THESIS 2020
FACULTY OF ARCHITECTURE RANGSIT UNIVERSITY

"ArchRSU Thesis 2020" จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงานวิทยานิพนธ์ บทความวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรมของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปีการศึกษา 2562 เรามองว่าการศึกษาคือนวัตกรรม ปัจจุบันการสอนด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรมของเราจึงมีการแบ่งเป็นสตูดิโอที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง นักศึกษามีอิสระในการเลือกทำวิทยานิพนธ์ในแต่ละสตูดิโอเพื่อค้นหาแนวทางสำหรับต่อยอดและพัฒนาทักษะของตนเองในการออกไปประกอบวิชาชีพในอนาคต

ในปีการศึกษานี้พวกเราทุกคนพบกับอุปสรรค์ครั้งสำคัญร่วมกับผู้คนทั่วโลก นั่นคือการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา-โควิด 19 ทำให้แผนการต่าง ๆ ไม่ว่ากระบวนการตรวจงาน การนำเสนองาน การจัดแสดงงาน ไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจไว้ ครั้งนี้พวกเราต้องมีระยะห่างกันในการสร้างสรรค์ผลงานตามมาตรการ social distance แต่ทุกอย่างก็เป็นเพียงอุปสรรค์ที่ก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ในการเรียนรู้และศึกษาทางสถาปัตย์ร่วมกัน

ผลงานทั้งหมดที่แสดงใน "ArchRSU Thesis 2020" คือความภูมิใจของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ผลงานวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยมประจำปี 2020
THESIS OF THE YEAR 2020

แนวทางการออกแบบเพื่อปรับปรุงพื้นที่สาธารณะใต้ทางพิเศษยกระดับ

โดย สุกาญจนา สิงห์สุทธิชาติ

พื้นที่สาธารณะใต้ทางด่วนโดยใช้แนวคิดของสีเป็นเครื่องมือในการออกแบบเพื่อดึงดูดผู้คนให้มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงผ่านสายตา

ผลงานวิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปี 2020 จำนวน 21 ผลงาน

เเนวทางการปรับเปลี่ยนอาคารร้าง
โดย ชยานันต์ เชษฐโชติรส

อาคารร้างนั้นมีอยู่มากเเละเกิดจากหลายปัจจัย เราจึงใช้เเนวคิดของภาพจำจับตัวอาคารร้างที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เเล้วใช้เทคนิคการใช้ภาพจำของอาคารร้างนั้นมาสร้างให้เกิดเป็นการรับรู้เชิงสถาปัตยกรรม ให้เกิดการเรียนรู้ เเละเกิดการใช้งาน เพื่อเป็นภาพจำใหม่ของย่าน

บทความวิทยานิพนธ์

พื้นที่การสัญจระหว่างห้างฟิวเมเจอร์รังสิต - ห้างฟิวเจอร์พาร์ครังสิต
โดย ศุภวิชญ์ พงษ์ดารา

เป็นพื้นที่การสัญจรเกี่ยวกับระบบทางเท้าบริเวณหน้าห้างเมเจอร์รังสิต ที่มีการจัดกระบบใหม่ในพื้นที่และแก้ปัญหาพื้นที่ให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนในรอบๆบริบทสามารถมีส่วนร่วมกับพื้นที่นี้

บทความวิทยานิพนธ์

โครงการออกแบบการเชื่อมทางสัญจรทางเดินของสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานตากสิน โดย วรดา กระจ่างศรี

สะพานตากสิน เป็นพื้นที่หนึ่งที่ยังคงมีการเชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โครงการออกแบบเส้นทางเพื่อเชื่อมทางสัญจรทางเท้า ปรับทัศนียภาพ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่ช่วยในการกรองอากาศเพื่อเอื้ออำนวยต่อผู้คนที่มาสัญจรบริเวณสะพานตากสินให้มากขึ้น

บทความวิทยานิพนธ์

การพัฒนาวัสดุในเมืองขยะเพื่อออกแบบแนวทางการจัดการพื้นที่อยู่อาศัย โดย นลินนิภา อุตมา

พื้นที่อยู่อาศัยโดยแนวคิดคือการลดปัญหาขยะที่ล้นเมืองในหมู่บ้านโมกดัมมาพัฒนาเป็นวัสดุ Geopolymer โดยใช้เทคโนโลยี 3D printing with robotic arm system มาออกแบบเป็นสถาปัตยกรรมในรูปแบบที่อยู่อาศัยเพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตในปัจจุบันของชาวซับบาลีน

บทความวิทยานิพนธ์

HONGKONG 2050 โดย ตวงทิพย์ เหล่าออง

เมื่อพื้นที่ ที่มีจำกัด ไม่สามารถขยายหรือพัฒนาต่อได้ และด้วยความไม่สมดุลที่เกิดขึ้น ทำให้ที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอ กลุ่มชนชั้นแรงงานไม่มีทางเลือกอื่น พวกเขาจำต้องอาศัยอยู่ในห้องแคบๆ พร้อมสภาพแวดล้อมที่แย่ และยังคงรอการแก้ปัญหา จึงเกิดโครงการHONG KONG 2050เพื่อเสนอแนวความคิดเพิ่มพื้นที่อาศัยให้กลุ่มชนชั้นแรงงานของฮ่องกง ในอนาคต

บทความวิทยานิพนธ์


โครงการพัฒนาผังเสนอแนะพื้นที่ภายในเขตยานนาวา ให้กลายเป็นพื้นที่พักอาศัยทางธรรมชาติจากรูปแบบของป่าไม้ โดย ธนัชศักดิ์ ฉัตรทิน

ชุมชนใหม่ในกรุงเทพมหานครที่จะเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ในรูปแบบของป่าไม้ที่ใช้คุณสมบัติของต้นไม้ภายในป่าเพื่อมาออกแบบให้เกิดวัฏจักรใหม่ในการใช้ชีวิตระหว่างคนกับธรรมชาติในอนาคตต่อไปข้างหน้า

บทความวิทยานิพนธ์


ศูนย์สร้างสรรค์เด็กและเยาวชนคลองเตย โดย อดิศักดิ์ หนองหาญ

ชุมชนคลองเตย ซึ่งเป็นชุมชนแออัดเก่าแก่ที่ใหญ่ ที่สุดของประเทศมีปัญหาพื้นฐานของชุมชน ครอบครัวในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อยเป็นชุมชนสุ่มเสียง แออัด สภาพสังคมต่างๆ เด็กและเยาวชนตกอยู่ในสภาพด้อยโอกาส มีความเสี่ยงที่จะได้รับการดูแลไม่เหมาะสม

บทความวิทยานิพนธ์

TA BUN RESORT โดย วรากร สว่างอารมย์

บางตะบูนเป็นชุมชนริมน้ำที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้าไปศึกษาเเละเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตเเละ ธรรมชาติของที่นี้ รีสอร์ทนี้จะช่วยให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิถีชีวิตเเละได้ซึมซับกับธรรมชาติของชุมชนนี้ เเบบ การท่องเที่ยวไร้ความเร่งรีบ

บทความวิทยานิพนธ์

Alzheimer village for elderly
(ชุมชนอยู่อาศัยผู้สูงอายุความจำเสื่อม)
โดย ศุภวัฒน์ ปรางค์ถาวร

โครงการ “รีไมนด มี วิลเลจ” ชุมชนอยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุความจำเสื่อม มีแนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นโครงการอยู่อาศัยแบบพื้นที่ปิดล้อม (enclosed space) เป็นชุมชนอยู่อาศัยที่ผู้ป่วยสูงอายุความจำเสื่อมสามารถที่จะใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติและปลอดภัย

บทความวิทยานิพนธ์

ศูนย์การเรียนรู้ดนตรีคลาสสิค โดย ทวาทิตย์ เเสงภักดี

โครงการนี้ถูกออกแบบโดยใช้หลักการของการออกแบบของ Parametric โดยแนวคิดของเราคือการใช้ดนตรีคลาสสิกเป็นข้อมูลสำหรับกระบวนการค้นหารูปแบบฟอร์ม( Form Finding ) วิธีการคือการออกแบบการทดลองค้นหาแบบฟอร์ม จากการทดลองด้วยคลื่นเสียงจากดนตรีคลาสสิก

บทความวิทยานิพนธ์

โครงการออกแบบปรับปรุงอาคารหอสมุดและศูนย์การเรียนรู้อาชีพ เมืองนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น โดปริญญ์ พรามนิล

สถานการณ์ สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ของญี่ปุ่นก่อให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก อาคารสาธารณะของเมือง สภาเมืองนาริตะจึงได้มีแนวคิดในการปรับปรุงและพัฒนา โครงการออกแบบปรับปรุงอาคารหอสมุดและศูนย์การเรียนรู้อาชีพ เมืองนาริตะ ประเทศญี่ปุ่นขึ้น

บทความวิทยานิพนธ์

ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลแบบโมดูล่า โดย ณัฐภัทร ฤทธิขาบ

โครงการนี้เกิดขึ้นทำให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วและมีมาตรฐานมากขึ้น ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลนี้ประกอบด้วยกลุ่มโครงสร้างลอยน้ำขนาดใหญ่

บทความวิทยานิพนธ์

โครงการคอนโดมิเนียมเพื่อผู้สูงวัยในนครหาดใหญ่ โดย วงศธร สุนทรพันธุ์

ปัจจุบันทุกสำนักทุกงานวิจัยได้บ่งบอกไปในทิศทางเดียวกันว่าประเทศไทยจะมีผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้นในทุกปีจะทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขสามารถบริหารจัดการชีวิตได้ดีขึ้นจึงเกิดเป็นแนวคิดที่เรียกว่า “ โครงการคอนโดมิเนียมครบวงจรเพื่อผู้สูงวัยในนครหาดใหญ่ ”

บทความวิทยานิพนธ์

โครงการออกแบบศูนย์การเรียนรู้สัตว์ป่าและระบบนิเวศโดยใช้สื่อมัลติมีเดีย เพื่อส่งเสริมให้มนุษย์มีจิตสำนึกในการรักษาและอนุรักษ์สัตว์ป่า โดย ปรารถนา ไตรสรณอภิรักษ์

สวนสัตว์แห่งอนาคต การเรียนรู้สมัยใหม่ เพื่อลดช่องว่างความเลื่อมล้ำระหว่างคนกับสัตว์ป่า สร้างความเข้าใจ ด้วยพื้นที่สื่อเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มาบอกเล่าเรื่องราวธรรมชาติของสัตว์ป่า "เรียนรู้ รักษา เพื่อนรักสัตว์ป่า กับ Technology multimedia"

บทความวิทยานิพนธ์

การออกแบบเพื่อการพัฒนาพื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายการคมนาคม สถานีหมอชิต - สวนจตุจักร โดย พัฒน์นรี อึงไพเราะ

ออกแบบเพื่อการพัฒนาพื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายการคมนาคม เพื่อรองรับศักยภาพด้านการเดินทางของพื้นที่ในอนาคต และแก้ปัญหาทางกายภาพพื้นที่ ปรับภาพลักษณะของเมื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน

บทความวิทยานิพนธ์

แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ป่าชายเลน โดย โชติกา ประยุทธเต

รีสอร์ทเพื่อการพักผ่อนพร้อมการอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่ได้แนวคิดด้านงานออกแบบที่ยั่งยืนร่วมกับความงามที่มีเสน่ห์ของธรรมชาติมาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์สุดพิเศษที่คุณสามารถค้นพบได้ด้วยตัวเองบทความวิทยานิพนธ์

LAO LIANG PRIVATE ISLAND HIDEAWAY RESORT : สถานที่พักผ่อนสำหรับผู้ที่ต้องการหลบซ่อนจากความวุ่นวายของเมืองเข้าไปสัมผัสธรรมชาติบนเกาะเหลาเหลียง จังหวัดตรัง โดย ชัญญานุช รักษ์เจริญ

LAO LIANG PRIVATE ISLAND HIDEAWAY RESORT ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 16 ไร่ 26 ยูนิต เป็นที่พักส่วนตัวเเห่งเดียวบนเกาะเหลาเหลียง จังหวัดตรัง ให้ความรู้สึกถึงความเงียบสงบเเละความเป็นส่วนตัวอย่างเเท้จริง

บทความวิทยานิพนธ์

แนวทางการออกแบบเพื่อปรับปรุงพื้นที่สาธารณะใต้ทางพิเศษยกระดับ โดย สุกาญจนา สิงห์สุทธิชาติ

พื้นที่สาธารณะใต้ทางด่วนโดยใช้แนวคิดของสีเป็นเครื่องมือในการออกแบบเพื่อดึงดูดผู้คนให้มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงผ่านสายตา

บทความวิทยานิพนธ์

Sathon High-Rise Office Building ; สำนักงานบนตึกสูงกลางเมืองกรุง ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน โดย ณัฐชนน แก้วนวล

ออฟฟิศบนตึกสูงที่ออกแบบเพื่อแก้ปัญหาและผลกระทบจากการออกแบบอาคารแบบเดิมๆต่อผู้ใช้ ทั้งในด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อมของการทำงาน ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานอาคาร มีความสุขกับการทำงานบนอาคารหลังนี้ได้ในทุกๆวัน

บทความวิทยานิพนธ์

The Dependency project, (QUEEN BEE) The Design of Beekeeping Network in the Community for Bee Conservation. โดย ณัฐวัตร ไพรอังกูร

ผึ้งคือกลไกหลักที่เป็นตัวแปรขับเคลื่อนอุตหกรรมทางสิ่งแวดล้อม เพราะทำไมพวกเขาถึงสำคัญต่อระบบนิเวศ แล้วโครงข่ายที่สำคัญของการอนุรักษ์ผึ้งหรือ BEE NES ที่ตั้งขึ้นในบางกระเจ้าพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพมีความสอดคล้องกันอย่างไร

บทความวิทยานิพนธ์

STADIUM MALL โดย อนันต์สิน ศักดิ์แดนไพร

โครงการนี้เป็นทั้งห้างสรรพสินค้าและสนามฟุตบอลรวมกันทำเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬาฟุตบอลของจังหวัดนครราชสีมาและส่งเสริมเศรษกิจและทำในย่านนั้นเป็นย่านศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา

บทความวิทยานิพนธ์