 โวลต์
ย่านแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟที่รองรับได้ : 6-20 โวลต์
ขาอินพุตแบบอะนาล็อก : 6 ขา
กระแสไฟฟ้า DC สูงสุดต่อขาสัญญาณอินพุตเอาต์พุต : 40 มิลลิแอมป์
กระแสไฟฟ้า DC ของขาจ่ายแรงดัน 3.3 V : 50 มิลลิแอมป์
หน่วยความจำแฟลช : 32 กิโลไบต์ ใช้บรรจุบู๊ตโหลดเดอร์ 0.5 กิโลไบต์
หน่วยความจำสแตติกแรม : 2 กิโลไบต์
หน่วยความจำอีอีพรอม : 1 กิโลไบต์
ความเร็วสัญญาณนาฬิกา : 16 เมกะเฮริตซ์
แหล่งจ่ายไฟ
Arduino Uno สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้จากพอร์ต USB หรือจากแหล่งจ่ายไฟภายนอก โดยบอร์ดสามารถเลือกแหล่งจ่ายไฟฟ้าได้โดยอัตโนมัติ
แหล่งไฟจากภายนอก (ที่ไม่ใช่ USB) สามารถใช้ได้ทั้งแบบ AC - DC อะแดปเตอร์ หรือแบตเตอรี่ ขั้วไฟฟ้าของอะแดปเตอร์สามารถเชื่อมต่อด้วยการเสียบปลั๊กขนาด 2.1mm เข้ากับแจ็คเพาเวอร์ของบอร์ด หรืออาจต่อจากแบตเตอรี่เข้าที่ขั้ว Gnd และ Vin
บอร์ดต้องการแรงดันไฟฟ้าของ 6-20 โวลต์ แต่แรงดันของแหล่งจ่ายไฟฟ้าน้อยกว่า 7V แรงดันเอาต์พุตที่ขา 5V อาจน้อยว่าห้าโวลต์ และบอร์ดอาจไม่เสถียร แต่ถ้าใช้มากกว่า 12V, ไอซีควบคุมแรงดันไฟฟ้าจะร้อนมากเกินไป และเกิดความเสียต่อบอร์ดได้ ช่วงแรงดันของแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่แนะนำคือ 7-12 โวลต์
ขาเพาเวอร์ซัพพลาย มีดังต่อไปนี้:
• VIN ขารับแรงดันไฟฟ้าเลี้ยงบอร์ด Arduino จากแหล่งจ่ายไฟภายนอก
• 5V ขาจ่ายแรงดันไฟ 5V ที่ได้จากแรงดันจาก VIN ผ่านวงจรเร็กกูเลเตอร์ภายในบอร์ด หรือจากแรงดันที่ได้
• 3V3 ขาจ่ายแรงดันไฟฟ้า3.3 โวลต์ ที่สร้างขึ้นโดยควบคุมวงจรเร็กกูเลเตอร์ภายในบอร์ด จ่ายกระแสสูงสุดคือ 50 มิลลิแอมป์
• GND ขากราวน์
หน่วยความจำ
ไมโครคอนโทรลเลอร์ ATmega328 มี หน่วยความจำแฟลชสำหรับการจัดเก็บรหัสขนาด 32 กิโลไบต์ (ซึ่งหน่วยความจำนวน 0,5 KB ที่จะใช้สำหรับการบูต ); หน่วยความจำสแตติกแรม(SRAM )ขนาด 2 กิโลไบต์ และหน่วยความจำอีอีพรอม 1 กิโลไบต์ (ซึ่งสามารถอ่านและเขียนด้วยคำสั่งในไลบราลี EEPROM)
อินพุตเอาต์พุต
ขาดิจิตอลทั้ง 14 ขาบนบอร์ด Uno สามารถนำมาใช้เป็น input หรือ output ได้โดยใช้ฟังก์ชั่น
pinMode () digitalWrite () และ digitalRead () แต่ละขาทำงานที่แรงดัน 5 โวลต์ สามารถจ่ายหรือรับกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 40 mA และมีตัวต้านทานพูลอัพภายในค่า 20-50 kohms (ปกติจะยังไม่ต่อตัวต้านทานนี้ไว้)
ภาพจาก http://www.arduino.cc/en/Hacking/PinMapping168
นอกจากนี้บางขายังมีหน้าที่พิเศษดังนี้
ขาพอร์ตสื่อสารอนุกรม ขา RX (ขา 0) ขารับสัญญาณสื่อสารแบบอนุกรม ขา TX (ขา 1) ขาส่งสัญญาณสื่อสารแบบอนุกรม
ขารับสัญญาณอินเตอร์รัพต์ภายนอก Interrupts: ขา2 และ ขา3 ขาเหล่านี้สามารถกำหนดค่าให้รับสัญญาณขัดจังหวะได้ทั้งแบบลอจิกสูง ลอจิกต่ำ หรือ แบบอื่นๆ ดูรายละเอียดฟังก์ชันattachInterrupt ()
ขาสัญญาณเอาต์พุตแบบPWM ขา3, ขา5, ขา6, ขา9, ขา10, และ ขา 11 สามารถส่งสัญญาณPWM ขนาด8 บิต ด้วยฟังก์ชันanalogWrite ()
ขาพอร์ตสื่อสารแบบ SPI ขา SS( ขา10), ขาMOSI (ขา11 ), ขาMISO (ขา12 ), ขาSCK (ขา13 ) ขาสัญญาณสื่อสารแบบ SPI ที่สามารถทำงานได้ในระดับฮาร์ดแวร์
ขาควบคุมแอลอีดี ขา 13 เป็นขาที่ต่อกับแอลอีดีที่ติดตั้งบนบอร์ด เมื่อขา 13จ่ายเอาต์พุตลอจิกหนึ่ง แอลอีดี จะติดสว่าง และเมื่อจ่ายเอาต์พุตลอจิกศูนย์ แอลอีดี จะดับ
อะนาล็อกอินพุต
บอร์ดอูโน่มีอะนาล็อกอินพุต ุ6 ช่อง (ขาA0- ขาA5) ซึ่งแต่ช่องมีความละเอียด 10 บิต แบ่งระดับความแตกต่าง 1024 ระดับ โดยเริ่มต้นจากระดับ GND 0 โวลต์ ถึงระดับลอจิกหนึ่ง 5 โวลต์ และสามารถจะเปลี่ยนระดับแรงดันอ้างอิงได้โดยใช้ป้องแรงดันอ้างอิงภายนอกให้ ขา Aref ร่วมกับการใช้ฟังก์ชั่น analogReference() นอกจากนี้ยังมีบางขาที่มีหน้าที่พิเศษ ได้แก่
ขาพอร์ตสื่อสารแบบ I2C: ขาSDA (ขาA4 ) และ ขาSCL (ขาA5 )
ขาAref แรงดันอ้างอิงสำหรับอินพุตอะนาล็อก ใช้งานร่วมกับการใช้ฟังก์ชั่น ฟังก์ชั่น analogReference()
ขารีเซ็ต เมื่อได้รับลอจิกศูนย์ไมโครคอนโทรลเลอร์ จะรีเซ็ทการทำงาน โดยทั่วไปจะใช้ในการเพิ่มปุ่มรีเซ็ต ไว้ที่วงจรส่วนขยาย
การสื่อสาร
บอร์ด Arduino Uno มีพอร์ตสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือบอร์ดArduino อื่น ๆ หรือไมโครคอนโทรลเลอร์อื่น ๆ หลายรูปแบบ ตามความสามารถของไมโครคอนโทรลเลอร์ ATmega328 ที่มีพอร์ตสื่อสารอนุกรมแบบ UART TTL (5V) ที่ขาดิจิตอล 0 (RX) และ ขาดิจิตอล1 (TX) ช่องทางการสื่อสารแบบอนุกรมยังเชื่อมโยงผ่าน USB และปรากฏเป็นพอร์ต COM เสมือนซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยเฟิร์มแวร์ 8U2 คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อ,ต่อได้Ffpใช้ไดรเวอร์ USBCOM มาตรฐาน และไม่ต้องใช้ไดรเวอร์ภายนอกแต่อย่างไรก็ตาม Windows เป็นยังต้องการไฟล์ * .inf
ซอฟแวร์ Arduino แสดงผลการสื่อสารผ่านพอร์ตแบบอนุกรมทาง USB ระหว่างบอร์ดกับคอมพิวเตอร์ผ่านขา RX และ TX ไฟ LED จะกะพริบเมื่อข้อมูลถูกส่งผ่านทาง USB ( แต่ไม่กระพริบสำหรับการสื่อสารแบบอนุกรมโดยตรงบนขา 0 และ 1)
ไลบราลี SoftwareSerial ช่วยในการเพิ่มพอร์ตสื่อสารแบบอนุกรม ให้ขาดิจิตอลบนบอร์ดอูโน่
และไมโครคอนโทรลเลอร์ ATmega328 ยังสนับสนุน I2C (TWI) ซอฟแวร์ Arduino ใช้ร่วมกับไลบราลี wire เพื่อให้I2C บัสใช้งานได้ง่าย และการสื่อสาร SPI