บทที่ 1 ว่าด้วยเรื่อง "คลัสเตอร์"
ก่อนจะกล่าวถึงเนื้อหาของ MySQL Cluster นั้น ขออธิบายถึงคำว่า "คลัสเตอร์" หรือที่เขียนในภาษาอังกฤษว่า "Cluster” ในความหมายของแวดวงคอมพิวเตอร์กันให้ชัดเจน หากกล่าวถึงคำว่าคลัสเตอร์ในแวดวงคอมพิวเตอร์ ผู้เขียนเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์ จะนึกถึงระบบที่มีสภาพพร้อมใช้งานสูง หรือที่เรียกว่า High Availability (HA) แต่แท้จริงแล้วคำว่าคลัสเตอร์ในวงการคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน มีการประยุกต์ใช้งานในหลายรูปแบบ พอจะแบ่งกลุ่มได้ดังต่อไปนี้
เป็นระบบคลัสเตอร์ในรูปแบบที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยที่คนในแวดวงคอมพิวเตอร์มักเรียกว่า HA ออกเสียงว่า "เฮช เอ" ซึ่งย่อมากจากคำว่า High Availability หรือ "สภาพพร้อมใช้งานสูง" (ตามหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับปี 2546) บางคนเรียกว่า ระบบที่มีความคงอยู่สูง เรามักจะเจอระบบคลัสเตอร์แบบนี้กับระบบงานสำคัญ ๆ ที่ต้องการจะให้ระบบให้บริการได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แบ่งออกได้ออกเป็น 2 แบบ
เป็นระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้ามาช่วยกันทำงานเพื่อรองรับต่อปริมาณงานจำนวนมาก โดยใช้หลักการกระจายภาระงานแบ่งให้ทุกเครื่องได้รับภาระงานอย่างเท่าเทียมกัน จะพบในระบบขนาดใหญ่ เช่น ระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือแอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์ที่มีผู้ใช้งานพร้อม ๆ กันจำนวนมาก เป็นต้น ในการกระจายภาระงานสำหรับระบบแบบนี้ มีหลายเทคนิคตั้งแต่การใช้ DNS Round Robin, อุปกรณ์กระจายภาระงาน หรือแม้กระทั่งใช้ซอฟต์แวร์กระจายภาระงาน ซึ่งรายละเอียดจะได้กล่าวถึงในฉบับถัด ๆ ไป
เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากเชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายความเร็วสูง แล้วใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวประสานการทำงานระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ปรับแต่งสภาพแวดล้อมให้ทำงานร่วมกัน มีระบบจัดลำดับงาน (Job Scheduler) มีไลบารีการประมวลผลแบบขนาน มีการใช้ระบบไฟล์ผ่านเครือข่ายอย่าง Network File System (NFS) มีการสร้างสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้รู้สึกเสมือนใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เครื่องเดียว วัตถุประสงค์คือนำมาใช้งานแทนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่อย่างซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ระบบแบบนี้เราเรียกกันว่าระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง
MySQL Cluster เองจัดเป็นระบบคลัสเตอร์ที่ทำงานแบบ MySQL ในรุ่นที่ทำงานเป็นกลุ่มสำหรับรองรับการทำภาวะคงอยู่สูง หรือ High Availability สำหรับระบบที่ต้องรองรับงานแบบ 7/24 และรองรับปริมาณงานจำนวนมากและการเข้าใช้งานจากผู้ใช้พร้อมๆ กันจำนวนมากได้เป็นอย่างดี