ข้อตกลงและประเด็นท้าทาย

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน


การพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

ระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา 



ประเด็นท้าทาย 

เรื่อง การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ Active Learning ด้วยบอร์ด KidBright  รายวิชา วิทยาการคำนวณ2  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5



1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

       การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ 2  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยส่วนมากจะเกี่ยวกับกับการเขียนโปรแกรม ซึ่งนักเรียนจะต้องมีพื้นฐาน ในเรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ  ซึ่งในปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ผู้เรียนยังขาดทักษะในเรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ ซึ่งแนวทางวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบปกติยังไม่กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้สอนจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาวิธีการสอนด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ และเทคโนโลยีมาพัฒนาทักษะในเรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ ของผู้เรียน และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น 


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

ข้าพเจ้าดำเนินการดังนี้คือ

                1. ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและเนื้อหาที่ใช้

                      1.1. วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสีดาวิทยา  ในเรื่องของ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ของเนื้อหาเรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ

                      1.2 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวของกับ  Kidbright  เพื่อเป็นแนวทางในการสร้าง กิจกรรมการเรียนรู้

                      1.3 สำรวจความพร้อม ความสามารถในการเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยีรวมถึงรูปแบบการเรียนรู้ ของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง

                2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้

                      2.1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับจุดประสงค์การเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ2  ระดับชั้น  ม.5  เรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ

                        2.2 กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดแก่นักเรียนหลังจากได้เรียน

ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ด้วยบอร์ด kidbright เรื่อง การแก้ปัญหาเชิงคำนวณ

                3. กำหนดโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้

                    3.1 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ รายวิชาวิทยาการคำนวณ2  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 แผน รวม 4 ชั่วโมง โดยเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยากตามลำดับ

                  3.2 นำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแก้ปัญหาเชิงคำนวณ ที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วเสนอ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เพื่อประเมินความสอดคล้องของจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ตลอดจนความถูกต้องของภาษาที่ใช้

               3.3 นำผลการประเมินความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ และ ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนมาปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามคำแนะนำ ของผู้เชี่ยวชาญ ก่อนนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้จริงกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง

 

                4. ขั้นสร้างนวัตกรรม

                          4.1 กำหนดและจัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บอร์ด KidBright   เรื่อง การแก้ปัญหาเชิงคำนวณ ซึ่งประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรียนรู้ และสื่อออนไลน์  

                   4.2  จัดทำเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การแก้ปัญหาเชิงคำนวณ โดยจัดทำให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยจัดเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยากตามลำดับ

                        4.3 จัดทำสื่อการเรียนการสอน รถบังคับ KidBright   

                        4.4 นำกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ 2 เรื่อง การแก้ปัญหาเชิงคำนวณ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบ ความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้ ความถูกต้อง ชัดเจน ความสอดคล้องสาระการเรียนรู้ และระยะเวลาที่ใช้ ตลอดจนภาษาที่ถูกต้อง                              

                       4.5 นำผลการประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การแก้ปัญหาเชิงคำนวณและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนมาปรับปรุงแก้ไข และพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

                       4.6 นำกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้หาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้

                   4.7 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้น และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ให้ปรับปรุงแก้ไขได้ในระบบ google classroom ที่ครูสร้างขึ้น สำหรับใช้แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา และทำการทดสอบใหม่  จนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด



3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

3.1 เชิงปริมาณ

ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ห้อง ได้รับการพัฒนามีทักษะการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ รายวิชาวิทยาการคำนวณ 2  เรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยบอร์ด   KidBright  โดยมีคะแนนทดสอบปลายภาคผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  และนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากขึ้นไป


3.2 เชิงคุณภาพ

                          นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  จำนวน 5 ห้อง มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน เพื่อใช้ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง