เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์  :: ครูพนมกร  ไพบูลย์กิจ

ข้อมูลผู้ประเมิน

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

  1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด      

           ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน  20  ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

                      รวมจำนวนชั่วโมง  33  ชั่วโมง/สัปดาห์


ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน  18  ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

                       รวมจำนวนชั่วโมง  33  ชั่วโมง/สัปดาห์

 งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

3. ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

          1) ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

          2) ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มี

ตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ครูจัดทำขึ้นในระดับมากขึ้นไป

  3.2 เชิงคุณภาพ

1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มีการพัฒนาในทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวการันต์เพิ่มขึ้น สามารถนำทักษะการอ่านและเขียนคำที่มี

ตัวการันต์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  

2) ครูได้นวัตกรรมที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3


เอกสารแบบรายงานข้อตกลง PA ปีงบประมาณ 2566

รูปภาพกิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชา ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)


ประเด็นท้าทายรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้ แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวการันต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้พื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน นักเรียนส่วนมากอ่านและเขียนคำที่มีตัวการันต์ไม่ได้ ทำให้นักเรียนไม่สนใจเรียน ขาดแรงจูงใจในการเรียน ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้สอนจึงได้คิดแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวการันต์ของนักเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning  ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ได้ฝึกอ่าน ฝึกเขียนเพิ่มมากขึ้น และใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้  

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1. ดำเนินการรวมกลุ่ม PLC  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

2.  ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียน

2.1 ศึกษาความต้องการ ความคาดหวัง คุณลักษณะ พฤติกรรมตัวบ่งชี้ และตัวชี้วัดของหลักสูตรภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 

2.2 วิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน

2.3 ศึกษาและเลือกนวัตกรรม

2.4 ออกแบบนวัตกรรม

2.5 การสร้างนวัตกรรม

2.6 นำนวัตกรรมไปใช้กับนักเรียน

รางวัลผลงานที่ภาคภูมิใจ

รางวัลหรือผลการพัฒนาตนเอง