ผู้จัดทำข้อตกลง

นายบุญชอบ  ลี้มงคลเลิศ

ตำแหน่ง  ครู     วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุศ 4  

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 24 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา

- กลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย/รายวิชาภาษาไทย จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์/รายวิชาคณิตศาสตร์     จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์/รายวิชาวิทยาศาสตร์    จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์/รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ/รายวิชาสังคมศึกษาฯ     จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ/รายวิชาประวัติศาสตร์    จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ/รายวิชาการป้องกันการทุจริต จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา/รายวิชาสุขศึกษา จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ/รายวิชาทัศนศิลป์              จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ/รายวิชาศิลปะเพิ่มเติม         จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ/รายวิชาการงานอาชีพ         จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ/รายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์


กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- ลูกเสือ-เนตรนารี                        จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- แนะแนว                             จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ส่งเสริมคุณธรรม                         จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์


####################################################

คำสั่งแต่งตั้งครูเข้าสอนภาคเรียนที่ 2/2564

####################################################

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน                  จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม                          จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เวรประจำวัน                                            จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยี่ยมบ้าน ปีการศึกษา 2566

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา ภาคเรียนที่ 1/2565

คำสั่งแต่งตั้งครูเวรประจำวัน ภาคเรียนที่ 2/2564

####################################################

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน  10 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป

- หัวหน้างานประชาสัมพันธ์                      จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เจ้าหน้าที่งานเทคโนโลยีการศึกษา               จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เจ้าหน้าที่งานโสตทัศนศึกษา                       จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่งานตามสายงานบริหารราชการโรงเรียน ประจําปีการศึกษา 2564และปีการศึกษา 2565

####################################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง การใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/5

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                    ตามที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2  ให้ครูในสังกัดได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid-19 ) ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564  ดังนั้น 

   ข้าพเจ้า นายบุญชอบ  ลี้มงคลเลิศ  ตำแหน่ง ครู  ผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/5  รับผิดชอบทำการสอนให้กับนักเรียนทั้งหมด จำนวน 28 คน  ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้เป็นตามปกติได้  จึงทำให้ทางโรงเรียนได้เลือกรูปแบบวิธีการสอน แบบ On-Hand และ การเรียนการสอนแบบ Online (Line meeting)  จากการจัดกิจกรรมดังที่กล่าวมานั้นทำให้พบปัญหาส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชาภาษาไทย ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับที่ยังไม่เป็นที่

น่าพอใจในหลายเนื้อหา หรือมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ คือร้อยละ 60 คะแนนเฉลี่ย

การทดสอบประจำบทเรียนในแต่ละหน่วย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ถูกกำหนดให้เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักในช่วงสถานการณ์โควิด Covid-2019 ซึ่งต้องสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรสมรรถนะที่นักเรียนต้องรู้และควรรู้ตามตัวชี้วัด จากการนำผลตรวจแบบฝึกหัด/ใบงานในเนื้อหา ที่เป็นภาระงานให้นักเรียนได้ทำการเรียนจึงสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงให้เห็นว่านักเรียนยังขาดความเข้าใจไม่มีความรู้พื้นฐานและความรู้ทางภาษาไทย ข้อปัญหาที่พบ คือ นักเรียนจะไม่สามารถอ่านและเขียนจับใจความสำคัญได้ถูกต้อง ขาดความมั่นใจในการอ่านและการเขียนคำที่ถูกต้อง จึงทำให้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักเรียนขาดความสนใจในการเรียน นักเรียนส่วนมากยังขาดทักษะในการอ่านและการเขียนจับใจความสำคัญ ซึ่งอาจจะเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการฝึกทักษะการอ่านและการเขียนอย่างไม่ต่อเนื่อง จึงทำให้ขาดความคิดรวบยอด การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ในการเรียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร 

ดังนั้นจึงทำให้เกิดผลกระทบถึงการเรียนในเนื้อหาอื่นๆ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไขในการฝึกทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนจับใจความสำคัญ ซึ่งเป็นแนวทางในการอ่านและเขียนตอบคำถามเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนในเนื้อหาต่อไป ปัญหาที่พบในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/5 ตลอดมา นักเรียนไม่สามารถอ่านเรื่องและเขียนคำตอบจากเรื่องได้ถูกต้อง แนวทางในการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนคำ ทำได้หลายวิธี เช่น พัฒนาหลักสูตร ฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำโดยใช้แบบฝึกทักษะ โดยครูต้องปรับวิธีการสอนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการสอน Active learning มุ่งให้ผู้เรียนรักการเรียน รู้จักคิดวิเคราะห์ แสวงหาความรู้ และรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง  

ซึ่งนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการพัฒนาการอ่านและการเขียนของนักเรียน ควรมีลักษณะกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ท้าทายความสามารถ ให้เข้าใจง่ายในบทเรียน มีภาพประกอบ ออกแบบให้สวยงามและสามารถฝึกฝนเรียนรู้และปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนมีความสุขและเรียนรู้แบบสนุก ไม่เบื่อในการเรียน  ตลอดจนนักเรียนสามารถทบทวนเนื้อหาได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะการอ่านและ

การเขียนของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                    1. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนชุมพลโพนพิสัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่จะนำมาพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
=> เอกสารข้อ 1 เพิ่มเติม

                    2. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ทฤษฎีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning) และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
=> เอกสารข้อ 2 เพิ่มเติม

                    3. วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลเพื่อจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างของผู้เรียน
=> เอกสารข้อ 3 เพิ่มเติม

                    4. จัดทำหน่วยการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอน และแบบทดสอบทักษะความคิดสร้างสรรค์
=> เอกสารข้อ 4 เพิ่มเติม

                    5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเทคนิคการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีขั้นตอน ดังนี้

                  5.1 ทดสอบทักษะความคิดสร้างสรรค์ ก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
=> เอกสารข้อ 5.1 เพิ่มเติม

                  5.2 จัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

                            ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ  เป็นการกระตุ้นเชิงบวกที่ส่งผลให้ผู้เรียนสนใจ อยากเรียน อยากรู้อยากค้นหาคำตอบ และตื่นตัวในการค้นหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การนำปัญหาที่ผู้เรียนสนใจมาตั้งเป็นหัวข้อ ให้ค้นคว้า หรือใช้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน หรือสิ่งที่ผู้เรียนสนใจเป็นตัวกระตุ้น ด้วยวิธีนี้เด็กจะ ไม่ได้เรียนเพื่อสอบ แต่เรียนเพื่อรู้ และความรู้ที่เด็กค้นหาก็สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้จริง กระตุ้นการเรียนด้วย สื่อ คลิป วิดีโอเกม เป็นตัวเลือกที่ดีมากในการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เพราะเด็กได้ฝึกทักษะการสื่อสาร ด้านปฏิสัมพันธ์  การทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักแพ้ ชนะ และรู้จักปรับปรุงแก้ไขตนเองมากกว่าการคิดเอาชนะ อย่างเดียว

                            ขั้นที่ 2 ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่ม  เนื้อหาที่สอนมีประโยชน์อะไร หรือจะนำไปใช้งานเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงอย่างไร การนำปัญหาในชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง เช่น อ่านออกเสียงผิดจะทำให้ความหมายผิดตามไปด้วยหรือไม่

                            ขั้นที่ 3 ค้นคว้าและคิด  หนึ่งในบริบทของ CBL คือการให้ความสมัครใจ ความสนใจ และความร่วมมือกันของเด็ก ดังนั้นการแบ่งกลุ่มเพื่อค้นและคิดจึงให้แบ่งตามความสนใจ ซึ่งจะทำให้เด็กร่วมกันค้นคว้าในเรื่องที่ตนสนใจ เป็นการค้นหาด้วยความ “อยากรู้” ครูตั้งปัญหาให้แต่ละกลุ่มค้นคว้าเรื่องที่แตกต่างกัน เพราะจะทำให้เด็กได้ความรู้ นอกเหนือจากเรื่องที่ตนค้นหามาเอง และไม่เบื่อที่จะฟังกลุ่มอื่นนำเสนอ

                            ขั้นที่ 4 นำเสนอ  หลังจากที่ได้ค้นคว้าหาข้อมูลและร่วมกันคิดหาข้อสรุปแล้ว ผู้เรียนจะออกมานำเสนอผลงานทีละกลุ่ม ยิ่งผู้เรียนมีโอกาสนำเสนอบ่อย ๆ ก็ยิ่งเพิ่มพูนทักษะการนำเสนอส่วนสมาชิกในกลุ่มก็เกิดทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการค้นคว้า และทักษะการคิด ครูส่งเสริมทักษะต่าง ๆ โดยสนับสนุนและเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถตามความถนัดให้กับผู้เรียน เช่น นำเสนอด้วย PowerPoint

พูดคนเดียว อภิปรายกลุ่มหรือนำเสนอเป็นโปสเตอร์แชร์ลง Facebook แชร์ลงเพจ หรือนำเสนอทางโซเชียลมีเดีย ครูกำหนดกติกาของห้องเรียน เช่น ต้องฟังเวลาเพื่อนนำเสนอครูอาจใช้วิธีถามผู้เรียนกลุ่มอื่น ๆ ทันที่หลังจากจบการนำเสนอหรือให้ผู้เรียนต่างกลุ่มถามคำถาม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ตั้งใจฟัง ควรให้เวลากับการถามตอบ เพราะเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้นำเสนอและผู้ฟัง ได้ทบทวนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำเสนอครูช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไขได้

                            ขั้นที่ 5 ประเมินผล  การประเมินผลจึงจำเป็นต้องทำให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้านได้แก่ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attributes) และควรแยกแสดงผลแต่ละด้าน โดยไม่นำมาร่วมกัน เพื่อให้ผู้เรียนใช้ผลการประเมินไปพัฒนาตนเอง
=> เอกสารข้อ 5.2 เพิ่มเติม

                  5.3 ทดสอบทักษะความคิดสร้างสรรค์ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
=> เอกสารข้อ 5.3 เพิ่มเติม

                    6. ให้ผู้เรียนทำแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนวิชาเทคโนโลยี ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
=> เอกสารข้อ 6 เพิ่มเติม

                    7. รวบรวมข้อมูลของแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำมา วิเคราะห์และปรับปรุงแก้ไขในประเด็นต่าง ๆ
=> เอกสารข้อ 7 เพิ่มเติม

                    8. นำผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มสาระฯ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและหาแนวทางการพัฒนา
=> เอกสารข้อ 8 เพิ่มเติม

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/5 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ร้อยละ 60 มีความรู้จากการอ่านและการเขียนจับใจความสำคัญ ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาภาษาไทยที่สูงขึ้น



เชิงคุณภาพ 

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/5 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 มีความรู้เรื่อง การอ่านและการเขียนจับใจความสำคัญ ในระดับ ดี สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น หลังจากที่ได้ฝึกทำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำจับใจความสำคัญ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้

VID20220805135824.mp4
VID20220805151435.mp4

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

นางศิรภัสสร  ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นายณฐวรรฏ  เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2




นางสาวสุพัฒนา  ทวีเดช

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2


นางนีรชา  ทับประดิษฐ์

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2