(วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร) หลักสูตร 4 ปี
เปิดสอนมามากกว่า 30 ปี แล้วนะ
#หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องแกง เป็นชื่อที่เรียกกันเล่น ๆ ในหมู่ชาว #FTKMUTNB เพราะ Food Science and Technology ที่นี่มุ่งเน้นการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาธรรมชาติของอาหาร สาเหตุของการเสื่อมสภาพและเน่าเสีย การถนอมรักษา การแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ตลอดจนการบำบัดน้ำและของเสียจากการผลิตอาหาร และการออกแบบและจัดการโรงงานผลิตอาหาร และนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในการผลิตอาหารและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และภาครัฐ
โดยศึกษากลุ่มวิชาหลัก 5 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มวิชาเคมีอาหาร (Food Chemistry) ครอบคลุมโครงสร้างและสมบัติทางเคมีขององค์ประกอบอาหาร เคมีของการเปลี่ยนแปลงระหว่างการแปรรูป การเก็บรักษาและการแก้ไข หลักการและเทคนิคการวิเคราะห์อาหารทางเคมี วัตถุเจือปนอาหารและอันตรายทางเคมี และโภชนาการของมนุษย์
กลุ่มวิชาจุลชีววิทยาอาหาร (Food Microbiology) ครอบคลุมหัวจุลินทรีย์ที่มีความสำคัญต่ออาหาร จุลินทรีย์ที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตอาหาร จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคและการตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ในอาหารประเภทต่าง ๆ
กลุ่มวิชาวิศวกรรมอาหาร และการแปรรูปอาหาร (Food Engineering & Food Processing) ครอบคลุมสมดุลมวลและพลังงาน อุณหพลศาสตร์ การถ่ายโอนความร้อนและมวลสาร การปฏิบัติการเฉพาะหน่วยในกระบวนการแปรรูป หลักการถนอมอาหารและการแปรรูปอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ บรรจุภัณฑ์และการ เก็บรักษาผลิตภัณฑ์
กลุ่มวิชาการประกันคุณภาพและการสุขาภิบาล (Quality Assurance & Sanitation) ครอบคลุมหลักการควบคุมและประกันคุณภาพ ปัจจัยคุณภาพและการตรวจคุณภาพ ระบบการประกันคุณภาพ ความปลอดภัยของอาหารและกฎหมายอาหาร
กลุ่มวิชาเฉพาะทางด้านของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร การให้ความร้อนแก่อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิทด้วยหม้อฆ่าเชื้อ เทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์นม เทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และสัตว์ปีก พิษวิทยาทางอาหาร เทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ประมง เทคโนโลยีของขนมหวาน เทคโนโลยีของธัญชาติ เทคโนโลยีของผักและผลไม้ เทคโนโลยีของเครื่องดื่ม เทคโนโลยีของอาหารหมัก เทคโนโลยีของไขมันและน้ำมัน โปรตีนและเอนไซม์ในอาหาร เรื่องคัดเฉพาะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร และการวิจัยที่นำความรู้ต่าง ๆ ที่ได้เรียนมาใช้ในการทำงานวิจัยหรืองานปัญหาพิเศษ เป็นต้น
โดยการเรียนในหลักสูตรนี้ เน้นการฝึกปฏิบัติ โดยสามารถเลือกเรียนได้ จาก 2 โครงการการศึกษา ดังนี้
โครงการปกติ (ฝึกงานไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมง และทำโครงงานพิเศษ)
โครงการสหกิจศึกษา (เข้าร่วมสหกิจศึกษาในสถานประกอบการ ประมาณ 6 เดือน)
ทั้ง 2 โครงการ ต้องเรียนอะไรบ้าง ปรับตัวอย่างไร และเรียนอย่างไรให้ได้เกรดเฉลี่ย 3 กว่า ๆ และได้ทุน ไปฟังคำแนะนำ และประสบการณ์จากรุ่นพี่คนเก่งกันเลย
สนใจศึกษารายละเอียดของหลักสูตรเพิ่มเติม ดูได้ที่ หลักสูตรที่เปิดสอน