ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์การประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน (PA)  ของ ครูสายฝน  ใจต๊ะวงค์

ข้อมูลผู้ประเมิน

                          - ประวัติศาสตร์ ชั้น ม.1 - ม.3

                          - ประวัติศาสตร์ ชั้น ป.4- ป.6

                          - หน้าที่พลเมือง ชั้น ม.1 - ม.3

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1.  ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตาม ที่ก.ค.ศ. กำหนด

ภาคเรียนที่ 2 /2565

ภาคเรียนที่ 1 /2566

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 

 1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน  21  ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

                 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

วิชาประวัติศาสตร์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน  1 ชั่วโมง

วิชาประวัติศาสตร์               ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน  1 ชั่วโมง

วิชาประวัติศาสตร์               ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  1 ชั่วโมง

วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน  3 ชั่วโมง

วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน  3 ชั่วโมง

วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน  3 ชั่วโมงวิชาประวัติศาสตร์               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน  1 ชั่วโมง

วิชาประวัติศาสตร์               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน  1 ชั่วโมง

วิชาประวัติศาสตร์               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน  1 ชั่วโมง

วิชาหน้าที่พลเมือง (เพิ่มเติม)    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน  1 ชั่วโมง

วิชาหน้าที่พลเมือง (เพิ่มเติม)          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน  1 ชั่วโมง

วิชาหน้าที่พลเมือง (เพิ่มเติม)          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน  1 ชั่วโมง

 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- แนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

- ชุมนุม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1-3   จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ลูกเสือ เนตรนารี สามัญรุ่นใหญ่ 

 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3    จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ทำแผนการจัดการเรียนรู้                      จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การวัดและประเมินผล                            จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การสร้างสื่อและนวัตกรรม                       จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมโฮมรูม วันละ 15 นาที                 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์                                   

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

- หัวหน้างานกลุ่มบริหารงานวิชาการ              จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- หัวหน้างานกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานนิเทศภายใน                                   จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

  - งานโครงการพัฒนา งานบริหารวิชาการ และพัฒนาหลักสูตร                          จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานโครงการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการจัดการเรียนรู้                                จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานกิจกรรมแข่งขันทักษะวิชาการและงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน                     จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์   


รวมจำนวนชั่วโมง  33  ชั่วโมง/สัปดาห์

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566


1.1  ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน  18  ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

                   กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   จำนวน  3 ชั่วโมง

วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   จำนวน  3 ชั่วโมง

วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   จำนวน  3 ชั่วโมงวิชาประวัติศาสตร์               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   จำนวน  1 ชั่วโมง

วิชาประวัติศาสตร์               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   จำนวน  1 ชั่วโมง

วิชาประวัติศาสตร์               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   จำนวน  1 ชั่วโมง

วิชาหน้าที่พลเมือง (เพิ่มเติม)    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   จำนวน  1 ชั่วโมง

วิชาหน้าที่พลเมือง (เพิ่มเติม)          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   จำนวน  1 ชั่วโมง

วิชาหน้าที่พลเมือง (เพิ่มเติม)          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   จำนวน  1 ชั่วโมง

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- แนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

- ชุมนุม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1-3   จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ลูกเสือ เนตรนารี สามัญรุ่นใหญ่   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3   

                                                       จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ทำแผนการจัดการเรียนรู้                      จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การวัดและประเมินผล                            จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การสร้างสื่อและนวัตกรรม                       จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมโฮมรูม วันละ 15 นาที                 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

 1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

 - หัวหน้างานกลุ่มบริหารงานวิชาการ             จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

 - หัวหน้างานกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

 - งานนิเทศภายใน                                  จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานวัดและประเมินผล                         จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานทะเบียน                                              จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

 1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

 - งานโครงการพัฒนา งานบริหารวิชาการและพัฒนาหลักสูตร                                                                                                                   จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานโครงการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการจัดการเรียนรู้                                จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานกิจกรรมแข่งขันทักษะวิชาการและงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน                    จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

 - งานกิจกรรมส่งเสริมเด็กดีเด่น    จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์


วมจำนวนชั่วโมง  33  ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน  ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะทางประวัติศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการ Active Learning ตามแนวคิด GPAS 5 Steps ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

วิชาประวัติศาสตร์ เป็นวิชาสำคัญต่อการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และผลของ   การเรียนวิชาประวัติศาสตร์จะพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ผู้สอนควรเน้นย้ำในรายละเอียดของทักษะทางประวัติศาสตร์ และขั้นตอนในการจัดกิจกรรมประวัติศาสตร์ หากจัดการเรียนการสอนแนวเดิมๆ ที่ต้องอ่านตำราและท่องจำเนื้อหา หรือครูใช้วิธีการสอนแบบบรรยายจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายและคิดว่าเนื้อหาประวัติศาสตร์มีมาก ซึ่งการจดจำแต่เนื้อหาเป็นการเรียนที่ไม่คงทน  จากการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในภาคเรียนที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนโรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ) ยังขาดทักษะวิธีการทางประวัติศาสตร์ และยังไม่เข้าใจขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ เช่น ขาดการสืบค้นหลักฐานเพิ่มเติม การวิเคราะห์ตีความหลักฐาน ทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ผิดเพี้ยนไป หรือเข้าใจว่าเป็นวิธีการที่ยุ่งยาก จึงไม่สนใจ จึงได้จัดทำ เรื่อง การพัฒนาทักษะทางประวัติศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการ Active Learning ตามแนวคิด GPAS 5 Steps ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อส่งผลทำให้นักเรียนมีความสนุกในการเรียนและผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเรียนสูงขึ้น

ทักษะทางประวัติศาสตร์  เป็นทักษะการคิดวิเคราะห์ในมิติประวัติศาสตร์  เน้นการตั้งคำถามตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงการนำข้อมูลหลักฐานที่รวบรวมมาได้มาเรียงต่อกัน ต้องจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ความคิดที่เป็นกระบวนการ เป็นเหตุเป็นผล มีวิจารณญาณ เพื่อสืบสอบเรื่องราวบนพื้นฐานข้อมูลหลักฐาน ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษารวบรวมข้อมูล (Gathering)

ขั้นตอนที่ 2 การจัดกระทำข้อมูล (Processing)

ขั้นตอนที่ 3 ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้ (Applying and Constructing the Knowledge)

ขั้นตอนที่ 4 ขั้นสื่อสารและนำเสนอ (Applying the Communication Skill)

ขั้นตอนที่ 5 การประเมินเพิ่มคุณค่า (Self-regulating)


ข้าพเจ้าจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้                    แบบGPAS  5 Steps ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่รวบรวมสื่อ กระบวนการและกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่เน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และประยุกต์ใช้ความรู้  ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

วิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ตามหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นำมาจัดทำนวัตกรรมได้แก่ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ควบคู่กับแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะทางประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการ Active Learningตามแนวคิด GPAS 5 Steps  แล้วนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566

2.1) การดำเนินการรวมกลุ่ม PLC (Professional Learning Community)  ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ   เป็นการรวมกลุ่มครูที่มีปัญหา/ความต้องการเดียวกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาการจัดการเรียนการสอน สามารถวางแผน ออกแบบ กำหนดกิจกรรมการแก้ปัญหาหรือพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 

ขั้นตอนที่ 1 ระบุปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในที่เกิดขึ้นในโรงเรียน

ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยมีปัจจัยใดเข้ามา

เกี่ยวข้อง มีแนวโน้มของปัญหาอย่างไร และมีผลกระทบใดที่จะเกิดขึ้น

ขั้นตอนที่ 3 ระดมความคิด เพื่อนำเสนอวิธีแก้ปัญหา วิธีแก้ปัญหาจากประสบการณ์และ

ผลการวิจัยที่สามารถอ้างอิงได้ แล้วนำเสนอผลการระดมความคิด   เมื่อนำเสนอเสร็จสิ้น ดำเนินการอภิปรายสรุปและเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้วิธีแก้ปัญหา นำวิธีแก้ปัญหาที่ได้จากการระดมความคิด ไปทดลองใช้

ในการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยร่วมกันสังเกตการสอนและเก็บข้อมูล หรือเก็บข้อมูลจากการทดลองใช้ในการทำงาน

ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลวิธีการแก้ปัญหา นำเสนอผลการสังเกตการสอนและเสนอแนะวิธีการ

ปรับปรุงแก้ไข แล้วจึงสรุปผลวิธี การแก้ปัญหาที่ให้ผลดีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

 2.2) ข้าพเจ้าได้ดำเนินการศึกษาจากการวิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาสถิติย้อนหลังของผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเขียน ศึกษาแนวทางปัญหาที่มีลักษณะใกล้เคียงกันจากห้องสมุด ข้อมูลฐานการวิจัย หรือข้อมูลฐานการวิจัย จากนั้นนำมาปฏิบัติเป็นแนวทางได้ดังนี้

1) ศึกษาความต้องการ ความคาดหวัง คุณลักษณะ พฤติกรรมตัวบ่งชี้ และตัวชี้วัดของหลักสูตรสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ)

2) การวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้มีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามจุดหมายของ หลักสูตรซึ่งเป็นสภาพที่หลักสูตรคาดหวังให้เกิดขึ้น

3) การศึกษาและเลือกนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้หลังจาการวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ในขั้นตอนที่ 2 จะทำให้ทราบปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่ชัดเจนขึ้น ขั้นตอนต่อไปจึงควรศึกษานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ให้หลากหลายจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

4) การออกแบบนวัตกรรม เมื่อได้ศึกษานวัตกรรมและเลือกนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ได้เหมาะสมแล้วข้าพเจ้าออกแบบนวัตกรรม ซึ่งเป็นการกำหนดขอบข่ายเนื้อสาระ องค์ประกอบรูปแบบของนวัตกรรมว่าควรมีลักษณะอย่างไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง มีกระบวนการ กิจกรรมใน การจัดการเรียนรู้เพื่อปัญหาการเรียนรู้อย่างไร

5) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ควบคู่กับแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่องวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะทางประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการ Active Learningตามแนวคิด GPAS 5 Steps  แล้วนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 

6) นำนวัตกรรม(ชุดกิจกรรม)ไปใช้กับนักเรียน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ด้วยกระบวนการ Active Learning กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยปรับบริบทให้เหมาะสมกับห้องเรียน ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักเรียนมีทักษะทางประวัติศาสตร์ ที่คิดวิเคราะห์ในมิติประวัติศาสตร์   เน้นการตั้งคำถามตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงการนำข้อมูลหลักฐานที่รวบรวมมาได้มาเรียงต่อกัน ข้าพเจ้าจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ความคิดที่เป็นกระบวนการ เป็นเหตุ    เป็นผล มีวิจารณญาณ เพื่อสืบสอบเรื่องราวบนพื้นฐานข้อมูลหลักฐาน ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ 

ข้าพเจ้าจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่รวบรวมสื่อ กระบวนการและกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่เน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และประยุกต์ใช้ความรู้  ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้าพเจ้าสามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้



3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

            3.1 เชิงปริมาณ

                3.1.1 ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์เรื่องวิธีการทาประวัติศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน               

              3.1.2 ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องวิธีการทางประวัติศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ที่ครูสร้างขึ้นในระดับมากขึ้นไป

            3.2 เชิงคุณภาพ

                3.2.1  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความรู้ความเข้าใจเรื่องวิธีการทางประวัติศาสตร์  ผ่านกระบวนการ Active Learning ตามแนวคิด GPAS 5 Steps และมีทักษะทางประวัติศาสตร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน      

                3.2.2 ครูได้นวัตกรรมที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางประวัติศาสตร์เรื่องวิธีการทางประวัติศาสตร์

เอกสารแบบรายงานข้อตกลง PA

PA 2566.pdf
รายงานผลการปฎิบัติงานสายฝน(รวม)1ตค.-2565-31-มี.ค.-2566.pdf
รายงาน งบ 2566.pdf

ส่วนที่ 3 สรุปผลงานเชิงประจักษ์ หรือรางวัลที่ได้รับในระดับเขตพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับชาติ ฯลฯ