ประเด็นท้าทาย สภาพปัญหา ที่มา และแรงบันดาลใจ

🌸จากการจัดการเรียนการสอน รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ดิฉันได้พบปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบโดยตรงมากมายกับผู้เรียน ดังนี้

1. ผู้เรียนไม่มีความรู้พื้นฐาน ในการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เนื่องจากไม่เข้าใจหลักการสะกดตัวอักษร คำ กลุ่มคำ ประโยค วลีต่างๆ และการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

2.     ผู้เรียนเกิดความสับสนในเรื่องการใช้ Tense โดยเฉพาะ Past simple [regular and irregular]

2. ผู้เรียนเกิดความไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าแสดงออก เกิดความเขิน อาย ในการที่จะออกเสียงให้ได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา

3. ผู้เรียนรู้สึกว่า วิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่ยาก เกินความสามารถของตนเอง ไม่รู้จะเรียนไปทำไม เอาไปใช้ประโยชน์อย่างไร


        🌸เนื่องจากสภาพของผู้เรียนที่นี่ ต้องเดินทางมาเรียนและกลับบ้าน โดยรถประจำ ส่วนใหญ่ต้องตื่นนอนแต่เช้าตรู่ ทำให้ไม่ได้ทานอาหารเช้า เพราะรถประจำมารับตั้งแต่เช้ามืด บางส่วนก็จะมาทานอาหารเช้าที่โรงอาหารของโรงเรียน พอพักเที่ยงก็ทานข้าวเที่ยง และเย็นต้องรีบกลับบ้าน ตามเวลาที่รถประจำมารับ เป็นกิจวัตร ไม่สามารถอยู่เพื่อพบปะคุณครู ถามการบ้าน หรือซักถามข้อสงสัยเรื่องการเรียน ในส่วนที่เรียนในห้องไม่เข้าใจ หรือร่วมทำกิจกรรมต่างๆได้ไม่เต็มที่พอกลับถึงบ้านก็ต้องทำงานเพื่อช่วยเหลือ จุนเจือครอบครัว เพราะเด็กๆ ส่วนใหญ่ ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับครอบครัวที่มาจากการหย่าร้าง ของพ่อแม่ ผู้เรียนต้องอาศัยอยู่กับ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติๆ ทำให้ไม่มีเวลาที่เพียงพอในการทบทวนคำศัพท์ หรือตำราเรียนต่างๆหรือฝึกฝนทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน กอร์ปกับในในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงรอยต่อ [เทอม2] ของการเปลี่ยนผู้สอน ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนต้องมีการปรับตัวเข้าหาซึ่งกันและกัน การเรียนการสอนจึงต้องค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ไม่สมบูรณ์แบบเต็มที่ ตามที่ควรจะเป็น

        🌸จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงได้เกิดการ PLC [professional Learning Community] กับเพื่อนครู ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และกับผู้เรียนในส่วนหนึ่ง โดยร่วมกันหาวิธีการแก้ปัญหาให้ตรงประเด็น เพื่อช่วยให้เกิดประสิทธิภาพ ในการจัดการเรียนการสอนที่ดี และเหมาะสมกับสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น


🌸จากการสรุปผลดังกล่าวในข้างต้น ทำให้ดิฉันนำรูปแบบการสอนที่เป็น 

1.The Audio-Lingual Method ซึ่งเป็นวิธีการสอน ที่ใช้หลักจิตวิทยาเชิงบวก ประกอบด้วย 2 รูปแบบ ได้แก่  - [Positive reinforcement] หมายถึง การเสริมแรงในทางบวก การให้กำลังใจ และการให้คำชมเชย เช่น Well done! Perfect! Good!  Wow! Try! and so on และ- [ Negative reinforcement] หมายถึง การเสริมแรงในทางลบ การดุ การตำหนิติเตียน No Nah Minus…

2. Bloomfield theory หรือทฤษฎีของบลูมฟิวส์ ที่เน้นเรื่องการฝึกภาษาโดยการเน้น-ย้ำ จากการฟังบ่อยๆ โดยได้กำหนดคำศัพท์พื้นฐานในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากหนังสือเรียน Flash on English in Irregular verb form โดยเน้นการออกเสียง ที่ชัดเจนและถูกต้อง เพื่อให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ต่อ ในขั้น advance


         🌸การนำเสนอที่ปรากฏในคลิปการสอนครั้งนี้ มีแรงบันดาลใจอย่างมากมาย จากการที่ได้ยินผู้เรียน ออกเสียงคำศัพท์ที่ไม่ถูกต้อง ของคำกริยาที่เติม -ed และความเข้าใจสับสน ในรูปแบบ past simple tense เช่น


 play  ออกสียงว่า   played / pay-yed/ 

ที่ถูกต้องเป็น played /d/ เพราะลงท้ายด้วย y

fix      ออกเสียงว่า  fixed     /fig-sed/  

ที่ถูกต้องเป็น fixed /t/ เพราะลงท้ายด้วย x

หรือแม้แต่ laugh  ออกเสียงว่า  laughed /la:b-ped/

ที่ถูกต้องเป็น laughed /t/ เพราะลงท้ายด้วย gh ซึ่งมีค่าเท่ากับ f


และผู้เรียนไม่เข้าใจว่า ทำไมคำศัพท์ดังกล่าวข้างต้น ผู้เรียนถึงออกเสียงผิด ทั้งๆที่รูปแบบการสะกดถูกต้อง ดิฉันจึงทำการสอนเรื่องหลักการเติม -ed หลัง verb หรือ -ed ending 


🌸โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.ขั้นละลายพฤติกรรม [Ice-breaking] เป็นการพูดคุยเรื่องทั่วไปเพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกเป็นกันเอง ไม่กดดันและเคลียร์งานที่ผู้เรียนค้างไว้ หลังจากนั้นให้ volunteerนำเสนอ พร้อมกับผู้สอนถามคำถามอย่างง่าย เพื่อให้ผู้เรียนแย่งกันตอบ ตามความเข้าใจโดยไม่เน้นหลักไวยากรณ์

2.ขั้นลองผิดลองถูก [right or wrong] เป็นการนำคำศัพท์ขึ้นสไลด์เพื่อให้ผู้เรียนช่วยกันอ่านออกเสียงตามความเข้าใจเดิม ไม่เน้นผิด-ถูก

3.ขั้นชี้นำหลักการ[method] ที่เป็นกฎการจำในแต่ละรูปแบบ -ed ending verb form /t/ /id/ /d/ How to remember? And How to guess it? พร้อมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนผ่านเกมเพื่อผ่อนคลายหรือลดความเครียด และที่สำคัญได้รู้จักความสามัคคีในการทำงานเป็นกลุ่ม

4.ขั้นฝึกฝน [Practicing] เป็นการฝึกเปลี่ยนคำกริยาตาม tense ที่ได้เรียนรู้ไป

5.ขั้นนำไปใช้ [Production]ในรูปประโยค  ชี้ให้ผู้เรียนสังเกตหลักการใช้ในรูปแบบ past simple tense


🌸จากปัญหาและเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด  เพื่อต้องการสร้างฐานการออกเสียงคำศัพท์ให้ผู้เรียน ที่ได้รับมอบหมายงานเป็นการท่องคำศัพท์ IRREGULAR VERB ในหนังสือเรียน โดยมีระยะเวลาในการท่องประมาณ 2 เดือนนับจากเปิดเรียน โดยใช้เวลาช่วงพักเที่ยง เริ่มตั้งแต่เที่ยงตรง และหลังเลิกเรียน หรือในคาบว่างของทุกวัน ตามความสะดวกของผู้เรียน เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ฝึกความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลาและได้ความรู้ไปในคราวเดียวกัน


            🌸สิ่งที่ดิฉันได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นความตั้งใจที่จะพัฒนาการเรียนการสอน และละลายพฤติกรรมระหว่างครูและผู้เรียน ทำให้เกิดความคุ้นเคย กล้าซักถามข้อสงสัยในการเรียน เมื่อผู้เรียนไว้ใจครู ทำให้การเรียนการสอนพัฒนาไปในทางที่ดี ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้