(10/7/2009)
งานขำๆ ทำยามว่าง...โดยหลังจากได้บอร์ดมาแล้ว ผมก็รีบประกอบเลย กับโปรเจ็ค "The World's Smallest Arduino" (Clone) ผลออกมาเป็นดังนี้ครับ (^_^)
ขนาดประมาณ 2x2 cm !!! สูงประมาณ 5-6mm รวม socket แล้ว !!!
ต่อไป จะเอาบอร์ดไปแทรก ไปซ่อน ไว้ที่ไหนก็สบายเลย mini robot นี่จิ๊บๆ มากเลย โปรดคอยติดตามนะครับ
เอกสารคู่มือการใช้งานเบื้องต้นสำหรับ Pico นี้ เชิญ download ที่ด้านล่้างครับ
ขอบคุณครับ
เป็นหนึ่ง (^_^)
(20/06/2009)
หลังจากที่ได้ออกแบบ DuinoThumb หรือ Arduino ขนาดหัวแม่มือผ่านไป ในใจผมถามตัวเองตลอดมาว่า จะสามารถทำให้เล็กกว่านี้ได้อีกมั๊ย ? เลยคิดว่าน่าจะลองเปลี่ยนอุปกรณ์มาเป็น SMD ดู จากการทดลอง แค่เปลี่ยนเป็น SMD ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย สุดท้ายหลังจาก คิดพยายามมาหลายวัน ในที่สุดก็ผลักดันจนสำเร็จเป็นรูปร่างแล้วครับ กับโปรเจ็คใหม่ที่เป็นบอร์ดอเนกประสงค์อีกตัวหนึ่ง สามารถใช้งานได้ทั้ง AVR, USB Device และ Arduino เช่นเดิม และด้วยความที่มันเล็กมาก เมื่อรวมกับ Arduino จึงได้กลายเป็น "The World's Smallest Arduino !!!" โดยบอร์ดมีขนาดเล็กประมาณ 2.1 x 2.1 cm สูงประมาณ 6 mm (รวม socket แล้ว) ถ้านึกภาพไม่ออก แนะนำว่าให้หยิบเหรียญสองบาทมาดูครับ (เหรียญเดียว!!!) ถือได้ว่าเล็กกว่า Arduino Pro Mini และ Arduino Stamp ของ SparkFun เสียอีก (หุหุ) และด้วยความที่ก่อนหน้านี้มี Arduino รุ่น *"Nano" ออกมา ครั้งนี้ผมเลยตั้งชื่อบอร์ดนี้ ว่า **"Pico" ครับ
การออกแบบครั้งนี้ ผมได้เลียนแบบ Arduino Pro Mini ที่แยกส่วน USB ออกจากตัว Arduino ทำให้บอร์ดเล็กลงมาก โดยขั้วต่อเป็นแบบ USB ตัวเล็ก ผมมองว่าต้องต่อสายวุ่นวายอีกมากมาย ผมเลยจัดการทำหัวเสียบแบบ USB-A เข้ามาเลย ทำให้การใช้งานอเนกประสงค์ค่อนข้างมาก
ข้อดีของการออกแบบแยกส่วนกันนี้ก็คือ เมื่อคุณพัฒนา Arduino คุณก็เสียบหัวต่อ USB เข้ามา แต่เมื่อพัฒนาเสร็จแล้ว ก็ถอดออกไปใช้ในงานจริงได้ทันที !! ด้วยเทคนิคนี้ทำให้เล็กและไม่เปลืองเนื้อที่ครับ (^_^) หรือถ้าต้องการใช้งานเป็นอุปกรณ์ USB device ก็สามารถ jump สายเข้ามาหรือเอา connector ก้างปลา เชื่อมได้ทันที !!!
ภาพจำลอง 3D นี้ ค่อนข้างใกล้เคียงต้นฉบับมาก แต่อาจจะมีผิดเล็กน้อยตรงที่ปุ่มกด ที่ใหญ่เกินไปแล้วหัวต่อ USB เป็นตัวเมียครับ (ของจริงเป็นตัวผู้) Switch ที่ใช้งานนี้เป็นปุ่มจากโทรศัพท์มือถือ หรือ remote ตัวเล็กมากๆ และก็แบนๆ ครับ
หงายดูกันชัดๆ ด้านล่าง อุปกรณ์ทุกตัวเป็นแบบ SMD ทั้งสิ้น ตัวเก็บประจุ ก็เป็นแบบเบอร์เล็ก (0603) มีหลายคนที่รู้จักสอบถามว่า สามารถจะทำให้เล็กกว่านี้อีกได้หรือไม่ โดยแนะนำว่าให้เปลี่ยน socket เป็นแบบ 2mm จะทำให้ขนาดเล็กลงได้อีกนิดหน่อย แต่ผมแย้งว่า ถ้าทำแบบนั้นมันจะ "เล็กเกินไป" และ "มันจะไม่เหมาะกับการพัฒนา" หรือ "การใช้งานจริงๆ" ครับ (^_^)
ขนาดของมันประมาณ 2.1 x 2.1 cm คาดว่าน่าจะเปิดโอกาสในการพัฒนา ด้วยไอเดียอีกหลากหลาย คุณสามารถที่จะเอาไปประยุกต์ใช้ในงานวัดคุมต่างๆ ได้มากมายแบบไม่มีขีดจำกัด เช่น สมองกลแบบสวมใส่ , หุ่นยนต์จิ๋ว , สมองกลขนาดเล็กต่างๆ อีกมากมายบานตะเกียง แต่วันนี้ หิวข้าวแล้ว ผมคงต้องขอจบการรีวิว "The World's Smallest Arduino" ไว้แต่เพียงแค่นี้ก่อน ถ้าได้ความคืบหน้า จะรีบมารายงานทันทีครับ.
เอกสารคู่มือการใช้งานเบื้องต้นสำหรับ Pico นี้ เชิญ download ที่ด้านล่้างครับ
ขอบคุณครับ (^^)
เป็นหนึ่ง
* Nano = 1 ส่วนพันล้าน (0.000 000 001)
* Pico = 1 ส่วนล้านล้าน (0.000 000 000 001)