ด้านที่ 1 : ด้านการจัดการเรียนรู้

      จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สุขศึกษาและพลศึกษา และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การลงมือปฏิบัติจริง ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง โดยการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ให้นักเรียนรู้จักการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง พอประมาณและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับตนเอง ดังนี้

1.1 สร้างหรือพัฒนาหลักสูตร

        ข้าพเจ้าได้ริเริ่ม พัฒนารายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร บริบทของสถานศึกษา ผู้เรียนและท้องถิ่น สามารถแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะและการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ ส่งผลให้คุณภาพการจัดการเรียนรู้สูงขึ้น และเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรสถานศึกษาตามสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา ออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยคลอบคลุมเนื้อหาของหลักสูตร โดยดำเนินการจัดทำหลักสูตรรายวิชา ตามภาระงานสอนที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ หลักสูตรรายวิชาที่จัดทำขึ้นสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม ตามบริบทของสถานศึกษา และช่วงวัยของผู้เรียน โดยมีการบันทึกผลการใช้หลักสูตรรายวิชาเพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรในครั้งต่อไป ส่งผลให้คุณภาพการจัดการเรียนรู้สูงขึ้นและเป็นแบบอย่างที่ดี 

                ผลการปฏิบัติงาน 

                   ผู้เรียนร้อยละ 100 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สูงกว่าระดับ ที่คาดหวังคือ ร้อยละ 70 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน)  

                     ผู้เรียนร้อยละ 100 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป สูงกว่าระดับที่คาดหวังคือ ร้อยละ 80 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน)  

1.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้

           ข้าพเจ้าได้ริเริ่ม คิดค้น การออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้สูงขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญ ตามหลักสูตร มีกระบวนการคิดและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง และสร้างแรงบันดาลใจและเป็นแบบอย่างที่ดีในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนได้ดำเนินการจัดทำและพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ เหมาะสมกับผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น ตามภาระงานสอนที่ได้รับมอบหมาย

      โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 3 ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยมีการออกแบบสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ การสอนโดยให้นักเรียนลงมือปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยผ่านกิจกรรม Active Learning มีการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ด้วยตนเองและพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้สูงขึ้น 

             ผลการปฏิบัติงาน 

                 ผู้เรียนร้อยละ 100 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สูงกว่าระดับ ที่คาดหวังคือ ร้อยละ 70 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน)  

                 ผู้เรียนร้อยละ 100 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป สูงกว่าระดับที่คาดหวังคือ ร้อยละ 80 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน)  

1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

          ข้าพเจ้ามีการริเริ่ม คิดค้น และพัฒนานวัตกรรม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สามารถแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ เรียนรู้และทำงานร่วมกัน มีกระบวนการคิดและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง และสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เน้นวิธีการปฏิบัติและมีความหลากหลาย สอดคล้องกับสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้ มีการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และส่งเสริมผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ เรียนรู้และทำงานร่วมกัน โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน 

        พัฒนาและออกแบบสื่อการเรียนรู้ สำหรับใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบออนไลน์ (Online) , ออนแฮนด์ (On-hand) และ Onsite เพื่อปรับประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาสื่อการสอน ตลอดจนใช้ช่องทางเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนและติดต่อสื่อสาร ระหว่างภาคีเครือข่าย องค์การในสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน เช่น Zoom , Line , Google Meet , Google Form , Google Drive เป็นต้น

        มีการวัดประเมินผลผู้เรียนครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านพุทธิพิสัย หรือด้านความรู้ (K), ด้านทักษะพิสัยหรือด้านทักษะ (P), และด้านเจตพิสัยหรือด้านเจตคติ (A) โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน, แบบทดสอบหลังเรียน, แบบประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม และแบบประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์

       การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning)

Active Learning จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning  เป็นดังนี้

                ๑.  เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

                ๒.  เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด

                ๓.  ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง

           ๔.  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน

               ๕.  ผู้เรียนเรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทำงาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

               ๖.  เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

               ๗.  เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง

               ๘.  เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสาร หรือสารสนเทศ และหลักการความคิดรวบยอด

               ๙.  ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง

               ๑๐. ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน

           ผลการปฏิบัติงาน 

              ผู้เรียนร้อยละ 100 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สูงกว่าระดับ ที่คาดหวังคือ ร้อยละ 70 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน)  

                 ผู้เรียนร้อยละ 100 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป สูงกว่าระดับที่คาดหวังคือ ร้อยละ 80 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน)  

1.4 สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้

        ข้าพเจ้ามีการริเริ่ม คิดค้น และพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถแก้ไขปัญหาในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการคิด และสามารถสร้างนวัตกรรมได้ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ โดยได้ดำเนินการสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อใช้ประกอบเนื้อหาในการจัดการเรียนรู้  โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้รับความรู้และวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเกิดผลสัมฤทธิ์ตรงตามเป้าหมายของสถานศึกษาอย่างสูงสุด

          ผลการปฏิบัติงาน 

              ผู้เรียนร้อยละ 100 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สูงกว่าระดับ ที่คาดหวังคือ ร้อยละ 70 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน)  

                ผู้เรียนร้อยละ 100 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป สูงกว่าระดับที่คาดหวังคือ ร้อยละ 80 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน)  

1.5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้

        ข้าพเจ้ามีการริเริ่ม คิดค้น และพัฒนารูปแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และนำผลการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มาใช้แก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเป็นแบบอย่างที่ดีในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยได้ดำเนินการสร้างและพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และครอบคลุมทั้งด้านพุทธิพิสัยหรือด้านความรู้ (K), ด้านทักษะพิสัยหรือด้านทักษะ (P) และด้าน  เจตพิสัยหรือด้านเจตคติ (A) โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน, แบบทดสอบหลังเรียน, แบบประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สอดคล้องกับสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้ ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อปรับปรุง พัฒนา ตัดสินผลการเรียนรู้ ความก้าวหน้า และพัฒนาการของผู้เรียนที่สะท้อนระดับคุณภาพของผู้เรียน

            ผลการปฏิบัติงาน 

                ผู้เรียนร้อยละ 100 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สูงกว่าระดับที่คาดหวังคือ ร้อยละ 70 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน)  

                  ผู้เรียนร้อยละ 100 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป สูงกว่าระดับที่คาดหวังคือ ร้อยละ 80 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน)

1.6 ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้

       ข้าพเจ้ามีการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน และนำผลการศึกษา มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ไขปัญหานักเรียนที่ขาดทักษะทางภาษา และพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไทยให้มีคุณภาพ และพัฒนาผู้เรียนได้ตรงจุด   

            ผลการปฏิบัติงาน 

              ผู้เรียนร้อยละ 100 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน    สูงกว่าระดับที่คาดหวังคือ ร้อยละ 70  (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน)  

             ผู้เรียนร้อยละ 100 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป สูงกว่าระดับที่คาดหวังคือ ร้อยละ 80 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน)

1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน

           ข้าพเจ้ามีการริเริ่ม คิดค้น และพัฒนาการจัดบรรยากาศที่เหมาะสม สอดคล้องกับความแตกต่างผู้เรียนเป็นรายบุคคล สามารถแก้ไขปัญหาการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน โดยได้ดำเนินการจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมและเอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา อบรม    บ่มนิสัย ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทักษะชีวิตจากการให้ผู้เรียนได้ลงมือคิด ดำเนินกิจกรรม และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทักษะการทำงาน จากการปฏิบัติกิจกรรมที่มอบหมายทั้งลักษณะงานเดี่ยวและกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะและกระบวนการคิด ในการเรียนรู้อย่างสูงสุด ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน 

            ผลการปฏิบัติงาน 

              ผู้เรียนร้อยละ 100 มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน สูงกว่าระดับที่คาดหวังคือ ร้อยละ 80 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน) 

1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน

          ข้าพเจ้ามีการอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมความเป็นไทยที่ดีงาม โดยริเริ่ม คิดค้น และพัฒนารูปแบบการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียนได้ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน โดยได้ปลูกฝังค่านิยม และคุณลักษณะที่ดี เหมาะสมกับผู้เรียนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เรียนมีค่านิยมที่ดีงามและปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตลอดจน การส่งเสริมและเป็นแบบอย่างให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาที่ตนนับถือ สถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งที่โรงเรียนและชุมชนจัดขึ้น ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ เพื่อค้นหาความถนัดและความชอบของตน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความสุขของผู้เรียนเป็นสำคัญ

            ผลการปฏิบัติงาน 

              ผู้เรียนร้อยละ 100 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป สูงกว่าระดับที่คาดหวังคือ ร้อยละ 80 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน)