หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน

ชื่อปริญญา

🔴🟠🟡🟢🔵

ชื่อเต็ม

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน)

Doctor of Philosophy (Tropical Agricultural Resource Management)

ชื่อย่อ

ปร.ด. (การจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน)

Ph.D. (Tropical Agricultural Resource Management)

ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร

🔴🟠🟡🟢🔵

          หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน
มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ขั้นสูงทางด้านการจัดการทรัพยากรเกษตรในเขตร้อน  โดยจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ผ่านการศึกษาวิจัยที่มุ่งสู่ระบบการผลิตทางการเกษตรและการจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการ บนพื้นฐานความหลากหลายในภูมินิเวศของภาคใต้ ยึดหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development) หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency economy) และความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG (BCG economy model)  เพื่อให้ดุษฎีบัณฑิตของหลักสูตรฯ มีความสามารถในการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อนที่มีคุณภาพระดับสากล  ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนภาคใต้ สังคม ประเทศ และโลก  เป็นดุษฎีบัณฑิตที่มีวินัยและมีคุณธรรม สามารถแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานได้อย่างมีหลักการ เหตุผล สามารถร่วมงานกับบุคลากรในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี  และสามารถค้นคว้า สื่อสาร ถ่ายทอด ข้อมูลความรู้ทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

🔴🟠🟡🟢🔵

        มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

          ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือ การพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้องลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย

          จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ

สถิตินักศึกษา

🔴🟠🟡🟢🔵