ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ แก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้) 

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ปัญหาการเขียนตัวแปรด้วยโปรแกรมภาษา Python ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะ 

 ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคมที่ผ่านมา พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีทักษะการเขียนโปรแกรมภาษา Python ได้ แต่เมื่อเป็นการให้เขียนโปรแกรมในรูปแบบกำหนดโจทย์ปัญหาในการเขียนโปรแกรมนักเรียนไม่สามารถวิเคราะห์โจทย์ของการเขียนโปรแกรมได้ และส่งผลทำให้การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python ไม่ถูกต้อง

ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ปัญหาการเขียนตัวแปรด้วยโปรแกรมภาษา Python ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถวิเคราะห์และหาคำตอบโจทย์ปัญหาการเขียนโปรแกรมภาษา Python ได้ 

 2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียน และตัวชี้วัด จัดทำคำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา และเนื้อหารายวิชา เรื่อง การแก้ปัญหาการเขียนตัวแปรด้วยโปรแกรมภาษา Python

2.2 จัดทำโครงร่างแบบฝึกทักษะการเขียนโปรแกรม รายวิชาคอมพิวเตอร์ 2 และแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน เรื่อง การแก้ปัญหาการเขียนตัวแปรด้วยโปรแกรมภาษา Python

2.3 ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้อำนวยการ ตรวจสอบความถูกต้อง ในเนื้อหา การเฉลยของแบบฝึกทักษะและแบบทดสอบหลังเรียน พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข

2.4 ครูผู้สอนนำแบบฝึกทักษะวิชาคอมพิวเตอร์ 2 เรื่อง การแก้ปัญหาการเขียนตัวแปรด้วยโปรแกรมภาษา Python ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะ มาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้อำนวยการโรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม

2.5 นำแบบฝึกทักษะวิชาคอมพิวเตอร์ 2 เรื่อง การแก้ปัญหาการเขียนตัวแปรด้วยโปรแกรมภาษา Python ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ทั้งในรูปแบบ ONLINE หรือ ONSITE โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท

2.6 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ ลงในโปรแกรม Google Classroom พร้อมจัดทำเป็นสารสนเทศและสะท้อนผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทราบเป็นระยะ หากมีผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จะใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน และสอนซ่อมเสริมหลังเลิกเรียน พร้อมทั้ง ให้ฝึกปฏิบัติโดยการย้ำซ้ำทวนเพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้ผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

3.1 เชิงปริมาณ

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ 2 เรื่อง การแก้ปัญหาการเขียนตัวแปรด้วยโปรแกรมภาษา Python ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะ โดยมีคะแนนผลการทดสอบ เรื่อง การแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มคิดเป็น ร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

3.2 เชิงคุณภาพ

- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์การแก้ปัญหาการเขียนตัวแปรด้วยโปรแกรมภาษา Python สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเชื่อมโยงในชีวิตประจำวัน

- มีแบบฝึกทักษะ เรื่อง การแก้ปัญหาการเขียนตัวแปรด้วยโปรแกรมภาษา Python สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้


การพัฒนางานตามข้อตกลง (PA)

สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

(รอบการประเมิน ระหว่างวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2565)