ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์  (E-Portfolio)

ข้อมูลผู้ประเมิน

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1.  ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด

    ภาคเรียน  2/66

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน   ภาคเรียน   2/66  รวมจำนวน 18.40 ชั่วโมง/สัปดาห์ (20 คาบ) ดังนี้

         กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

         กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 

   1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้   จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

   1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

   1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์ 


ภาคเรียน  1/66         

   1.1  ชั่วโมงสอนตามตารางสอน  ภาคเรียน  1/66  รวมจำนวน 18.40 ชั่วโมง/สัปดาห์ (20 คาบ) ดังนี้         

                      

           กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี2(ว32183) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1-5

จำนวน 4.60 ชั่วโมง/สัปดาห์ (5 คาบ)

                                กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี2(เพิ่มเติม) (ว32283) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  จำนวน 2.76 ชั่วโมง/สัปดาห์ (3 คาบ)

                               กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี3(เพิ่มเติม) (ว33285) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4.60 ชั่วโมง/สัปดาห์ (5 คาบ)

                              กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ (ว30250)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5  จำนวน 1.84 ชั่วโมง/สัปดาห์ (2 คาบ)
                              กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาการเขียนโปรแกรมบนมาตรฐานเปิด (ว30256)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5  จำนวน 3.68 ชั่วโมง/สัปดาห์ (4 คาบ)


          กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รายวิชาลูกเสือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 0.92  ชั่วโมง/สัปดาห์  (1 คาบ)

         กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รายวิชาชุมนุมคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 0.92 ชั่วโมง/สัปดาห์ (1 คาบ)

 

      1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้   จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

                          - งานจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/งานตรวจการบ้าน/ข้อสอบ (2 ชั่วโมง/สัปดาห์)

                          - การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) (2 ชั่วโมง/สัปดาห์)

                          - การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้/การพัฒนาสื่อการสอน (2 ชั่วโมง/สัปดาห์) 

                          - งานที่ปรึกษา งานดูแลนักเรียน งานโฮมรูม  (4 ชั่วโมง/สัปดาห์)

                          - งานเยี่ยมบ้าน งานติดตามนักเรียน (20 ชั่วโมง/ปี) 

   1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

       - หัวหน้างานคอมพิวเตอร์  (5 ชั่วโมง/สัปดาห์)

       - หัวหน้างานโสตทัศนศึกษา  (5 ชั่วโมง/สัปดาห์)

       - งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย (6 ชั่วโมง/ปี)

   1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

       - งาน To be Number One /ยาเสพติด/สภานักเรียน (1 ชั่วโมง/สัปดาห์)

       - โรงเรียนคุณธรรม/โรงเรียนสุจริต 

       - สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน/โรงเรียนปลอดขยะ  (1 ชั่วโมง/สัปดาห์)

       - ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ (1 ชั่วโมง/สัปดาห์)

       - โรงเรียนมาตรฐานสากล (1 ชั่วโมง/สัปดาห์)


2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

การพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

ระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา 

ประเด็นท้าทาย 

เรื่อง  การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ Active Learning ด้วยบอร์ด KidBright  รายวิชา วิทยาการคำนวณ2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5





1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

       การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ 2  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยส่วนมากจะเกี่ยวกับกับการเขียนโปรแกรม ซึ่งนักเรียนจะต้องมีพื้นฐาน ในเรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ  ซึ่งในปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ผู้เรียนยังขาดทักษะในเรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ ซึ่งแนวทางวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบปกติยังไม่กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้สอนจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาวิธีการสอนด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ และเทคโนโลยีมาพัฒนาทักษะในเรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ ของผู้เรียน และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น 


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

ข้าพเจ้าดำเนินการดังนี้คือ

                1. ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและเนื้อหาที่ใช้

                      1.1. วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสีดาวิทยา  ในเรื่องของ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ของเนื้อหาเรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ

                      1.2 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวของกับ  Kidbright  เพื่อเป็นแนวทางในการสร้าง กิจกรรมการเรียนรู้

                      1.3 สำรวจความพร้อม ความสามารถในการเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยีรวมถึงรูปแบบการเรียนรู้ ของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง

                2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้

                      2.1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับจุดประสงค์การเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้น  ม.5 เรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ

                        2.2 กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ผู้วิจัยต้องการให้เกิดแก่นักเรียนหลังจากได้เรียน

ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เรื่อง การแก้ปัญหาเชิงคำนวณ

3. กำหนดโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้

                      3.1 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ รายวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 แผน รวม 4 คาบเรียนโดยเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยากตามลำดับ

                          3.2 นำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแก้ปัญหาเชิงคำนวณ ที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วเสนอ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เพื่อประเมินความสอดคล้องของจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ตลอดจนความถูกต้องของภาษาที่ใช้

                          3.3 นำผลการประเมินความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ และ ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนมาปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามคำแนะนำ ของผู้เชี่ยวชาญ ก่อนนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้จริงกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง

 

                4. ขั้นสร้างนวัตกรรม

                          4.1 กำหนดและจัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บอร์ด KidBright   เรื่อง การแก้ปัญหาเชิงคำนวณ ซึ่งประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรียนรู้ และสื่อออนไลน์  

                          4.2 จัดทำเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การแก้ปัญหาเชิงคำนวณ โดยจัดทำให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยจัดเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยากตามลำดับ

                          4.3 จัดทำสื่อการเรียนการสอน

                          4.4 นำกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ 2 เรื่อง การแก้ปัญหาเชิงคำนวณ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบ ความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้ ความถูกต้อง ชัดเจน ความสอดคล้องสาระการเรียนรู้ และระยะเวลาที่ใช้ ตลอดจนภาษาที่ถูกต้อง                              

                          4.5 นำผลการประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การแก้ปัญหาเชิงคำนวณและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนมาปรับปรุงแก้ไข และพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

                          4.6 นำกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้หาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้

                          4.7 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้น และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ให้ปรับปรุงแก้ไขได้ในระบบ google classroom ที่ครูสร้างขึ้น สำหรับใช้แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา และทำการทดสอบใหม่

จนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด



3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

3.1 เชิงปริมาณ

ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ห้อง ได้รับการพัฒนามีทักษะการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ รายวิชาวิทยาการคำนวณ 2  เรื่องการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning   โดยมีคะแนนทดสอบปลายภาคผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  และนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากขึ้นไป


3.2 เชิงคุณภาพ

                          นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  จำนวน 5 ห้อง มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน เพื่อใช้ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


 

การจัดการเรียนการสอน

แบบ Active Learning

ปัญหา คือ นักเรียนเล่นเกมส์ในระหว่างที่เรียน และไม่มีสมาธิในการเรียน ซึ่งะหากเรียนด้วยวิธีการแบบเดิมๆ คือ จด และ จำ อาจจะทำให้ไม่มีความน่าสนใจ

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

แก้ปัญหาโดย  ใช้กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ ความสนุก ตื่นเต้น และมีการแข่งขันระหว่างที่เรียน

เอกสารหลักฐาน และ คลิปการจัดการเรียนรู้

ดาวน์โหลดเอกสารบันทึกข้อตกลง PA  (.pdf)

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ :