รู้จักสาขาวิชา

สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ ได้รับการจัดตั้งเป็นสาขาวิชาหนึ่งของคณะทรัพยากรธรรมชาติเมื่อปี พ.ศ. 2560 สืบเนื่องจากการที่คณะทรัพยากรธรรมชาติได้มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานใหม่ (ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 10/2560 วันที่ 20 ธันวาคม 2560 และครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2561) โดยได้ยุบรวมภาควิชา 4 ภาควิชาเข้าด้วยกัน คือ ภาควิชาพืชศาสตร์ ภาควิชาธรณีศาสตร์ ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช และภาควิชาพัฒนาการเกษตร

สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ จัดหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก นอกเหนือจากภาระงานการเรียนการสอนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแล้ว บุคลากรของสาขาวิชาฯ ยังมีภารกิจการทำวิจัยและการบริการวิชาการสู่สังคมและชุมชน โดยแบ่งสาขาความเชี่ยวชาญออกเป็น 4 ด้าน หรือ 4 วิชาเอก คือ พืชศาสตร์ ปฐพีศาสตร์ การจัดการศัตรูพืช และพัฒนาการเกษตร

1. วิชาเอกพืชศาสตร์
จัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรพืช
โดยเฉพาะพืชที่ปลูกที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของภาคใต้ เช่น ไม้ผล ยางพารา ปาล์มน้ำมัน พืชผัก ไม้ดอก-ไม้ประดับ พืชอาหารสัตว์ ธัญพืช ฯลฯ โดยเน้นวิทยาการด้านเทคโนโลยีและระบบการผลิตแบบ Smart Farm สรีรวิทยา นิเวศวิทยา วัชพืช เมล็ดพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และเทคโนโลยีชีวภาพของพืชปลูก

@ หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ)

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชศาสตร์)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พืชศาสตร์)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน)

คณาจารย์วิชาเอกพืชศาสตร์

บุคลากรสายสนับสนุนวิชาเอกพืชศาสตร์

2. วิชาเอกปฐพีศาสตร์

จัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการเกี่ยวกับปฐพีวิทยา โดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรดินและการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตร เน้นการผลิตปาล์ม น้ำมัน ยางพารา ไม้ผลที่สำคัญของภาคใต้ และพืชผัก การพัฒนาวางแผนการใช้ทรัพยากรดินให้ถูกต้องตามศักยภาพอย่างมีคุณภาพ และสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรดินที่เสื่อมโทรมให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ ตลอดจนการเสริมสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรดิน

@ หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ)

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรดิน)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน)

คณาจารย์วิชาเอกปฐพีศาสตร์

บุคลากรสายสนับสนุนวิชาเอกปฐพีศาสตร์

3. วิชาเอกการจัดการศัตรูพืช

จัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการเกี่ยวกับแมลงและจุลินทรีย์ที่เป็นศัตรูพืช โดยเน้นเรื่องการจัดการควบคุม กำจัด และผลกระทบของสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมศัตรูพืชที่มีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม การนำเชื้อจุลินทรีย์และแมลงมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น การใช้แมลงกำจัดศัตรูพืช การผสมเกสร การเลี้ยงผึ้ง การใช้จุลินทรีย์ในการปรับปรุงดิน การควบคุมกำจัดแมลงศัตรูพืช การผลิตเห็ดชนิดต่างๆ โดยมุ่งเน้นการควบคุมกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการนำจุลินทรีย์และแมลงมาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร

4. วิชาเอกพัฒนาการเกษตร

จัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตร การถ่ายทอดนวัตกรรมทางการเกษตร การวิเคราะห์ระบบเกษตร
การพัฒนาธุรกิจเกษตร เพื่อสร้างการเกษตรสมัยใหม่ที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่และชุมชน ด้านการเรียนการสอน เน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีแนวคิดการวางแผนและปฏิบัติในการเป็นผู้ประกอบการอย่างสร้างสรรค์ ด้านการทำวิจัย เน้นแบบพหุวิทยาการและสหวิทยาการ การเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ชุมชนเพื่อให้ชุมชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรท้องถิ่น

@ หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ)

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาการเกษตร)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน)

คณาจารย์วิชาเอกพัฒนาการเกษตร