มุมกล้อง และ ศัพท์เทคนิค

การกำหนดมุมกล้องได้ดีจะสามารถสื่อความหมายได้ดีตามไปด้วย

ขนาดภาพ

1. C.U. ย่อมาจาก Close up ชื่อในวงการเรียก ซียู

ภาพ Close up จะใช้สำหรับเจาะรายละเอียดบนใบหน้า (หรือส่วนอื่นๆก็ได้) เน้นความสำคัญเล็กในรายละเอียดของ object นั้นๆ ขนาดของภาพจะเห็นประมาณ หัวถึงคาง เรียกว่า CU ดังภาพ

2. M.S. ย่อมาจาก Medium Shot ชื่อในวงการคือ มีเดี้ยม

ภาพแบบ Medium Close up

ภาพขนาด Medium Shot จะเริ่มตั้งแต่หัวถึงเอว หรือลงมาอีกหน่อยถึงเข่าก็ได้ แยกย่อยเป็น Medium Close up, Medium Long shot และอื่นๆ

ภาพแบบ Medium Long shot

ภาพขนานนี้จะเน้นที่ตัว object รวม ๆ เห็นรายละเอียดในภาพรวม สามารถถ่ายทอดmovement ของ object ได้ในระดับหนึ่ง

3. L.S. ย่อมาจาก Long Shot ชื่อในวงการ ลองฉอต

ภาพ Long Shot เป็นภาพระยะไกล เห็นรายละเอียดของ สภาพแวดล้อม ว่าทำอะไรที่ไหน ส่วนใหญ่จะใช้เล่าเกี่ยวกับสถานที่ เวลา (ใช้ในการอื่นก็มีเหมือนกัน)

4. E L S ย่อมากจาก Extreme long shot ชื่อในวงการ เอ็กตร้าลองฉอต

ภาพขนาดกว้างมาก บางทีแทบจะไม่เห็นตัว Object เลยก็ได้ เน้นสถานที่ลูกเดียวให้เห็นถึงความกว้าง ความใหญ่ ความสูง หรือความแตกต่างระหว่าง สถานที่กับ object

5. E C U ย่อมาจาก Extreme Close Up ชื่อในวงการ เอ็กตรีมโคสสอัพ

ภาพขนาดใกล้มาก เก็บรายละเอียดเล็ก ๆ เช่น เม็ดเหงื่อบนจมูก ภาพสะท้อนในดวงตา บางที่เป็นฉากโคตรซูมเห็นชั้นผิวหนังว่ามีคอลาเจนในชั้นผิวมากน้อยแค่ไหนก็ได้

การถ่าย มุมกล้อง

1. Bird eye view (มุมเปรียบเสมือนสายตานก)

ภาพมุม Bird eye view คือ ภาพแทนสายตาของนกเวลามองวัตถุ (น่าจะเรียกมุมสูงนะ) สามารถถ่ายทอดความรู้สึกได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นหดหู่ หรือดูต่ำต้อย บางทีก็ใช้ภาพมุมสูงเพื่อให้เห็นความอลังการของฉากก็ได้ เช่น ภาพคนใส่สูทดำเป็นร้อยๆ คนมีคนทะลึ่งใสสีแดงอยู่คนเดียว อย่างนี้ใช้ภาพมุม Bird eye view จะเห็นได้ชัดมาก

หรือคำอธิบายอีกแบบหนึ่งก็คือ เป็นการตั้งกล้องในระดับเหนือศีรษะหรือเหนือวัตถุที่ถ่าย ภาพที่ถูกบันทึกจะเหมือนกับภาพที่นกมองลงมาด้านล่าง เมื่อผู้ชมเห็น ภาพแบบนี้จะทำให้ดูเหมือนกำลังเฝ้ามองเหตุการณ์จากด้านบน มุมกล้องในลักษณะนี้ จะทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนตกอยู่ในสถานการณ์ที่ช่วยเหลือ ตัวเองไม่ได้ เวิ้งว้าง ไร้อำนาจ ตกอยู่ในภาวะคับขัน ไม่มีทางรอด เพราะตามหลักความเป็นจริงแล้วมนุษย์เราจะเคยชินกับการยืน นั่ง นอน เดิน หรือใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนพื้นโลกมากกว่าที่จะเดินเหินยู่บนที่สูง และด้วยความ ที่มุมภาพในระดับนี้ไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดในฉากได้ครบ เพราะเป็นภาพที่มองตรงลงมา จึงทำให้ภาพรู้สึกลึกลับ น่ากลัว เหมาะกับเรื่องราวที่ยังไม่อยากเปิดเผยตัวละครหรือเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ

2. High-angle shot (มุมสูง)

High-angle shot คือ มุมสูงกล้องอยู่ด้านบนหรือวางไว้บนเครน (Crane) ถ่ายกดมาที่ผู้แสดง แต่ไม่ตั้งฉากเท่า Bird's-eye view ประมาณ 45 องศา เป็นมุมมองที่เห็นผู้แสดงหรือวัตถุอยู่ต่ำกว่า ใช้แสดงแทนสายตามองไปเบื้องล่างที่พื้น ถ้าใช้กับตัวละครจะให้ความรู้สึกต่ำต้อย ไร้ศักดิ์ศรี ไม่มีความสำคัญ หรือเพื่อเผยให้เห็นลักษณะภูมิประเทศหรือความกว้างใหญ่ไพศาลของภูมิทัศน์เมื่อใช้กับภาพระยะไกล (LS)

3. Eye-level shot (มุมระดับสายตา)

มุมระดับสายตา (Eye-level shot) เป็นมุมที่มีความหมายตรงตามชื่อที่เรียก คือคนดูถูกวางไว้ในระดับเดียวกับสายตาของตัวละครหรือระดับเดียวกับกล้องที่วางไว้บนไหล่ของตากล้อง โดยผู้แสดงไม่เหลือบสายตาเข้าไปในกล้องในระหว่างการถ่ายทำ มุมระดับสายตานี้ถึงแม้จะเป็นมุมที่เราใช้มองในชีวิตประจำวัน แต่ก็ถือว่าเป็นมุมที่สูงเล็กน้อย เพราะโดยปกติมักใช้กล้องสูงระดับหน้าอก ซึ่งเรียกว่า A chest high camera angle หรือเป็นมุมปกติ (normal camera angle) ไม่ใช่มุมระดับสายตา ซึ่งเป็นมุมที่คนดูคุ้นเคยกับการดูหนังบนจอใหญ่ที่ถ่ายดาราภาพยนตร์ให้ดูใหญ่เกินกว่าชีวิตจริง larger-than-life

4. Low-angle shot (มุมต่ำ)

Low-angle shot คือ มุมที่ต่ำกว่าระดับสายตาของตัวละคร แล้วเงยกล้องขึ้นประมาณ 70 องศา ทำให้เกิดผลทางด้านความลึกของซับเจ็คหรือตัวละคร มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมรูปทรงเรขาคณิตให้ความมั่นคง น่าเกรงขาม ทรงพลังอำนาจ ความเป็นวีรบุรุษ เช่น ช็อตของคิงคอง ยักษ์ ตึกอาคารสิ่งก่อสร้าง สัตว์ประหลาด พระเอก เป็นต้น

5. Worm eye view (มุมตาหนอน)

ภาพที่กล้องอยู่ต่ำกว่าวัตถุ (น่าจะเรียกภาพมุมต่ำนะ) แทนกล้องเป็นหนอนน้อย ภาพมุมนี้สามารถบอกว่า วัตถุดูน่ากลัว หรือยิ่งใหญ่ แค่ไหนได้ เช่น ในภาพ การถ่ายให้เห็นว่า องค์ครูบาศรีวิชัย ยิ่งใหญ่มากขนาดไหน ทำให้เห็นถึงบารมีที่ยิ่งใหญ่ของครูบาเจ้าศรีวิชัยนั่นเอง

และในเชิงข้อมูลจะบอกได้ดังนี้ คือ มุมที่ตรงข้ามกับมุมสายตานก (Bird's-eye view) กล้องเงยตั้งฉาก 90 องศากับตัวละครหรือซับเจ็ค บอกตำแหน่งของคนดูอยู่ต่ำสุด มองเห็นพื้นหลังเป็นเพดานหรือท้องฟ้า เห็นตัวละครมีลักษณะเด่น เป็นมุมที่แปลกนอกเหนือจากชีวิตประจำวันอีกมุมหนึ่ง

ลักษณะของมุมนี้ เมื่อใช้กับซับเจ็คที่ตกลงมาจากที่สูงสู้พื้นดิน เคลื่อนบังเฟรม อาจนำไปใช้เป็นตัวเชื่อมระหว่างฉาก (Transition) คล้ายการเฟดมืด (Fade out)

ดังนั้นเทคนิคการถ่ายภาพหรือการใช้มุมกล้องข้างต้นนี้ สามารถนำไปใช้ ในการถ่ายรูป ต่างๆ ให้มีความสายงามได้ และนอกจากนั้นมุมกล้องหรือเทคนิคเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์ ละคร mv ต่างๆ ได้อีกด้วย

การเคลื่อนไหวกล้อง

1. Pan (แพน)

เป็นเทคนิคการเคลื่อนกล้องจากซ้าย ไป ขวา หรือ ขวามาซ้ายก็ได้ เราจะ เรียกว่า แพน ใช้ในหลายกรณีมากๆไม่ว่าจะเป็นบอกเรื่องราว เชื่อมระหว่างสถานที่หนึ่งไปอีกสถานที่หนึ่ง เช่น การหันกล้องตามวัตถุ ที่กำลังเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่ หนึ่ง โดยกล้องจะอยู่ที่จุดเดิม

2. Tilt (ทิ้ว)

จะคล้ายกับ Pan แต่เปลี่ยนเป็น จาก บนลงล่าง เรียกว่า Tilt down หรือ ล่างขึ้นบน เรียกว่า Tilt up ก็ได้ คือว่า การที่ กล้องจะอยู่กับที่ แล้วใช้วิธีการเงยกล้องหรือก้มกล้องตามวัตถุหรือ Tilt ไปหาวัตถุก็ได้ เช่น การ Tilt จากท้องฟ้า ลงมา หาบ้าน การถ่ายแบบนี้ในภาพยนตร์ส่วนมากจะใช้ในการเปิดเรื่อง ส่วนการ Tilt จากล้างขึ้นบน เช่น การถ่ายคู่พระนาง กำลังกอดกัน แล้วกล้อง Tilt ขึ้นไปหาท้องฟ้า แล้วมีตัวหนังสือปรากฏ ว่า จบบริบูรณ์ แบบนี้จะเป็นถ่ายบอกว่าจบแล้ว เป็นต้น

3. Tracking (แทรค)

การแทรค (Tracking) หรือเรียกอีกอย่างว่า การทรัก (Truck) ก็ได้ การแทรคเป็นการเคลื่อนกล้องจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง ใช้ในการติดตามผู้แสดงหรือสำรวจตรวจตราพื้นที่ (space) เป็นการเคลื่อนไหวติดตามตัวละคร หรือวัตถุที่เคลื่อนที่ การแทรคจะไม่เหมือนการแพน การแทรค กล้องจะเคลื่อนที่ตามวัตถุไปด้วย เช่น การตั้งกล้องอยู่บนรถยนต์ และถ่ายคนกำลังปั่นจักรยาน การแทรคแบบนี้จะทำเป็นแบบการขนานด้านข้าง แล้วเคลื่อนที่ไปพร้อมๆ กันกับวัตถุ ไปพร้อมๆ กัน เป็นต้น

4. Dolly (ดอลลี่)

การดอลลี่ (Dolly) คือ การเคลื่อนกล้องเข้าหาผู้แสดงหรือออกจากผู้แสดง เรียกว่า Dolly in และ dolly out แต่ในปัจจุบันความหมายระหว่าง dolly กับ track นั้นใช้ปะปนกัน ดังเช่นผู้กำกับบางคนเรียกการเคลื่อนกล้องที่ใช้ยานพาหนะพาไป เช่น รถยนต์ รถจักรยาน เป็นดอลลี่ช็อต หรือแทรคกิ้งช็อต (tracking shot หรือ traveling shot) ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อง่ายต่อความเข้าใจของทีมงาน

5. Handheld Camera (การถือกล้องถ่าย)

การถือกล้องถ่ายภาพ เป็นการเคลื่อนที่กล้องที่ทำให้ภาพไหวอยู่ตลอดเวลา ลักษณะเป็นการถ่าย ภาพที่ไม่เป็นแบบแผนเหมือนการเคลื่อนกล้องแบบอื่น ๆ ซึ่งให้ความรู้สึกว่าคนดูอยู่ ณ ที่นั้น หรือมีส่วนร่วมในเหตุการณ์นั้น โดยใช้กล้องถ่ายทอดความสับสนอลหม่าน ฉุกเฉิน รวดเร็วของแอ็คชั่น แต่อย่างไรก็ตาม การถือกล้องถ่ายภาพหากใช้ไม่ถูกกาลเทศะ อาจเป็นตัวทำลายภาพยนตร์ได้