⭐ ข้อมูลผู้ประเมิน ⭐
🚩 ชื่อ นางสาวทิพย์วรรณ นามสกุล ทัศนา 🚩 ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
🚩 สถานศึกษา โรงเรียนปากท่อพิทยาคม
🚩 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
🚩 รับเงินเดือนในอันดับ คศ.2
🚩 ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน
ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแหน่งครู วิทยฐานะ ชำนาญการ ซึ่งเป็นตำแหน่ง ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 17 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- รายวิชา ภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 ชั่วโมง/สัปดาห์
- รายวิชา ภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
- กิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรมชุมนุมห้องสมุด จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ รวมจำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
- การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางอาชีพ (PIC) จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
-กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 19 ชั่วโมง/สัปดาห์
- งานห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
- จัดทำสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- งานวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษา จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- งานเวรประจำวัน จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
-งานประชาสัมพันธ์ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
- หัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- คณะกรรมการผู้ปฏิบัติกิจกรรม จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- ดำเนินงานตอบสนองนโยบายจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
ของ สพม.ราชบุรี, รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ
และส่วนราชการต้นสังกัด
2. งานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
👉 ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น
🚩ประเด็นท้าทาย เรื่อง ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น ในรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
การอ่านมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน เพราะการอ่านช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ และความคิด บุคคลที่มีสมรรถนะการอ่านอย่างแท้จริงย่อมสามารถนำประสบการณ์ ความรู้และความคิดไปใช้ประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและสังคมได้เป็นอย่างดี นอกจากยังเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยให้สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ
จากการศึกษาผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ในรายวิชาภาษาไทย พบว่า สาระการอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน นักเรียนมีผลคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน 40.28 ต่ำกว่าระดับประเทศ 48.10 ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีปัญหาในการอ่านอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความพร้อมทางร่างกายและสติปัญญาของนักเรียน นักเรียนขาดความรู้พื้นฐานในการอ่านจับใจความ นักเรียนอ่านแล้วจับใจความสำคัญของเรื่องไม่ได้ รูปแบบเทคนิคการสอนของครูไม่น่าสนใจ สื่อที่นำมาใช้สอนไม่น่าสนใจ เนื้อหาที่นำมาสอนอ่านยากเกินไป ปัญหาดังกล่าวนั้น ควรเร่งปรับปรุงคุณภาพและเสริมสร้างทักษะการอ่านของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นชั้นที่เหมาะสำหรับ การพัฒนาพื้นฐานการฝึกทักษะ การอ่านอย่างถูกต้องจากง่ายไปสู่ยาก เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการอ่านจับใจความสำคัญที่ดีขึ้น
จากเหตุผลดังกล่าว การเลือกวิธีสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาการอ่าน ครูผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเทคนิคบันได 6 ขั้น ที่พัฒนาขึ้นโดยอาจารย์เสกสันต์ ผลวัฒนะ อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิธีการอ่านที่ดำเนินการตามขั้นตอน 6 ขั้นตอน ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิด เป็นวิธีสอนอ่านที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านได้ดี สามารถคาดเดา เข้าใจแนวคิดเรื่องที่อ่านได้อย่างรวดเร็ว จดจำเรื่องที่อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการสอนทั้ง 6 ขั้นตอน มีความสำคัญต่อการเรียนภาษาไทย เพราะสามารถพัฒนาทักษะทางภาษา ทั้งการอ่าน การฟัง การพูดและการเขียนไปพร้อม ๆ กัน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาการอ่านจับใจความดีขึ้นได้ นอกจากนั้นยังเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพนำไปสู่ทักษะการอ่านขั้นสูง เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ในรายวิชาอื่น ๆ ต่อไป
2.วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
2.1 วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
1. เพื่อเปรียบเทียบและพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิค
บันได 6 ขั้น
2.เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น
2.2 วิธีการดำเนินการ
การวางแผน (PLAN)
1. วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรสถานศึกษา
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีการประชุม วางแผน วิเคราะห์ผู้เรียนในรายวิชา และระดับชั้นที่รับผิดชอบ เพื่อนำไปวางแผนพัฒนาผู้เรียนด้วยกระบวนการ PDCA
3. ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (ACTIVE LEARNING) ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แล้วจัดทำ
หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักการที่จะพัฒนาผู้เรียนและชุดกิจกรรมแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 5 รวมถึงสื่อการเรียนรู้และเครื่องมือที่จะใช้ในการวัด แบบทดสอบ จากนั้นนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการเทคนิคบันได 6 ขั้น และสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนของนักเรียน
4. บันทึกผลการเรียนรู้สรุปผลการวัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน จัดทำสารสนเทศข้อมูลดังกล่าว แล้วแจ้งให้ผู้เรียนทราบเพื่อดำเนินการต่อไป กรณีผู้เรียนไม่ผ่านจะมีการดำเนินการพัฒนาหรือซ่อมเสริมในส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินให้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100
5. ประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้เรียน เพื่อนำผลที่ได้นั้น มาพัฒนา ปรับปรุง หรือ แก้ไข การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือสื่อการเรียนการสอนให้สมบูรณ์และมีคุณภาพสูงมากขึ้น
การปฏิบัติ (DO)
1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน 2. ให้ความรู้ ศึกษาทำความเข้าใจและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ใช้กระบวนการพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น ซึ่งประกอบด้วยเทคนิคดังนี้
เทคนิคบันไดขั้นที่ 1 การอ่านเรื่องให้จบ ตั้งคำถาม 5W1H
เทคนิคบันไดขั้นที่ 2 การหาคำ สำคัญ (Key Words)
เทคนิคบันไดขั้นที่ 3 การตัดส่วนขยายใจความสำคัญ
เทคนิคบันไดขั้นที่ 4 การเติม คำเชื่อมหาส่วนขยายใจความสำคัญ
เทคนิคบันไดขั้นที่ 5 การสังกตคำเชื่อมแสดงความขัดแย้ง
เทคนิคบันไดขั้นที่ 6 การหาใจความสำคัญได้ทุกบทอ่าน
3. นักเรียนฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญจากชุดกิจกรรม
การตรวจสอบ (Check)
1. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วัดประเมินผล
2. บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึก
ทักษะการอ่านจับใจความ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น
3. วิเคราะห์ทักษะการการอ่านจับใจความของนักเรียน และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียน
ทราบเป็นระยะ
การปรับปรุงแก้ไข (Act)
1. ปรับปรุงแก้ไขกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย
โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ เทคนิคบันได 6 ขั้น ในรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2. นำประเด็นดังกล่าวร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางการพัฒนาและแก้ปัญหาตามประเด็น นำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวนนักเรียน 95 คน ได้รับการพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น รายวิชาภาษาไทย โดยใด้คะแนนผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ ๘๐ ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
3.2 เชิงคุณภาพ
ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ และผู้เรียน
ทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญ สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O – NET ต่อไป
ลงชื่อ
(นางสาวทิพย์วรรณ ทัศนา)
ตำแหน่ง ครู
ผู้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
............1........../.......ตุลาคม............/....2566...............