1.1 ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียนพุนพินพิทยาคม ที่ตั้ง เลขที่ ๑๒๕ หมู่ที่ ๓ ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๑ โทร๐-๗๗๓๑-๑๓๒๑ โทรสาร ๐-๗๗๓๑-๑๙๙๙ e-mail: website: www.phunphin.ac.th เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เนื้อที่ ๓๙ ไร่ ๓ งาน ๓๖ ตารางวา เขตพื้นที่บริการ ตำบลต่าง ๆ ในอำเภอพุนพิน ได้แก่ ตำบลท่าข้าม ตำบลลีเล็ด ตำบลท่าโรงช้าง ตำบลมะลวน ตำบลหัวเตย ตำบลหนองไทร

1.2 ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

โรงเรียนพุนพินพิทยาคม เริ่มก่อตั้งตามโครงการขยายโรงเรียนมัธยมสามัญศึกษาในอำเภอ ต่างๆ ตามแผนการศึกษาชาติฉบับใหม่ โดยการประสานงานของ นายศรพล คล้ายอุดม ศึกษาธิการ อำเภอพุนพิน ร่วมกับนายอดิเรก ศรีสุภผล นายอำเภอพุนพิน ขณะนั้น

๑๐ มิถุนายน ๒๔๗๙ เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในระดับชั้นมัธยมปีที่ ๑ (ป.๕ ปัจจุบัน) มีนักเรียนจำนวน ๔๕ คน โรงเรียนจึงถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนาโรงเรียน โดยใช้อักษรย่อ “ส.ฎ.๘” และได้รับการอนุเคราะห์จากพระอธิการเผื่อน กัสสโป(หลวงพ่อทอง)เจ้าอาวาสวัดท่าข้ามให้ใช้หอฉัน เป็นสถานที่เรียนโดยมี นายสมบูรณ์ สวนานนท์ ครูใหญ่โรงเรียนวัดตรณารามเป็นผู้รักษาการแทน ครูใหญ่และปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอน ระยะหลังมีนายสมนึก อินทวิเศษ นางสาวสันธนา วัชราภรณ์ นาย บุญ ศรีช่วย นางสาวสุนันท์ เหล่ากูล มาเป็นครูช่วยสอน ๑๑ กันยายน ๒๔๙๗ ราชการได้บรรจุ นาย ประคอง ทองนพคุณ มาดำรงตำแหน่งนักการภารโรง ถือเป็นนักการภารโรงคนแรกของโรงเรียน ๑๕ มิถุนายน ๒๔๙๘ ราชการได้บรรจุแต่งตั้ง นายอำนวย คงสำราญ มาปฏิบัติการสอน ซึ่งถือเป็นครูผู้สอน คนแรกของโรงเรียน ๒๐ กันยายน ๒๔๙๘ราชการได้บรรจุแต่งตั้งนายนาวีรักษาพราหมณ์มาปฏิบัติหน้าที่ครูใหญ่ ถือเป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรก

๒๐ ธันวาคม ๒๔๙๙ โรงเรียนได้ย้ายสถานที่เรียนจากหอฉันวัดท่าข้าม มาเรียนในอาคารเรียน ชั่วคราวบนที่ดินของโรงเรียนปัจจุบัน โดยได้รับการอนุเคราะห์เรือฉลอมและเรือลากจูงจากนายเห้ง – นางกิมเลี่ยน และนายเชี้ยง วัชราภรณ์ ขนสัมภาระมาขึ้นท่าน้ำในสถานที่ตั้งปัจจุบันในปีเดียวกันนี้ ราชการได้อนุมัติงบประมาณจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.๔ ขนาด ๔ ห้องเรียน ๑ หลัง ต่อมาชุมชนได้ร่วมกันต่อเติมอาคารเรียนเป็น ๙ ห้องเรียน เนื่องจากมีปริมาณ นักเรียนเพิ่มขึ้น พ.ศ.๒๕๑๘ ราชการได้อนุมัติงบประมาณจำนวน ๘๐๐,๐๐๐ บาท ในการก่อสร้าง อาคารเรียน แบบ ๐๑๗ จำนวน ๑ หลัง ปัจจุบันยังคงมีอยู่

๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติ จัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ จึงได้ยุบเลิกการเรียนการสอนเป็นระดับประถมศึกษาตอน ปลาย (ป.๕–ป.๗) และได้เปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.๑) เป็นปีแรกและเปลี่ยน ชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนพุนพินพิทยาคม” โดยใช้อักษรย่อ“พ.ค.”มีนักเรียนเข้าเรียน จำนวน๙๐คน และ ราชการได้แต่งตั้งว่าที่ร.ต.สมโพธิพรหมหิตาทร มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๔ เปิดสอน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

สภาพชุมชนโดยรวม

ลักษณะชุมชนโดยรวมของโรงเรียนพุนพินพิทยาคม ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัด สุราษฏร์ธานี มีพื้นที่ ๔๘.๔๘ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓๐,๔๓๗.๕๐ ไร่ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำตาปีและแม่น้ำพุมดวงไหลผ่าน มีแหล่งชุมชนสำคัญ ๓ แห่ง คือ ชุมชนบนควน ชุมชนมุ่งพัฒนา และชุมชนท่าทราย ซึ่งเป็นชุมชนแออัด ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและขายแรงงานทั่วๆ ไป

ลักษณะอาชีพและเศรษฐกิจ

แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม

๑. กลุ่มอุตสาหกรรมพาณิชย์ ฐานะค่อนข้างดี

๒. กลุ่มพนักงาน ลูกจ้างรัฐ เอกชน แรงงานชั้นกลาง ฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง

๓. กลุ่มเกษตรกรรมและแรงงานชั้นต่ำ ฐานะยากจน

การสื่อสารและคมนาคม

๑. การคมนาคม มีการคมนาคมสะดวกทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ

๒. มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ๑ แห่ง

๓. มีสถานีวิทยุกระจายเสียง ๑ แห่ง (จ.ส.๒)


กลุ่มบริหารทั่วไป โรงเรียนพุนพินพิทยาคม

การบริหารทั่วไปเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบบริหารองค์กร ให้บริหารงานอื่นๆ บรรลุผลตามมาตรฐาน คุณภาพและเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีบทบาทหลักในการประสานส่งเสริมสนับสนุนและการอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการให้บริการการศึกษาทุกรูปแบบ มุ่งพัฒนาสถานศึกษา ตามหลักการบริหารงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลักโดยเน้นความโปร่งใสความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ตลอดจน การมีส่วนร่วมของบุคคล ชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้จัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

งานอาคารสถานที่

หน้าที่ ความรับผิดชอบ และแนวปฎิบัติ

1. วิเคราะห์สภาพงานอาคารสถานที่ ศึกษาระเบียบ กฎหมาย แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

2. วางแผนและจัดทำแผนงาน โครงการและมาตรฐานการปฏิบัติงานของงานอาคารสถานที่

3. จัดระบบงานอาคารสถานที่ ลดขั้นตอนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานให้เหมาะสม

4. ปฏิบัติงานและวางแผน เพื่อพัฒนางานอาคารสถานที่ และเพื่อปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่ งานสาธารณูปโภค ให้เรียบร้อยสวยงาม และใช้การได้ดีอยู่เสมอ

5. ควบคุม ดูแล นิเทศ วินิจฉัย อบรมตักเตือนและสั่งการนักการภารโรง ให้ปฏิบัติหน้าที่ ตามระเบียบ และแนวปฏิบัติที่วางไว้

6. จัดทำระเบียบแนวปฏิบัติการใช้อาคารสถานที่ การใช้สาธารณูปโภค ปรับซ่อมอาคารสถานที่ วัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ

7. จัดหา ดูแลรักษา ซ่อมแซมสิ่งก่อสร้าง อาคารสถานที่วัสดุ ครุภัณฑ์ สาธารณูปโภค และ บริเวณทั่วไป ของโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย ใช้การได้ดีอยู่เสมอ

8. รับผิดชอบ จัดระบบและควบคุมเมื่อมีการขอใช้อาคารสถานที่ สาธารณูปโภค รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการใช้ เพื่อการบริการในสถานศึกษา และบริการชุมชนทั่วไป โดยไม่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของทางราชการ

9. กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของนักการ ให้ดูแลรักษาอาคารสถานที่ราชการทั้งในและนอกเวลาราชการ จัดให้มีการปฏิบัติหน้าที่แทนในกรณีที่มีนักการภารโรง ขาด หรือลาราชการ

10. ควบคุมการใช้ การเก็บรักษา ซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องใช้งานอาคารสถานที่ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี

11. กำกับ ควบคุมดูแล แก้ปัญหาและพัฒนาปรับปรุงงานให้เป็นไปตามกฎระเบียบ และเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานของงานอาคารสถานที่

12. ประเมินผลการปฏิบัติงาน และรายงานผล เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการปฏิบัติงาน

13. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรืองานที่ได้รับมอบหมาย

งานยานพาหนะ

หน้าที่ ความรับผิดชอบ และแนวปฎิบัติ

1. สำรวจความจำเป็นและจัดทำโครงการ งบประมาณค่าน้ำมัน ซ่อมบำรุงรักษารถทุกคัน

2. ควบคุมดูแลพนักงานขับรถยนต์ในการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆตามที่ได้รับมอบหมาย

3. ควบคุมดูแลการบำรุง รักษาให้รถยนต์อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้เสมอ เมื่อตรวจพบรถยนต์อยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์จำเป็นต้องซ่อมให้รายงานให้หัวหน้ากลุ่มบริหารงานทั่วไปทราบ

4. ควบคุม ดูแล การรับ-ส่งหนังสือ เอกสารระหว่างโรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆของพนักงานขับรถยนต์

5. ควบคุม ดูแลพนักงานขับรถในเวลาที่ไม่มีหน้าที่ต้องบริการใช้รถ ให้อยู่ประจำสำนักงานกลุ่ม บริหารงานทั่วไป

6. ทำทะเบียนหลักฐานการใช้รถ ตามที่โรงเรียนกำหนดให้บันทึกการใช้รถเป็นประจำและเป็นปัจจุบัน

7. ช่วยเหลืองานทั่วๆไป ตามที่กลุ่มบริหารงานทั่วไปมอบหมาย

8. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรืองานที่ได้รับมอบหมาย

งานประชาสัมพันธ์

หน้าที่ ความรับผิดชอบ และแนวปฎิบัติ

1. วางแผนและจัดทำแผนงาน โครงการและมาตรฐานการปฏิบัติงานของงานประชาสัมพันธ์

2. ดำเนินงานตามโครงการ

3. ประชาสัมพันธ์การศึกษา เป็นพิธีกร ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

3. ให้การต้อนรับและให้ข้อมูลกับบุคคลที่มาเยี่ยมชมโรงเรียน

4. จัดทำวารสาร และเอกสารสิ่งพิมพ์ของโรงเรียน

5. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย