หน่วยการเรียนรู้ 4

เตรียมภาพเพื่อใช้ในเว็บเพจ

ในการออกแบบเว็บเพจ นอกจากจะมีข้อความแล้ว ภาพนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้เว็บเพจนั้น ๆ มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

การที่จะนำภาพมาใช้ในเว็บเพจ เราต้องทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างไฟล์ภาพแต่ละชนิด เพื่อที่จะได้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม สำหรับไฟล์ภาพที่ควรรู้จักและนำมาใช้บ่อย ๆ ในงานออกแบบเว็บเพจ มีดังนี้

    • .JPEG เหมาะสำหรับภาพถ่าย หรือภาพที่มีจำนวนสีมาก ๆ ถึง 16.7 ล้านสี ใช้กับภาพโปร่งแสงไม่ได้

    • .GIF ใช้สำหรับภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้นหรือภาพที่ต้องการสร้างเป็นภาพโปร่งใส แต่ใช้สีได้เพียง 256 สีเท่านั้น เช่น ภาพการ์ตูนและภาพเคลื่อนไหว

    • .PNG สำหรับภาพถ่ายที่ต้องการให้มีลักษณะโปร่งแสง แต่ไฟล์ที่ได้หลังการบีบอัดจะมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพมากกว่าไฟล์ JPEG นอกจากนี้ ยังแสดงผลได้เร็วกว่าแบบ .GIF

การจัดเก็บภาพที่ใช้ในเว็บเพจ

ในการนำภาพมาใช้ในเว็บเพจ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการทำงานโปรแกรม Dreamweaver ควรที่จะเก็บภาพทั้งหมดไว้ในโฟลเดอร์ images ซึ่งเป็นโฟลเดอร์ย่อยในไฟล์เดอร์ organization ที่เก็บเว็บไซต์ ซึ่งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ดังภาพ

    • จากภาพ หมายเลข 1 คือ โฟลเดอร์ที่เก็บเว็บไซต์

    • หมายเลข 2 คือ โฟลเดอร์ที่เก็บภาพทั้งหมดที่จะนำมาใช้ในเว็บไซต์

    • หมายเลข 3-5 คือ ไฟล์เว็บเพจที่สร้างขึ้นในเว็บไซต์

การแทรกภาพในเว็บเพจ

การแทรกภาพในหน้าเว็บเพจ เราสามารถทำได้ โดยการคลิกที่ปุ่ม

ในกลุ่มเครื่องมือ Common และเรียกไฟล์ภาพที่เราจัดเก็บไว้ในโฟลเดอร์ images นำมาใช้บนหน้าเว็บได้ ตามขั้นตอน ดังนี้

    1. วางเคอร์เซอร์ในตำแหน่งที่ต้องการจะวางภาพบนเว็บเพจ แล้วคลิกที่สามเหลี่ยมเล็ก ๆ ข้างรูปต้นไม้ และเลือก Images ดังภาพ

    1. จะปรากฏหน้าจอ Select Image Source ให้เลือกโฟลเดอร์ images และเลือกภาพที่ต้องการ ตามขั้นตอนดังภาพ

        • ขั้นตอนที่ 1 เลือกโฟลเดอร์ images ซึ่งอยู่ในโฟลเดอร์ organization

        • ขั้นตอนที่ 2 เลือกภาพที่ต้องการ

        • ขั้นตอนที่ 3 เมื่อเลือกภาพได้แล้ว คลิกปุ่ม OK

    1. จะได้ภาพที่ต้องการ บนหน้าเว็บเพจ ดังภาพ

การปรับแต่งรูปภาพ

เมื่อนำภาพเข้าเว็บเพจได้แล้ว เราสามารถปรับแต่งภาพได้โดยใช้ Properties ของภาพนั้น ๆ โดยคลิกที่ภาพจะเกิดจุดดำ 3 จุดรอบภาพและเกิด Properties ของภาพ ซึ่งสามารถปรับความกว้าง ความสูงของภาพ ใส่ชื่อภาพ กำหนดความเชื่อมโยงของภาพ และอื่น ๆ ได้ ดังภาพ

รายละเอียดในการตกแต่งภาพสามารถกระทำได้หลายประการ ดูได้จากภาพ ดังนี้

    • หมายเลข 1 คือ ความกว้างของภาพ เราสามารถแก้ไขและปรับขนาดรูปโดยใส่ตัวเลขได้ตามต้องการ

    • หมายเลข 2 คือ ความสูงของภาพ เราสามารถแก้ไขและปรับขนาดรูปโดยใส่ตัวเลขได้ตามต้องการ

    • หมายเลข 3 ช่องใส่ชื่อของรูปภาพ

    • หมายเลข 4 แสดงที่เก็บไฟล์รูปภาพ

    • หมายเลข 5 ใช้กำหนดการเชื่อมโยงภาพไปยังข้อมูลหรือเว็บไซต์อื่น

    • หมายเลข 6 ไว้ใส่ข้อความกำกับภาพ

    • หมายเลข 7 กำหนดความหนาของเส้นขอบภาพโดยกำหนดเป็นตัวเลข ตั้งแต่เลข 1 จะขอบบางสุด

    • หมายเลข 8 กำหนดตำแหน่งการวางภาพ

    • หมายเลข 9 กำหนดตำแหน่งการวางภาพบนหน้าเว็บ

นอกจาก การกำหนดขนาดของภาพโดยใส่ตัวเลขที่ช่อง W และ H ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เรายังสามารถย่อ -ขยายขนาดของภาพได้ ดังภาพ

    • หมายเลข 1 ให้เราวางเมาส์ที่จุดดำที่มุมภาพด้านล่าง เมื่อเกิดลูกศรสองทางเอียงให้กดเมาส์ค้างไว้ แล้วดึงยืดหดได้ตามต้องการ แต่ถ้าต้องการให้ภาพยืดหดได้ตามสัดส่วนของภาพ ให้กด Shift ค้างไว้ ขณะยืดหดภาพ

    • หมายเลข 2 สำหรับการกำหนดขนาดภาพโดยใส่ค่าตัวเลขที่ช่อง W และ H เมื่อเปลี่ยนแปลงค่าความกว้าง ความสูงของภาพไปแล้ว ต้องการปรับภาพให้กลับมาสู่ขนาดเดิมของภาพต้นแบบที่เรานำเข้ามา ให้คลิกที่ปุ่ม

    • ที่อยู่ระหว่างช่อง W และ H ก็จะได้ขนาดของภาพเดิม

การใส่กรอบให้กับรูปภาพ

เมื่อนำภาพมาวางบนเว็บเพจแล้ว เราต้องการที่จะใส่กรอบให้กับภาพเพื่อความสวยงาม หรือต้องการเน้น ดำนินการได้ โดยใส่ค่าตัวเลขในช่อง Border ใน Property Inspactor ดังภาพ

การจัดวางภาพให้เข้ากับข้อความ

การจัดตำแหน่งของภาพให้เข้ากับข้อความที่มีอยู่ จะทำให้เว็บเพจดูสวยงาม น่าสนใจ ซึ่งเราสามารถจัดตำแหน่งของภาพได้จาก Aling ดังภาพ

รูปแบบการวางตำแหน่งภาพ มีดังนี้

    • Default : เป็นการจัดเรียงภาพและข้อความตามบราวเซอร์ที่ใช้

    • Baseline : ขอบล่างของภาพตรงกับแนว Baseline ของข้อความ

    • Top : ขอบบนของภาพตรงกับแนวบนสุดของของข้อความ

    • Middle : กึ่งกลางของภาพตรงกับแนว Baseline ของข้อความ

    • Bottom : ขอบล่างของภาพตรงกับแนวล่างสุดของของข้อความ

    • Text Top : ขอบบนของภาพตรงกับแนวบนสุดของข้อความ

    • Absolute Middle : กึ่งกลางของภาพตรงกับกึ่งกลางของข้อความ

    • Absolute Bottom : ขอบล่างของภาพตรงกับแนวล่างสุดของของข้อความ

    • Left : ภาพอยู่ทางซ้ายโดยมีข้อความล้อมอยู่ทางขวา

    • Right : ภาพอยู่ทางขวาโดยมีข้อความล้อมอยู่ทางซ้าย

ตัวอย่างการวางตำแหน่งภาพกับข้อความ ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

    1. เลือกใช้ Default เป็นค่าปกติ ของการพิมพ์ข้อความต่อจากภาพ ดังภาพ

    1. เลือกใช้ Top จะแสดงผลลัพธ์ของข้อความที่อยู่ในแนวด้านบนของขอบภาพ ดังภาพ

    1. เลือกใช้ Middle จะแสดงผลลัพธ์ของข้อความที่อยู่กึ่งกลางของภาพ ดังภาพ

    1. เลือกใช้ Left จะแสดงผลลัพธ์ภาพอยู่ทางซ้ายมือ และข้อความล้อมรอบอยู่ทางขวา ดังภาพ

การกำหนดระยะของรูปภาพจากขอบเว็บเพจหรือสื่งที่อยู่รอบ ๆ ภาพ

เมื่อเราปรับขนาดของภาพได้ตามต้องการแล้ว เรายังสามารถปรับระยะห่างของรูปภาพจากขอบเว็บเพจหรือสื่งที่อยู่ล้อมรอบภาพนั้น ๆ ได้ โดยการกำหนดตัวเลขที่ช่อง V space ซึ่งเป็นระยะห่างของแนวตั้ง และ H Space เป็นระยะห่างของแนวนอน ที่ Property Inspactor ดังภาพ

    • หมายเลข 1 คือ ระยะห่างของภาพกับหัวข้อเรื่อง

    • หมายเลข 2 คือ ระยะห่างของภาพกับตัวหนังสือด้านขวามือ

    • หมายเลข 3 คือ ระยะห่างของภาพกับตัวหนังสือด้านล่าง

    • หมายเลข 4 คือ ระยะห่างของภาพกับขอบของเว็บเพจ

  • หมายเลข 5 คือ กำหนดระยะห่างของภาพกับขอบหน้าเว็บและสิ่งที่อยู่รอบภาพ โดยกำหนดระยะห่างของ V Space = 20 และ H Space = 20 ผลลัพธ์ก็จะได้ตามหมายเลข 1-4

การนำภาพมาแสดงเป็นพื้นหลังเว็บเพจ

ในเว็บเพจหนึ่ง ๆ นอกจากภาพ ข้อความ ตาราง และอื่น ๆ ที่นำมาประกอบเป็นเว็บเพจแล้ว เรายังสามารถนำภาพเล็ก ๆ 1 ภาพมาเรียงซ้ำกัน เพื่อปูเป็นพื้นหลังของเว็บเพจได้ แต่ข้อสำคัญภาพที่จะนำมาใช้เป็นพื้นหลัง ต้องเป็นภาพที่มีลวดลายน้อย สีอ่อน ๆ ดูไม่รกตา เพราะถ้าเป็นภาพที่มีรายละเอียดมาก จะทำให้ตัวหนังสือในหน้าเว็บนั้น อ่านได้ยาก ไม่ชัดเจน โดยเราจะเริ่มต้นด้วยการนำภาพที่จะใช้เป็นพื้นหลังมาเก็บไว้ในโฟลเดอร์ images ของเว็บไซต์เสียก่อน แล้วค่อยดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

    1. ไฟล์ภาพที่จะนำมาใช้เป็นพื้นหลังของเว็บเพจ ดังภาพ

    1. เลือกคำสั่ง Modify >Page Properties...หรือกด < Ctrl+j > ดังภาพ

    1. หน้าจอ Page Properties จะเกิดขึ้น ต่อจากนั้น ให้คลิกปุ่ม Browse... เพื่อเลือกภาพที่จะนำมาใช้เป็นพื้นหลัง

    1. จะเกิดหน้าจอ Select Images Source ให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

        1. หมายเลข 1 เลือกโฟลเดอร์ที่เก็บเว็บไซต์

        2. หมายเลข 2 จะพบโฟลเดอร์ย่อย คือ images ที่เก็บรูปภาพ ให้ดับเบิ้ลคลิกที่โฟลเดอร์นี้เพื่อเปิดหาภาพที่ต้องการ ดังภาพ

        1. เมื่อได้ภาพที่ต้องการ ให้คลิกเลือกภาพ แล้วคลิก OK

    1. จะเกิดหน้าจอ Page Properties อีกครั้ง ในช่อง Background Images จะปรากฏที่อยู่ของไฟล์ภาพและชื่อภาพที่เราเลือก ต่อไป ให้คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Apply เพื่อดูผลลัพธ์ก่อนแสดงผลที่หน้าจอ ต่อจากนั้น ให้คลิกปุ่ม OK ดังภาพ

    1. หน้าเว็บเพจของเรา จะถูกปูพื้นหลังด้วยภาพที่เราเลือก ดังนี้

การแก้ไขรูปภาพ

ภาพที่นำเข้ามาวางบนหน้าเว็บเพจ ถ้าเราต้องการแก้ไข สามารถกระทำได้ โดยใช้เครื่องมือปรับแต่งภาพ ใน Property Inspector ดังภาพ

จากภาพ เราจะใช้กลุ่มเครื่องมือ Edit ในการปรับแต่งแก้ไขภาพ โดยเครื่องมือแต่ละตัว มีหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้

    • หมายเลข 1

    • คือ เครื่องมือส่งภาพที่เลือกไปตกแต่งในโปรแกรม Fireworks

    • หมายเลข 2

    • คือ การลดขนาดภาพที่ใช้ในโปรแกรม Fireworks

    • หมายเลข 3

    • คือ การเลือกส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพเพื่อใช้ตกแต่ง เราสามารถตัดส่วนของภาพเฉพาะที่ต้องการ โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

        1. คลิกเมาส์ที่ภาพ และคลิกที่

        1. เพื่อตัดภาพที่ต้องการ

        2. คลิกเมาส์เลื่อนปุ่มสีดำที่ล้อมรอบภาพ เพื่อเลือกส่วนที่ต้องการ แล้วกด < Enter > เพื่อตัดภาพ

        1. ภาพจะถูกตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก ตามที่เราเลือก ดังภาพ

    • หมายเลข 4

    • คือ การกำหนดให้ภาพที่ปรับขนาดแล้วเป็นภาพต้นแบบ เมื่อเราปรับขนาดภาพที่ Property Inspector ในช่อง W (ความกว้าง) และ H (ความสูง) จนเป็นที่พอใจแล้ว และต้องการภาพนี้ไปแทนภาพต้นฉบับ ให้คลิกที่

    • หมายเลข 5

    • คือ เครื่งมือปรับความสว่าง/ความเข้มสีของภาพ

    • หมายเลข 6

    • คือ ปรับความคมชัดของภาพ