หน่วยการเรียนรู้ 5

ขั้นตอนในการสร้างตาราง มี ให้เลือก 3 วิธี คือ

    • วิธีที่ 1 เลือกเมนู Insert >Table ดังภาพ

    • วิธีที่ 2 ที่กลุ่มเครื่องมือ Common หรือกลุ่มเครื่องมือ Layout เลือกคลิกที่

    • วิธีที่ 3 กดที่คีย์บอร์ด < Ctrl + Alt + T>

โดยทั้ง 3 วิธีนี้ จะแสดงหน้าต่าง Table ใช้สำหรับกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับตาราง ดังภาพ

รายละเอียดของตาราง สามารถอธิบายได้ ดังนี้

    • หมายเลข 1 Rows : กำหนดจำนวนแถว

    • หมายเลข 2 Columns : กำหนดจำนวนคอลัมน์

    • หมายเลข 3 Table width : ความกว้างของตาราง มีหน่วยเป็น พิกเซล หรือเปอร์เซนต์

    • หมายเลข 4 Border thickness : ความหนาของตาราง

    • หมายเลข 5 Cell padding : ระยะห่างระหว่างขอบเซลล์กับข้อความภายในเซลล์

    • หมายเลข 6 Cell spacing : ระยะห่างระหว่างเซลล์แต่ละเซลล์ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน

    • หมายเลข 7 None : ไม่มีการกำหนดหัวข้อของข้อมูลในตาราง

    • หมายเลข 8 Left : กำหนดให้คอลัมน์แรกเป็นหัวข้อของเซลล์

    • หมายเลข 9 Top : กำหนดให้แถวแรกของตารางเป็นหัวข้อของเซลล์

    • หมายเลข 10 Both : กำหนดให้ทั้งแถวและคอลัมน์แรกเป็นหัวข้อของเซลล์

    • หมายเลข 11 Caption : กำหนดหัวข้อของตาราง

    • หมายเลข 12 Align caption : จัดวางหัวข้อของตารางไว้ในตำแหน่งที่ต้องการ

        • default : ไม่มีการกำหนดค่า ใช้ค่าที่กำหนดแบบอัตโนมัติ คือ จัดวางหัวข้อของตารางไว้ข้างบนและจัดวางตรงกลางของตาราง ดังภาพ

        • Top : จัดวางหัวข้อของตารางไว้ด้านบน และจัดตำแหน่งตรงกลางของตาราง

        • bottom : จัดวางหัวข้อของตารางไว้ด้านล่าง และจัดตำแหน่งตรงกลางของตาราง

        • left : จัดวางหัวข้อของตารางไว้ด้านบน และจัดตำแหน่งชิดซ้ายของตาราง

        • right : จัดวางหัวข้อของตารางไว้ด้านบน และจัดตำแหน่งชิดขวาของตาราง

    • หมายเลข 13 Summary : เขียนคำอธิบายเกี่ยวกับตาราง แสดงให้เห็นบนหน้าเว็บ

    • หมายเลข 14 คลิกปุ่ม OK เมื่อกำหนดค่าตามต้องการเสร็จแล้ว

การปรับขนาดช่องตาราง

เมื่อเรากำหนดให้ ตารางมี 4 คอลัมน์ 4 แถว ระยะห่างระหว่างข้อความภายในเซลล์กับขอบเซลล์ (Cell padding) เป็น 5 พิกเซล และระยะห่างระหว่างเซลล์แต่ละเซลล์ (Cell spacing) เป็น 2 พิกเซล จะได้ดังภาพ

เมื่อเราต้องการที่จะปรับแต่งขนาดหรือยืดหดช่องตารางในคอลัมน์หรือแถว สามารถทำได้โดยวางเคอร์เซอร์ ที่เส้นทั้งแนวตั้ง และแนวนอน เคอร์เซอร์จะเปลี่ยนเป็นลูกศร 2 ทาง เราสามารถดึงยืดหด ได้ตามความต้องการ ดังภาพ

การใส่ข้อมูลและภาพในตาราง

เมื่อปรับแต่งช่องตารางได้ตามต้องการแล้ว เราสามารถใส่ข้อความในตารางที่เราสร้างได้ โดยตั้งเคอร์เซอร์ที่ช่องเซลล์ที่ต้องการใส่ข้อความและพิมพ์ข้อความลงไป ดังภาพ

การใส่ภาพในตาราง ก็ทำเช่นเดียวกับการใส่ข้อความ คือ ถ้าต้องการใส่ภาพในเซลล์ไหน ให้ตั้งเคอร์เซอร์ในเซลล์นั้น แล้วใช้เครื่องมือแทรกภาพ เพื่อเข้าไปเลือกไฟล์ภาพ ที่เก็บอยู่ในโฟลเดอร์ images ได้แล้วคลิกปุ่ม OK ดังภาพ

ภาพจะเข้ามาปรากฏ ในช่องเซลล์ ที่เราเลือกตามต้องการ ดังภาพ

เมื่อเรานำภาพเข้ามาไว้ในเซลล์ได้ตามต้องการแล้ว สามารถปรับแต่งภาพได้ โดยคลิกที่ภาพ แล้วกำหนดค่าของภาพได้จาก Property Inspector ดังภาพ

การกำหนดรายละเอียดของภาพ มีดังนี้

    • หมายเลข 1 ใส่ชื่อภาพ

    • หมายเลข 2 ปรับความสูงของภาพ

    • หมายเลข 3 ปรับความกว้างของภาพ

    • หมายเลข 4 แสดงที่เก็บไฟล์ภาพ

    • หมายเลข 5 สำหรับการเชื่อมโยงไปยังข้อมูลหรือเว็บไซต์อื่น สามารถใส่ที่อยู่ หรือคลิกเลือกได้จากโฟลเดอร์ด้านขวาของช่อง

    • หมายเลข 6 ใส่ข้อความกำกับภาพ

    • หมายเลข 7 กำหนดความหนาเส้นขอบภาพ

    • หมายเลข 8 เลือกจัดตำแหน่งการวางภาพ

  • หมายเลข 9 กำหนดตำแหน่งของภาพในหน้าเว็บเพจ

การเลือกตาราง แถว คอลัมน์ และเซลล์

การเลือกตารางทั้งตารางเพื่อปรับแต่ง สามารถเลือกทำได้ 3 วิธีดังนี้

    1. เลื่อนเมาส์ไปที่ขอบตาราง จนเคอร์เซอร์เปลี่ยนเป็นรูป

    1. แล้วคลิกจะเกิดการเลือกทั้งตาราง หรือ

    2. ให้คลิกที่เซลล์ใดก็ได้ในตาราง และใช้คำสั่ง Modify>Table>Select Table หรือ

    3. คลิกที่แท็ก < table > ที่แถบสถานะด้านล่างของเว็บที่กำลังทำงาน ดังภาพ

การเลือกแถว

การเลือกแถว ทำได้ง่าย ๆ โดยนำเคอร์เซอร์ไปวางที่หน้าแถวที่ต้องการจะเลือก เคอร์เซอร์ จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศร ให้คลิกเลือก แถวจะถูกเลือกทั้งแถวตามต้องการ ดังภาพ

อีกวิธีหนึ่งในการเลือกแถว คือ คลิกเลือกเซลล์ใดก็ได้ในตาราง แล้วคลิกแท็ก < tr > ทุกเซลล์ในแถวนั้นจะถูกเลือก ดังภาพ

การเลือกคอลัมน์

การเลือกคอลัมน์ ดำเนินการคล้าย ๆ กับการเลือกแถว คือ นำเคอร์เซอร์ไปวางไว้บนคอลัมน์ที่ต้องการเลือก จะปรากฏลูกศรสีดำ ให้คลิกเมาส์ คอลัมน์จะถูกเลือกทั้งคอลัมน์ ดังภาพ

การเลือกเซลล์

การเลือกเซลล์ ทำได้ง่าย ๆ 3 วิธี ด้วยกัน คือ

    1. ถ้าต้องการเลือกเซลล์เดียว ให้วางเคอร์เซอร์ที่เซลล์นั้น ๆ แล้วคลิกแท็ก < td > ข้างล่าง ดังภาพ

    1. ต้องการเลือกหลายเซลล์ที่อยู่ติดกันในตาราง ให้คลิกเลือกเซลล์แรก และกดคีย์ < Shift > ค้างไว้ แล้วกดเซลล์สุดท้าย จะเป็นการเลือกเซลล์ทุกเซลล์ที่อยู่ระหว่างเซลล์ทั้งสอง เช่น คลิกที่เซลล์ เลข 1 และคลิกที่เซลล์ M.S.in Adult Education เซลล์ที่เป็นชื่อ และภาพ ก็จะถูกเลือกด้วย ดังภาพ

    1. ถ้าต้องการเลือกเซลล์ที่ไม่อยู่ติดกัน ให้คลิกเลือกที่เซลล์แรกที่ต้องการ แล้วกดคีย์ < Ctrl > ค้างไว้ แล้วเลือกคลิกเซลล์ต่อไป เซลล์จะถูกเลือกได้ตามความต้องการ ดังภาพ

การปรับแต่งรายละเอียดของตาราง

การปรับแต่งรายละเอียดของตาราง นอกจากจะใช้เมาส์ในการปรับแต่งแล้ว เรายังปรับแต่งรายละเอียดของตารางได้ โดยใช้ Property Inspector เมื่อเราคลิกที่ตาราง คอลัมน์ หรือเซลล์ ในตาราง ก็สามารถที่จะปรับขนาด เซลล์ แถว คอลัมน์ ปรับความสูง ความกว้าง ความหนาของตาราง เลือกตำแหน่งการวางตารางบนเว็บเพจได้ ดังภาพ

เมื่อเราคลิกเลือกตาราง จะเกิด Property Inspector ของตาราง ให้เราปรับรายละเอียดได้ดังนี้

    • หมายเลข 1 กำหนดชื่อของตารางได้

    • หมายเลข 2 กำหนดจำนวนแถวและคอลัมน์

    • หมายเลข 3 กำหนดความกว้างและความสูงของช่องตาราง

    • หมายเลข 4 กำหนดสีพื้นหลังของตาราง

    • หมายเลข 5 กำหนดสีพื้นหลังของตาราง

    • หมายเลข 6 กำหนดระยะห่างระหว่างข้อความในตารางกับขอบตาราง ค่านี้มีผลกับทั้งตาราง

    • หมายเลข 7 กำหนดระยะห่างระหว่างเซลที่อยู่ในตาราง และมีผลทั้งตาราง

    • หมายเลข 8 กำหนดรูปภาพพื้นหลังให้กับตาราง

    • หมายเลข 9 กำหนดการวางตำแหน่งของตารางบนหน้าเว็บ

    • หมายเลข 10 กำหนดความหนาของเส้นขอบตาราง

    • หมายเลข 11 คลิกที่ปุ่ม เพื่อลบค่าความสูง หรือความกว้างที่กำหนดให้กับตาราง

การจัดเรียงข้อความในตาราง

การจัดเรียงข้อความในตาราง จะทำให้ดูสวยงาม เป็นระเบียบ โดยเราสามารถจัดเรียงข้อความ ได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ดูได้จากภาพ ดังนี้

จากภาพเป็นการจัดเรียงข้อมูล ตามแนวนอน โดยคลิกที่ช่องตาราง แล้วคลิกเลือกที่ Horz จาก Property Inspector

    1. หมายเลข 1 คลิกเลือก

    1. เป็นการจัดให้ข้อมูลอยู่ชิดซ้ายของช่องตาราง

    2. หมายเลข 2 คลิกเลือก

    3. เป็นการจัดให้ข้อมูลอยู่กึ่งกลางของช่องตาราง

    4. หมายเลข 3 คลิกเลือก

    5. เป็นการจัดให้ข้อมูลอยู่ชิดขวาของช่องตาราง

สำหรับ

เป็นการจัดเรียงข้อมูลแบบปกติ คือ อยู่ชิดซ้ายของช่องตาราง

    1. เป็นการจัดให้ข้อมูลอยู่บนสุดของช่องตาราง

    2. หมายเลข 2 คลิกเลือก

    3. เป็นการจัดให้ข้อมูลอยู่กึ่งกลางของช่องตาราง

    4. หมายเลข 3 คลิกเลือก

    5. เป็นการจัดให้ข้อมูลอยู่ล่างสุดของช่องตาราง

การแทรกแถวและคอลัมน์

การแทรกแถวและคอลัมน์ มีประโยชน์ คือ เมื่อเราทำตารางเสร็จเรียบร้อยแล้วและต้องการที่จะเพิ่มแถวหรือคอลัมน์ในช่วงไหน สามารถทำได้ตามต้องการ ดังภาพ

การแทรกแถว

จากภาพเราจะแทรกแถว ให้เราตั้งเคอร์เซอร์ในช่องตารางที่ต้องการ แล้วคลิกขวา ใช้คำสั่ง Table>Insert Row จะปรากฏแถวเพิ่มขึ้น ดังภาพด้านล่างนี้

การแทรกคอลัมน์

การแทรกคอลัมน์ ให้เราตั้งเคอร์เซอร์ในช่องตารางที่ต้องการจะแทรก ตัวอย่าง เราจะแทรกคอลัมน์ ระหว่างชื่อ กับรูปภาพ ให้เราตั้งเคอร์เซอร์ที่ช่องรูปภาพแล้วคลิกขวา ใช้คำสั่ง Table>Insert Column ดังภาพ

เมื่อใช้คำสั่ง Table>Insert Column จะปรากฏคอลัมน์เพิ่มขึ้นมา 1 คอลัมน์ และอยู่ระหว่างคอลัมน์ชื่อ และคอลัมน์รูปภาพ ดังภาพ

การแทรกหลายแถว/คอลัมน์

ถ้าเราต้องการจะแทรกหลายแถว หรือหลายคอลัมน์ ในทีเดียวกัน สามารถกระทำได้ โดยไม่ต้องแทรกทีละแถว ทีละคอลัมน์ ให้ตั้งเคอร์เซอร์ในช่องตารางที่ต้องการจะแทรก ตัวอย่าง เราต้องการเพิ่ม 2 คอลัมน์ ต่อจากช่อง ชื่อ ก็คลิกตั้งเคอร์เซอร์ในช่องชื่อ แล้วคลิกขวา เลือกคำสั่ง Table>Insert Rows or Columns...ดังภาพ

เมื่อคลิกเลือก Insert Rows or Columns...แล้วจะปรากฏหน้อจอ ดังนี้

จากภาพ เราต้องกำหนด ดังนี้

    1. หมายเลข 1 เลือกว่าจะแทรกแถวหรือคอลัมน์ จากตัวอย่าง เราต้องการแทรกคอลัมน์ ก็คลิกเลือกคอลัมน์

    2. หมายเลข 2 ให้เลือกระบุจำนวนคอลัมน์ที่ต้องการแทรก ในที่นี้ เราต้องการแทรก 2 คอลัมน์ ก็ใส่เลข 2

    3. หมายเลข 3 เลือกว่าจะแทรกก่อนหรือหลังคอลัมน์ ในแถวที่เลือก แล้วคลิกปุ่ม OK

ผลลัพธ์ จะปรากฏคอลัมน์เพิ่มขึ้น 2 คอลัมน์ และปรับขนาดของคอลัมน์ได้ตามต้องการ ดังภาพ

การลบแถวและคอลัมน์

เมื่อเราเพิ่มแถว หรือคอลัมน์ได้ ก็สามารถที่จะลบแถวหรือคอลัมน์ที่เราไม่ต้องการใช้งานได้เช่นกัน โดยดำเนินการง่าย ๆ คือ คลิกเลือกแถว หรือคอลัมน์ที่ต้องการจะลบ ดังภาพ

เมื่อเลือกคอลัมน์ที่ต้องการจะลบได้แล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้

    1. กดปุ่ม Delete ที่คีย์บอร์ด หรือ

    2. ตั้งเคอร์เซอร์ในช่องตารางที่ต้องการจะลบ แล้วคลิกขวา เลือกคำสั่ง Table > Delete Column ดังภาพ

    1. หรือตั้งเคอร์เซอร์ในช่องตารางที่ต้องการจะลบ แล้วเลือกคำสั่ง Modify >Table > Delete Column ดังภาพ

    1. การลบแถวก็ทำเช่นเดียวกับ Column คือ เลือกแถวที่ต้องการจะลบ กดปุ่ม Delete ที่คีย์บอร์ด หรือตั้งเคอร์เซอร์ในช่องตารางที่ต้องการจะลบ แล้วคลิกขวา เลือกคำสั่ง Table > Delete Row หรือเลือกคำสั่ง Modify >Table > Delete Row

การรวมและการแบ่งเซลล์

ในการจัดข้อมูลในตารางเพื่อความเหมาะสม เป็นระเบียบเรียบร้อย เราสามารถรวมและแบ่งเซลล์ ได้

การรวมเซลล์

การรวมเซลล์ ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

    1. การรวมเซลล์ จะต้องเป็นเซลล์ที่อยู่ติดกัน โดยให้กด Ctrl ค้างไว้ พร้อมกับเลือกเซลล์ที่ต้องการรวม ดังภาพ

    1. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม

    1. ที่ Property Inspector ของเซลล์ ดังภาพ

    1. หรือคลิกเมาส์ขวา เลือกคำสั่ง Table > Merge Cells ดังภาพ

ผลลัพธ์ที่ได้ ในแถวแรกเซลล์ทุกเซลล์จะถูกรวมกัน ดังภาพ

การแบ่งเซลล์

การแบ่งเซลล์ ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

    1. การแบ่งเซลล์ ให้คลิกตั้งเคอร์เซอร์ในเซลล์ที่ต้องการจะแบ่ง ดังภาพ

  1. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม

  1. ที่ Property Inspector ของเซลล์ ดังภาพ

  1. จะปรากฏหน้าจอ ให้เลือกแบ่งเซลล์ตามแถวหรือคอลัมน์ ในที่นี้ เราจะเลือกเป็น Column และระบุจำนวน เป็น 2 Column แล้วคลิก OK ดังภาพ

  1. ผลลัพธ์ที่ได้ ในแถวแรกเซลล์จะถูกแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ตามต้องการ ดังภาพ

การขยายและลดความกว้างเซลล์ในตาราง

ในเรื่องของเซลล์ นอกจากจะรวมและแยกเซลล์แล้ว ในแต่ละช่องเซลล์ ยังสามารถที่จะขยายและลดความกว้างของเซลล์ในตารางได้

การขยายเซลล์

การขยายเซลล์ เราสามารถเพิ่มความกว้างของเซลล์ได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน โดยตั้งเคอร์เซอร์ ในช่องเซลล์ที่ต้องการจะปรับ แล้วคลิกเมาส์ขวา ใช้คำสั่ง Table > Increse Row Span เพื่อเพิ่มความกว้างของเซลล์ในแนวตั้ง หรือเลือกคำสั่ง Table > Increse Column Span เพิ่มความกว้างเซลล์ตามแนวนอน ไปทางขวา ดังภาพ

การขยายเซลล์ โดยใช้คำสั่ง Table > Increse Row Span จะได้ดังภาพ

การขยายเซลล์ โดยใช้คำสั่ง Table > Increse Column Span จะได้ดังภาพ

การลดความกว้างของเซลล์

เมื่อเราปรับขยายช่องเซลล์ ทั้งแนวตั้งและแนวนอนได้แล้วแต่เราต้องการที่จะปรับช่องเซลล์ ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ให้ใช้คำสั่ง Table >Decrease Row Span เป็นการคืนสภาพเซลล์ในแถว หรือใช้คำสั่ง Table >Decrease Column Span เป็นการคืนสภาพเซลล์ในคอลัมน์ โดยดำเนินการดังนี้

    1. คลิกตั้งเคอร์เซอร์ในเซลล์ที่ต้องการจะคืนสภาพเดิมก่อนปรับขยาย

  1. คลิกขวา ใช้ คำสั่ง Table >Decrease Row Span หรือ Table >Decrease Column Span ดังภาพ

  1. จากภาพเป็นการคืนสภาพคอลัมน์ เมื่อใช้คำสั่งแล้ว จะได้ดังภาพ